การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
2018
Issued Date (B.E.)
2561
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
115 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b204755
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พิสิฐ ระฆังวงษ์ (2018). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4504.
Title
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
A study of factors affecting to elderly victims of crimes in Bangkok area
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์กับผู้สูงอายุ สำหรับในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม จำนวนทั้งสิ้น 525 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ตัวแปรด้วยวิธีถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของผู้สูงอายุเรียงความสำคัญ 3 ลำดับแรก คือ ด้านอารมณ์และจิตใจ รองลงมาด้านทรัพย์สิน และด้านการถูกทอดทิ้ง ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ได้แก่ ระดับการศึกษา และอาชีพ ปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ(ด้านการใช้ชีวิต,ด้านสุขภาพ) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย(ประเภทที่พักอาศัย,ระบบฝ้าระวัง,ไฟส่องสว่างบริเวณที่ว่างของบ้าน,การดูแลและบำรุงรักษา)
ลักษณะการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากบุคคลสมาชิกในครอบครัว ซึ่งการกำหนดกฎหมายส่วนใหญ่มุ่งเน้นแต่การลงโทษผู้กระทำผิดมากกว่าการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ผู้กระทำความผิด หรือการปกป้องคุ้มครองผู้สูงอายุที่ถูกกระทำรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเลือกที่จะไม่ดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด เพราะคนเหล่านั้นคือ ญาติ บุตรหลานของตนเอง และที่สำคัญผู้สูงอายุเหล่านี้ยังต้องพึ่งพาคนเหล่านี้อยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการให้ความรู้แก่สังคม ประชาชน เพื่อก่อให้เกิดความตระหนัก และร่วมกันเฝ้าระวัง รวมถึงการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเป็นหลัก ฉะนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ ส่งเสริมกิจกรรมที่เน้นถึงความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว อีกทั้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกพบปะประชาชนผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญและสนับสนุน ในการจัดกำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจกระจายแต่ละเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครอย่างทั่วถึง สนับสนุนหน่วยการแพทย์เคลื่อนที่ในการออกตรวจสุขภาพผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้าถึงการแพทย์ได้ และการจัดระเบียบชุมชนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ตลอดจนติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดเสี่ยงต่าง ๆ และเขตชุมชน เพื่อช่วยติดตามผู้กระทำความผิดอีกทั้งยังเป็นการลดโอกาสของผู้กระทำผิดในการลงมือประกอบอาชญากรรมด้วย
This study was a study on factors affecting to elderly victims of crimes in Bangkok area. The objectives of the study were: 1) to study the crime victimization in the elders, 2) to study the factors affecting to elderly victims of crimes, and 3) to propose ways to prevent crime victimization among elders. This study was survey research which collecting data from 525 elderly victims of crimes in Bangkok area. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, and logistic regression analysis. The study found that top three of elders’ crime victimization, sort by priority, were psychological/emotion abuse, financial/material abuse and neglect. The factors affecting elders’ crime victimization are personal factors (education and career), behavioral factors (life,health) and residence’s environmental factors (residential type, surveillance system, lighting and maintenance) Elders’ crime victimizations are mainly from family members. Most lawmakers focus on offender punishment rather than rehabilitation or protection of the elderly. The elders choose not to prosecute the offender because they are their relatives, their children and mostly, the elders still rely on these people. It is necessary that we should educate the people to raise awareness and surveillance. Including prevention of problems that will occur primarily. So, the solution is to encourage the activities that promote the family relationship. Community stakeholders, police officers should meet the elderly and emphasize on distribute police officers in Bangkok area thoroughly along with supporting mobile medical units for elderly who can’t access to medical services. We should organize the community well and CCTV cameras also should be installed at risk points and community areas to help track down the offender and to reduce the offenders’ chances committing crimes.
This study was a study on factors affecting to elderly victims of crimes in Bangkok area. The objectives of the study were: 1) to study the crime victimization in the elders, 2) to study the factors affecting to elderly victims of crimes, and 3) to propose ways to prevent crime victimization among elders. This study was survey research which collecting data from 525 elderly victims of crimes in Bangkok area. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, and logistic regression analysis. The study found that top three of elders’ crime victimization, sort by priority, were psychological/emotion abuse, financial/material abuse and neglect. The factors affecting elders’ crime victimization are personal factors (education and career), behavioral factors (life,health) and residence’s environmental factors (residential type, surveillance system, lighting and maintenance) Elders’ crime victimizations are mainly from family members. Most lawmakers focus on offender punishment rather than rehabilitation or protection of the elderly. The elders choose not to prosecute the offender because they are their relatives, their children and mostly, the elders still rely on these people. It is necessary that we should educate the people to raise awareness and surveillance. Including prevention of problems that will occur primarily. So, the solution is to encourage the activities that promote the family relationship. Community stakeholders, police officers should meet the elderly and emphasize on distribute police officers in Bangkok area thoroughly along with supporting mobile medical units for elderly who can’t access to medical services. We should organize the community well and CCTV cameras also should be installed at risk points and community areas to help track down the offender and to reduce the offenders’ chances committing crimes.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561