การกำหนดคำบังคับในคดีปกครอง

dc.contributor.advisorพัชรวรรณ นุชประยูร
dc.contributor.authorสุริยา ปัญญจิตร
dc.date.accessioned2023-03-16T02:59:02Z
dc.date.available2023-03-16T02:59:02Z
dc.date.issued2019
dc.date.issuedBE2562th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดคำบังคับในคดีปกครอง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงหลักการและแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีปกครองและ การกำหนดคำบังคับในคดีปกครอง เหตุผล รายละเอียด และขั้นตอนในการกำหนดคำบังคับตาม คำพิพากษาของศาลปกครองไทย ทั้งที่ปรากฏเป็นโครงสร้างของคำบังคับในส่วนรูปแบบและเนื้อหา รวมตลอดถึงปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นจากการปรับใช้หลักกฎหมาย หลักการ ทฤษฎี และ แนวความคิดในการกำหนดคำบังคับในคดีปกครองที่ยังไม่เหมาะสม รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ แนวความคิดในการกำหนดคำบังคับในคดีปกครองในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนด คำบังคับในคดีปกครองของประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมัน เพื่อเสนอแนวทางในการกำหนด คำบังคับให้คดีปกครองที่เหมาะสม ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับได้ตามขอบเขตของมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่กำหนดทั้งขอบเขตด้านเนื้อและขอบเขต ด้านระยะเวลาเอาไว้เป็นเกณฑ์ที่จะศาลปกครองจะพิจารณากำหนดคำบังคับตามแต่ละประเภท คำฟ้อง โดยขอบเขตด้านเนื้อหามีเพียงเนื้อหาเดียวเท่านั้นไม่สามารถกำหนดเนื้อหาในลักษณะอื่นได้ จนกลายเป็นข้อจำกัดอำนาจของศาล และขอบเขตด้านระยะเวลาไม่ได้กำหนดเกณฑ์สำหรับการใช้ ดุลพินิจที่เหมาะสม ส่งผลให้มีหลายกรณีที่ศาลปกครองกำหนดคำบังคับแล้วเป็นต้นเหตุให้ ฝ่ายปกครองไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามคำบังคับได้ จากการศึกษาวิจัย ปรากฏแนวทางการแก้ไขสภาพปัญหาดังกล่าว ดังนี้ ประการแรก เสนอ ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ให้ศาลปกครองมีขอบเขตด้านเนื้อหาในการกำหนดคำบังคับเพิ่มขึ้นโดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะ การเพิกถอน การห้ามกระทำการ หรือให้กระทำการเท่านั้น ให้สามารถกำหนดคำบังคับสั่งให้ ฝ่ายปกครองดำเนินการในลักษณะที่เป็นคุณแก่ผู้ฟ้องคดีได้ และให้มีเกณฑ์สำหรับการกำหนดผลในขอบเขตด้านระยะเวลาการเพิกถอนย้อนหลังจะต้องเป็นกรณีการฝ่าฝืนต่อกฎหมายอย่างร้ายแรง เท่านั้น และต้องดุลยภาพระหว่างความเชื่อโดยสุจริตของบุคคลกับประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ประการที่สอง เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ สอดคล้องกับผลของคำพิพากษา เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับ ในคำพิพากษาของศาลปกครองth
dc.format.extent356 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2019.90
dc.identifier.otherb210974th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6343
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherคำบังคับth
dc.titleการกำหนดคำบังคับในคดีปกครองth
dc.title.alternativePrescription of decrees in administrative casesth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b210974.pdf
Size:
2.66 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: