การนำการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทย: กรณีศึกษา กระทรวงอุตสาหกรรม

dc.contributor.advisorทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์th
dc.contributor.authorจิตรเลขา หวลกสินth
dc.date.accessioned2023-01-12T07:39:43Z
dc.date.available2023-01-12T07:39:43Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาเรื่องการนำเครื่องมือการบริหารผล การปฏิบัติงาน (Performance Management) มาใช้กับส่วนราชการไทย ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ. 2559 ในประเด็นเกี่ยวกับ 1) บทบาทของหน่วยงานกลาง 2) กระบวนการในการ นำการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทย และ 3) ความสอดคล้องกับบริบทของ ประเทศไทยth
dc.description.abstractการศึกษาใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลส าคัญ 3 ส่วนประกอบด้วย ส่วนราชการคือ 7 กรมของกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานกลางคือ ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และนักวิชาการที่มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เกี่ยวกับการน าการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับ ส่วนราชการไทย รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 66 คนth
dc.description.abstractผลการศึกษา พบว่า การน าการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทยยังไม่ สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการวัดที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการและ สามารถปฏิบัติงานบริการประชาชนได้อย่างมีคุณภาพสูง โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานและ กำหนดผู้รับผิดชอบงานแต่ละระดับอย่างชัดเจนเนื่องจากวิธีการวัดผลการปฏิบัติงานได้ถูกนำมา ใช้กับส่วนราชการเหมือนกันทั้งประเทศ ขณะที่ บทบาทและภารกิจของแต่ละส่วนราชการแตกต่าง กันจึงส่งผลให้กระบวนการในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของแต่ละกรมของกระทรวง อุตสาหกรรมประสบกับปัญหาและข้อจำกัดในการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานและเกิดการหา วิธีการวัดผลเพื่อต้องการผ่านเกณฑ์การวัดตามที่หน่วยงานกลางกำหนดth
dc.description.abstractการศึกษานี้ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาสำหรับการนำเครื่องมือการบริหารผลการ ปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องคำนึงถึง ได้แก่ 1) การทบทวนถึงการนำเครื่องมือการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้ 2) ความสอดคล้องกับค่านิยมและวัฒนธรรมของประเทศไทย และ 3) บทบาทของหน่วยงานกลาง สำหรับข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติที่ส่วนราชการสามารถนำเครื่องมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล ได้แก่ 1) การสร้างกฎเกณฑ์ของการนำเครื่องมือมาใช้ 2) การเริ่มต้นขับเคลื่อนจากผู้นำองค์การ 3) ความ สอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์และ 4) ความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์ และการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ และข้อเสนอแนะส าหรับการวิจัยใน อนาคตเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการนำเครื่องมือการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับ ประเทศไทย ได้แก่ 1) การศึกษาเปรียบเทียบถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการนำ เครื่องมือการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้ ในแต่ละประเทศ 2) การศึกษาถึงค่านิยมและ วัฒนธรรมในการทำงานของระบบราชการไทย 3) การศึกษาส่วนราชการไทยแต่ละประเภท และ 4) การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรภาครัฐth
dc.format.extent532 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifierb203180th
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.93
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6142
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการบริหารth
dc.titleการนำการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทย: กรณีศึกษา กระทรวงอุตสาหกรรมth
dc.title.alternativePerformance management implementation in Thai government agencies : a case study of Ministry of Industryth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b203180.pdf
Size:
12.93 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections