มาตราการทางกฎหมายในการป้องกันเเละควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorจิตติกาญจน์ นุกูลชิตth
dc.date.accessioned2017-02-15T08:39:04Z
dc.date.available2017-02-15T08:39:04Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556th
dc.description.abstractการศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเเละมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันเเละการควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันเเละควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา เเละประเทศแคนาดา เพื่อนำไปสู่แนวทางในการปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันเเละการควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากโรงงานอุตสาหกรรมแิโตรเคมี ให้ครอบคลุมเเละมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นth
dc.description.abstractมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันเเละควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่ทำการศึกษานั้น ได้ศึกษาโดยเน้นในมาตรการที่อาศัยหลักว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานทางอากาศ อีกทั้งยังได้ศึกษามาตรการทางกฎหมายอื่นๆ อาทิ มาตรการที่อาศัยหลักการระวังไว้ก่อน หลักผุ้ก้อมลพิษเป็นผู้จ่ายเเละหลักการกำหนดให้มีระบบกำจัดมลพิษ จากการศึกษา พบว่า มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย ยังมีความบกพร่อง คือ ไม่มีการกำหนดมาตรฐานการควบคุมสารอินทรีย์ีระเหยง่ายจากแหล่งกำเนิดที่ครอบคลุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายโดยรวม ทั้งยังมิได้มีการกำหนดเพื่อควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นการเฉพาะ ในการใช้หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายโดยวิธีการเก็บค่าปล่อยมลพิษซึ่งครอบคลุมเเต่เพียงมลพิษที่ประเภทซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซดืของไนโตรเจน เเละฝุ่นละอองรวมเท่านั้น เเต่ยังมิได้ครอบคลุมไปถึงการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่าย เเละยังไม่ได้มีการใช้หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายโดยวิธีการใช้ระบบการค้าในอนุญาต อีกทั้ง มีการกำหนดให้มีระบบกำจัดผลพิษอย่างกว้างๆมิได้มีการกำหนดการควบคุมการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากถังบรรจุสารอินทรีย์ระเหยง่าย ซึ่งแตกต่างจากมาตราการของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมที่ครอบคลุมเเละชัดเจน โดยมีการกำหนดมาตรฐานควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากแหล่งกำเนิด มีการกำหนดมาตรฐานการควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายตามประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายโดยวิธีการของระบบการค้าการอนุญาตปล่อยมลพิษมีการกำหนดให้มีระบบควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากแหล่งกำเนิดที่เป็นถังบรรจุสารอินทรีย์ระเหยง่าย ส่วนประเทศแคนาดานั้นมีการใช้มาตรการทางกฎหมายที่ครอบคลุม มีการใช้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิด มีการกำหนดแนวทางในการควบคุมการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากถังบรรจุสารอินทรีย์th
dc.description.abstractดังนั้น เพื่อให้การป้องกันเเละควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้นสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้มีมาตรฐานสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากแหล่งกำเนิดที่ครอบคลุมสารอินทรีย์โดยรวม มีการกำหนดมาตรฐานตามประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นการเฉพาะ มีการใช้หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายโดยวิธีการเก็บภาษีการปล่อยมลพิษเเละใช้ระบบการค้าในอนุญาตสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่าย อีกทั้ง ควรปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้มีการกำหนดระบบกำจัดมลพิษเพื่อควบคุมการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากถังบรรจุสารอินทรีย์ระเหยง่ายth
dc.format.extent193 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherba185725th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3343th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยth
dc.subject.otherกฎหมายอุตสาหกรรมth
dc.titleมาตราการทางกฎหมายในการป้องกันเเละควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีth
dc.title.alternativeLegal measures on preventing and controlling of volatile organic compounds (VOCs) emission from petrochemical factoriesth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ba185725.pdf
Size:
8.81 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections