วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย

dc.contributor.advisorปุ่น วิชชุไตรภพth
dc.contributor.authorมาริสา เกิดอยู่th
dc.date.accessioned2018-11-02T03:16:17Z
dc.date.available2018-11-02T03:16:17Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractการศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิดและทฤษฎีการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธรัฐมาเลเซีย วิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศไทย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 และเพื่อเสนอแนะและหาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย ที่เหมาะสม เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับมิติของไทย ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมแต่ขั้นตอนการให้ข้อมูลแก่ประชาชน (Inform) การร่วมกันปรึกษาหารือ (Consult) การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (Involve) การมีส่วนร่วมกันในการแก้ปัญหา (Collaborate) และการพัฒนาข้อตกลงร่วมกัน (Empower) โดยรัฐมองว่าเป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับสังคมส่วนรวม รัฐจึงได้ทำการตัดสินใจดำเนินโครงการเพื่อให้เป็นไปตามแผนและนโยบายตามที่รัฐกาหนดไว้ ทำให้ระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนวความคิดทฤษฎีเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและเคารพต่อหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) และหลักประชาธิปไตย (Democracy) ที่แท้จริง กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่อาจได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนที่มีผลต่อการตัดสินใจ (Decision-Making) ของหน่วยงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่อาจได้รับผลกระทบเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกระดับโดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนโดยเคารพต่อหลักการตรวจสอบ (Accountability) และหลักความโปร่งใส ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ ประการที่หนึ่ง ควรจะมีกฎหมายหรือระเบียบระบุให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของประชาชน หรือระบุให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบต้องให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทางเทคนิค (Technic) ประการที่สอง รัฐควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการและมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการดำเนินโครงการ ขณะดำเนินโครงการและหลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ ประการที่สาม ในกรณีที่มีการคืนพื้นที่แปลงสำรวจ รัฐควรเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบโดยเฉพาะเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชน ประการที่สี่ ในกรณีที่มีการเวนคืนเพื่อใช้ในกิจการปิโตรเลียม ควรมีการกำนดกลไกทางกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอันเกี่ยวข้องกับการวางแผนด้านพลังงาน ประการที่ห้า ควรมีกฎหมายหรือระเบียบระบุให้ประชาชนมีสิทธิในการขอตรวจดูรายงานรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้นอาจมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้th
dc.format.extent170 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb189994th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3954th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมth
dc.subject.otherการมีส่วนร่วมของประชาชนth
dc.subject.otherปิโตรเลียมth
dc.titleวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทยth
dc.title.alternativeAn analysis of the laws relating to public participation in environmental impact assessment, case studies of petroleum exploration and production onshore in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b189994.pdf
Size:
2.25 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections