ความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศ

dc.contributor.advisorวราภรณ์ วนาพิทักษ์
dc.contributor.authorสุริศา นิยมรัตน์
dc.date.accessioned2023-01-11T03:08:00Z
dc.date.available2023-01-11T03:08:00Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของสังคมไทยในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นความผิด เกี่ยวกับเพศที่เกิดขึ้นง่ายที่สุดในสังคม ทั้งยังเพิ่มจํานวนและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความ เข้าใจที่คนทั่วไปในสังคมมีต่อการคุกคามทางเพศยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดบ้างที่สามารถ เรียกได้ว่าเป็นการคุกคามทางเพศ ตลอดจนการที่กฎหมายปัจจุบันที่ยังไม่ตอบสนองต่อการป้องกันและ ปราบปรามการคุกคามทางเพศ ปัญหานี้จึงยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควร ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมาย รูปแบบ ลักษณะของพฤติกรรมในการคุกคามทางเพศ รวมทั้ง ผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทําดังกล่าว และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาของ กฎหมายความผิดเกี่ยวกับการคุกคาม มาตรา 397 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย อาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2558 และนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย และต่างประเทศเพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมของการเสนอแนวทางการออกกฎหมายการคุกคามทางเพศ มาบัญญัติไว้ในความผิดฐานคุกคามทางเพศ ในภาค 2 ความผิด ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศแห่ง ประมวลกฎหมายอาญา จากการศึกษาพบว่า หลักการทางกฎหมายในการคุกคามของประเทศไทยนั้นยังมีปัญหา เกี่ยวกับเรื่องของการบัญญัติการคุกคามทางเพศซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ แต่ได้นํามาบัญญัติไว้ใน ภาค 3 ลหุโทษ (มาตรา 367-398) แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยความผิดในส่วนของการคุกคาม ตามมาตรา 397 วรรคหนึ่งนี้อาจไม่รวมถึงการคุกคามในทางเพศ (Sexual Harassment) ซึ่งส่งผลให้ เกิดปัญหาในการตีความตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ปัญหาในการกําหนดบทนิยาม ของกฎหมายเกี่ยวกับคุกคามทางเพศ และปัญหาในการกําหนดบทลงโทษของการคุกคามทางเพศ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางในการแก้ไข กล่าวคือ 1. ควรที่จะบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ โดยบัญญัติเป็นบทบัญญัติมาตราต่างหาก และควรอยู่ในภาค 2 ความผิด ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ แห่งประมวลกฎหมายอาญา 2. ควร จะกําหนดนิยามความหมาย รูปแบบ ลักษณะของปัญหาการคุกคามทางเพศให้ชัดเจน 3. ควร ปรับปรุงอัตราโทษปรับโดยการเพิ่มอัตราโทษให้มีความเหมาะสม 4. ควรที่จะมีการแบ่งแยกระดับของ ลักษณะการกระทําความผิดเพื่อกําหนดเหตุเพิ่มโทษในการคุกคามทางเพศตามพฤติการณ์และระดับ ความร้ายแรงของการกระทํา 5. ควรให้อํานาจผ่านกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในการวางระบบ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ให้คําปรึกษาทางด้านกฎหมาย การยื่นเรื่อง ร้องทุกข์หรือชี้เบาะแสในคดีเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ทั้งนี้เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบัญญัติ กฎหมายเพื่อให้กฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศนั้นสามารถใช้บังคับตามเจตนารมณ์ของ กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยth
dc.format.extent116 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.89
dc.identifier.otherb198274th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6131
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการคุกคามทางเพศ -- ไทยth
dc.titleความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศth
dc.title.alternativeCriminal offenses: the case of sexual harassmentth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b198274.pdf
Size:
1.22 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections