ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ในประเทศไทย

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorวิมลมาศ เจียรมาศth
dc.date.accessioned2020-06-09T02:45:19Z
dc.date.available2020-06-09T02:45:19Z
dc.date.issued2019th
dc.date.issuedBE2562th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินการของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ในประเทศไทย ทั้งในส่วนของนโยบายส่งเสริมและสนับสนุน ศักยภาพ และข้อจำกัดจากการผลิตพลังงานของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ อีกทั้งประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากการผลิตพลังงานของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF รวมถึงเสนอแนวทางการเพิ่มผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากการผลิตพลังงานของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์ผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน (ส.อ.ท.) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน จำนวน 6 ท่าน ผู้แทนจากบริษัทผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ RDF โดยเป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ที่มีกระบวนการดำเนินการที่เต็มรูปแบบ จำนวน 1 แห่ง และประชาชน ซึ่ที่อาศัยรอบโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF รัศมี 5 กิโลเมตร จำนวน 11 ท่าน โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาทำการวิเคราะห์โดยจับกลุ่มประเด็นตามหลักการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน นอกจากนั้นทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงขยะ RDF ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การดำเนินการของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ในประเทศไทยในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องจากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งมีการกำหนดนโยบายและมาตรฐานต่างๆ เช่น การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Feed in Tariff (FiT) การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับการนำเข้าเครื่องจักร มาตรการจูงใจด้านราคาโดยเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) เป็นระยะเวลา 7 ปี ตลอดจนการสนับสนุนโครงการ “โรงไฟฟ้า-ประชารัฐ” สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น สำหรับศักยภาพ ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะนั้น พบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตไฟฟ้าจากขยะ เพราะยังคงมีปริมาณขยะคงค้างอีกราว 9.96 ล้านตันในปี 2559 ที่ยังไม่ได้นำไปกำจัด และเมื่อประเมินศักยภาพของปริมาณขยะเชิงพื้นที่ พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่หลายแห่งที่มีศักยภาพเพียงพอในการดำเนินการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ ส่วนข้อจำกัดของโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงขยะ (RDF) พบว่า ข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้การดำเนินการลงทุนโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ต้องชะลอหรือระงับลง ได้แก่ 1) ขั้นตอน และ กฎระเบียบ มากเกินความจำเป็น 2) การมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ในการขออนุญาตประกอบการ 3) พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 ขาดความคล่องตัว  การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงขยะ RDF มีค่าของผลตอบแทนทางด้านสังคมจากการลงทุนระหว่าง -1.00 ถึง 12.65 ในระยะเวลาโครงการ 20 ปี ด้านเศรษฐกิจ คือ การได้รับประโยชน์จากการใช้ไฟฟ้าของชุมชน  ด้านสังคม คือ การจ้างงานพนักงานซึ่งเป็นคนในท้องถิ่น และด้านสิ่งแวดล้อม คือ สร้างรายได้จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นต้น แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงขยะ RDF สามารถเป็นไปได้ใน 2 ระยะ คือ ระยะสั้น และระยะยาว ดังนี้ แนวทางระยะสั้น ได้แก่ ศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงขยะ RDF ให้ได้เต็มตามศักยภาพ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงขยะ RDF ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาดำเนินการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงขยะ RDF ให้แก่แรงงานในประเทศไทย และแนวทางระยะยาว ได้แก่ สนับสนุนโครงการเดิมที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานมาเป็นต้นแบบ และมีการเผยแพร่ผลการดำเนินการดังกล่าวฯ สู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่น ได้ปฏิบัติตาม และสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงขยะ RDF ในชุมชนได้เองth
dc.description.abstractThis study aimed to study situations, implementation, potential and limitations of the Refuse Derived Fuel (RDF) power plant in Thailand, in terms of policy to promote and support a RDF power plant in Thailand, to assess the social return on investment (SROI) from the electricity production from RDF power plant in Thailand and to propose guidelines to increase social return on investment from electricity production of RDF power plant in Thailand. This research is a qualitative research designed by studying related documents and interviews to key informant including; representatives from Energy Policy and Planning office (EPPO), Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), Representatives from the Renewable Energy Industry Club and Development of Environment and Energy Foundation totalling of six people, representatives from the RDF power plant and representatives from people around the five kilometer radius of power plant totalling of eleven people. The data obtained from the study were analyzed by using the feasibility study, SROI calculation and SWOT Analysis. The study indicated that the RDF power plant in Thailand have been continuously government supported by e.g. established policies and measures such as Purchase of electricity from renewable energy i.e. Feed In Tariff (FiT), Exemption of import duty for importing machinery, Price incentive measures by increasing the purchase price of electricity (Adder) for a period of 7 years as well as supporting the project "Power Plant - Pracharat State" for the three southern border provinces etc. For the potential of electricity generation from waste energy, it is found that Thailand has the potential to produce electricity from waste because the amount of waste remains about 9.96 million tons per year (2016). It was found that Thailand has many areas for producing electricity from RDF power plant and for the major constraints of RDF power plant, it includes that 1) the procedures and regulations are more than necessary. 2) there are many related agencies in obtaining permission to operate. 3) Act on the Maintenance of the Cleanliness and Orderliness of the Country, (Issue 2) B.E. 2535, lack of mobility.  The production of the RDF power plant has the value of social return on investments between -1.00 to 12.65 during 20 year, respectively the economic is benefiting from the use of electricity in the community. For social benefit local people are employed and for environment benefit, carbon can be traded, etc. Guidelines for the promotion of RDF power plant involve two phases: For short-term guidelines, there are to study the appropriateness of developing RDF waste-to-energy power generation to meet the full potential, to provide opportunities for people to participate in the production of electricity from RDF waste energy and to transfer knowledge and experience of suitable technology for the development of electricity generation from RDF waste energy to workers in Thailand. And for the long-term guidelines, there are to support the original project that has been successful in the operation and the dissemination of results to the community for the community and local have followed and build their own RDF power plant in the community for further sustainability.th
dc.format.extent154 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb207932th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4998th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะth
dc.subjectผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนth
dc.subjectศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะth
dc.subjectข้อจำกัดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะth
dc.subject.otherโรงไฟฟ้า -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทยth
dc.subject.otherโรงไฟฟ้า -- การลงทุนth
dc.titleผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF ในประเทศไทยth
dc.title.alternativeSocial return on investment of electricity generation from refuse derived fuel (RDF) power plant in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b207932.pdf
Size:
4.39 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections