ความรับผิดของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้ BitTorrent Protocol

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorเสสินา นิ่มสุวรรณ์th
dc.date.accessioned2022-01-31T07:00:25Z
dc.date.available2022-01-31T07:00:25Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงความรับผิดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการ ใช้ BitTorrent Protocol มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขอบเขตการให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศสวีเดน พร้อมทั้ง เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดความรับผิดของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ ผ่านการใช้งาน BitTorrent Protocol จากการศึกษาพบว่า ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 สามารถกำหนดความรับผิด ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้ BitTorrent Protocol ได้ไม่ครอบคลุมทุกกรณี โดยไม่อาจกำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการเว็บไซต์ BitTorrent ซึ่งเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญ ทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้ BitTorrent สามารถเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มาตรา 32/3 ก็ไม่เป็นไป ตามหลักอ่าวที่ปลอดภัย (Safe Harbor) และยังคงมีช่องว่างที่ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่อาจระงับการ ละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้ BitTorrent ได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของกฎหมายลิขสิทธิ์ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสวีเดน และประเทศอังกฤษ นั้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่สามารถใช้ในการกำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการเว็บไซต์ BitTorrent ได้ และนอกจากนี้ยังมีมาตรการที่เหมาะสมในการจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) ผู้สุจริตในการที่จะไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของ ผู้ใช้บริการ จากปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่าในกรณีของการกำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการเว็บไซต์ BitTorrent ให้นำหลักการสนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 มาใช้ บังคับ และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ มาตรา 32/3 ให้เป็นไปตามหลักอ่าวที่ปลอดภัย (Safe Harbor) เพื่อให้สามารถคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีข้อจำกัดความรับผิดสำหรับผู้ ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ผู้สุจริตได้อย่างเหมาะสมth
dc.format.extent151 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2015.3
dc.identifier.otherb193195th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5448th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectBit Torrent Protocalth
dc.subject.otherการละเมิดลิขสิทธิ์th
dc.subject.otherความรับผิดชอบth
dc.titleความรับผิดของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้ BitTorrent Protocolth
dc.title.alternativeLiability of involved people in copyright infringement through the use of bit torrent protocolth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b193195.pdf
Size:
9.44 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
Collections