การใช้จารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ศึกษากรณีการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

dc.contributor.advisorพัชรวรรณ นุชประยูร
dc.contributor.authorกิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว
dc.date.accessioned2022-11-07T07:35:18Z
dc.date.available2022-11-07T07:35:18Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใช้บังคับแก่ กรณีการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และศึกษาถึงกระบวนการของการนำจารีตประเพณีการ ปกครองประเทศไทยมาใช้ โดยศึกษาว่าองค์กรใดเป็นองค์กรผู้มีอำนาจในการใช้ และศึกษาว่าองค์กร นั้นมีวิธีการในการใช้อย่างไร ตลอดจนศึกษาถึงองค์กรผู้มีอำนาจในการตีความและวินิจฉัย การนำ จารีตประเพณีการปกครองประเทศไทยมาใช้ในการอุดช่องว่างของรัฐธรรมนูญ ในการเข้าสู่ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี โดยวิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์กฎหมาย โดย การดำเนินการวิจัยรวบรวมเอกสารต่าง ๆ เป็นการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครอง บริบททางสังคม โดยมีเอกสารที่เกี่ยวช้องกับรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศ อังกฤษ บทบัญญัติกฎหมาย หนังสือ คำพิพากษาของศาลไทย และบทความภาษาไทย ตลอดจนการ สัมภาษณ์บุคคลสำคัญและผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาประกอบการวิจัยเป็นข้อมูลในการ วิเคราะห์การใช้จารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปตยตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ศึกษา กรณีการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลการศึกษาพบว่า หากเกิดกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีการเข้าสู่ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่สามารถดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรีได้ตามกลไกของรัฐธรรมนูญใน สถานการณ์ปกติ ตามมาตรา 158 และมาตรา 159 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (พุทธศักราช 2560) และเกิดที่กรณีคณะรัฐมนตรีรักษาการทั้งคณะลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ใน ระยะเวลาที่มีการยุบสภาหรืออายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือเกิดกรณีมีการเลือกตั้งทั่วไปแล้วไม่ สามารถจัดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี และทั้งสองกรณีต้องเกิดกรณีที่ ปลัดกระทรวงไม่สามารถดำเนินการเลือกปลัดกระทรวงคนใดคนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้ กรณีเช่นนี้จึงอาจจะถือว่าไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญโดยตรงช้บังคับแก่กรณีได้ ถือว่าเป็น "ช่องว่างโดยแท้ทางรัฐธรรมนูญ" จึงมีเหตุและเงื่อนไขอันนำไปสู่การนำประเพณีการปกครองประเทศไทยใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามบทบัญญัติของมาตรา 5 รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) มาอุดช่องว่างทางรัฐธรรมนูญเพื่อปรับใช้ในให้มี นายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งในนำมาปรับใช้นั้นต้องมีกระบวนการในการนำมาใช้โดยต้องประกอบด้วยเงื่อนไข สองประการ กล่าวคือ ประการแรก องค์กรผู้มีอำนาจในการใช้จารีตประเพณีการปกครองประเทศ ไทยนั้น คือ พระมหากษัตริย์ และประการที่สอง การนำมาใช้ตามวิธีการ ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์ สามประการ คือ 1. การนำมาใช้เมื่อเกิดกรณีที่เป็นช่องว่างทางรัฐธรรมนูญ 2. การนำมาใช้ตาม ขอบเขตของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 3. การนำมาใช้ตามขอบเขตของจารีตประเพณีการปกครอง นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดให้องค์กรใดเป็นองค์กร พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องนี้ จึงเห็นว่า อำนาจในการวินิจฉัยเรื่องนี้ควรอยู่ที่ "ศาล รัฐธรรมนูญ" ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับแนวปฏิบัติในทางรัฐธรรมนูญจึงถือว่าเป็น อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้ที่มีอำนาจในการคลี่คลายปัญหาทาง รัฐธรรมนูญตามภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นกลไกในยามวิกฤตที่จะเป็นทางออกให้กับ ประเทศชาติบ้านเมืองอย่างสงบสันติ ดังนั้น การนำจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาอุดช่องว่างของ รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีนายกรัฐมนตรีได้นั้น นอกจากเป็นไปตามแนวทางที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้น เห็น ควรเสนอแนวทางเพิ่มเติมดังนี้ 1. การนำจารีตประเพณีการปกครองประเทศไทยมาอุดช่องว่างนั้น ให้ มีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีนายกรัฐมนตรีได้ 2. ให้มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เพียงองค์กรเดียวเข้ามาตีความและวินิจฉัยชี้ขาด 3. คุณสมบัติของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้นต้องมีคุณสมบัติที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายของประเทศ และ 4. การใช้จารีตประเพณีการ ปกครองในเรื่องนี้ เห็นควรจะนำความกราบบังคมทูลฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจตาม ประเพณีการปกครอง แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการth
dc.format.extent254 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.69
dc.identifier.otherb198268th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6052
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectวิทยานิพนธ์รางวัลดีth
dc.subjectวิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลth
dc.subjectวิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลประจำปี 2561th
dc.subjectจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญth
dc.subject.otherนายกรัฐมนตรีth
dc.titleการใช้จารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ศึกษากรณีการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีth
dc.title.alternativeThe use of traditional administrative system in the democratic regime according to the provisions of constitution: a study of how to become a prime ministerth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b198268.pdf
Size:
3.06 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections