การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน:ศึกษาตามความตกลงทริปส์

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorภัทรพร เย็นบุตรth
dc.date.accessioned2019-06-23T07:00:31Z
dc.date.available2019-06-23T07:00:31Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractProtection of geographical indications requires international law consistent with the principles of sustainable development, i.e. balance between economic, social, and environmental. As the knowledge acquired from the natural resources and environment in the designation of origin belongs to each community. If it is protected only by the domestic law of such designation of origin, community producing products may be abused by other countries that unfairly exploit the reputation of the community's geographical indication in commercial purpose. In addition, if a country that applies international law into its domestic law has different approaches to protection of geographical indications, it may be an obstacle or barrier to sustainable development. This is because the same types of goods in foreign countries are no longer protected or protected less. The community that produces such goods, therefore, does not receive fair benefits, which is social inequality. It also reduces consumer confidence in the specific characteristics of protected goods. This may cause the community to lose the economic benefits from the reputation of the product. They eventually reduce the importance of preserving natural resources and local wisdom which actually being the factor in producing goods. การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นจำเป็นต้องอาศัยกฎหมายระหว่างประเทศที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการรักษาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพราะองค์ความรู้ที่ประยุกต์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแหล่งกำเนิดสินค้าของแต่ละชุมชน หากได้รับการคุ้มครองเพียงกฎหมายภายในประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า ชุมชนผู้ผลิตก็อาจถูกละเมิดสิทธิโดยต่างประเทศที่นำชื่อเสียงสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของชุมชนไปแสวงหาประโยชน์ทางการค้าโดยไม่เป็นธรรม อีกทั้งหากประเทศซึ่งอนุวัติการกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาเป็นกฎหมายภายในประเทศ มีแนวทางการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ด้วยเหตุที่สินค้าอย่างเดียวกันในต่างประเทศกันกลับไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับการคุ้มครองน้อยกว่า ชุมชนผู้ผลิตสินค้าจึงไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมอันเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงเป็นการลดทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อคุณลักษณะเฉพาะของสินค้าที่ได้รับการคุ้มครอง ทำให้ชุมชนผู้ผลิตสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากชื่อเสียงสินค้า พวกเขาจึงลดความสำคัญของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นปัจจัยการผลิตสินค้า ในงานวิจัยนี้ได้มุ่งศึกษาถึงความตกลงทริปส์เป็นสำคัญ เพราะมีหลักเกณฑ์นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประเทศภาคีสมาชิกยอมรับจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ความตกลงทริปส์มีเจตนารมณ์คุ้มครองประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีหลักเกณฑ์คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อันสามารถช่วยรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติ ณ แหล่งต้นกำเนิดสินค้า ไว้ให้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนได้ แต่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการจดทะเบียนระหว่างประเทศ ทำให้สมาชิกบางประเทศได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และขาดแรงจูงใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งหลักเกณฑ์ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่กฎหมายคุ้มครองในการจดทะเบียน เงื่อนไขการจดทะเบียนและการขอแก้ไขข้อมูลการจดทะเบียน ข้อยกเว้นการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น หากแก้ไขความตกลงทริปส์ให้ชัดเจนขึ้นในประเด็นดังกล่าวก็จะช่วยให้ประเทศภาคีสมาชิกนำหลักเกณฑ์ตามความตกลงทริปส์ไปอนุวัติการให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้  จากผลการศึกษาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความตกลงทริปส์ ดังนี้ 1. ควรมีหลักเกณฑ์การจดทะเบียนคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้ความตกลงทริปส์ ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถนำสินค้าที่คุ้มครองภายใต้ระบบกฎหมายเฉพาะ หรือระบบเครื่องหมายการค้ามาขอจดทะเบียนก็ได้ และให้เป็นทางเลือกว่าจะจดทะเบียนคุ้มครองในระดับทั่วไปตามมาตรา 22 หรือระดับสินค้าเฉพาะอย่างตามมาตรา 23 แห่งความตกลงทริปส์ ซึ่งต้องสอดคล้องกับระดับการคุ้มครองตามกฎหมายภายในประเทศที่ขอจดทะเบียนด้วย เพื่อให้มีความสุจริตต่อกัน และช่วยคัดกรองข้อมูลก่อนรับจดทะเบียน อีกทั้งไม่ควรจำกัดประเภทสินค้าที่ขอจดทะเบียนคุ้มครองตามมาตรา 23 ให้เป็นเพียงไวน์หรือสุราเท่านั้น 2. ควรเพิ่มหลักเกณฑ์หรือตีความการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศแหล่งกำเนิดให้รวมถึงการที่ประเทศแหล่งกำเนิดมีหลักเกณฑ์ควบคุมตรวจสอบ ตลอดจนมีขั้นตอนพิสูจน์เชื่อมโยงคุณลักษณะเฉพาะของสินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์อันมีขอบเขตพื้นที่ที่ชัดเจน ซึ่งอาจเชื่อมโยงด้วยชื่อเสียงของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างสรรค์กระบวนการผลิต หรือการตระเตรียมการผลิตก็ได้ นอกจากนี้ ประเทศที่ขอจดทะเบียนไว้แล้วอาจขอแก้ไขข้อมูลการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยความเชื่อมโยงชื่อเสียงสินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์ ซึ่งรวมถึงขอขยายหรือขอลดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เคยระบุไว้ในการจดทะเบียนได้ ภายใต้การรักษาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และหลักสุจริตต่อกัน  3. ควรใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในการพิจารณาถึงความเป็นชื่อสามัญของสินค้า ซึ่งชื่อที่ขอจดทะเบียนต้องไม่ตกเป็นชื่อสามัญในประเทศที่ขอจดทะเบียน และเพิ่มเติมให้ประเทศที่มีจารีตประเพณีแสดงว่าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศที่ขอจดทะเบียนเป็นชื่อสามัญของสินค้าในประเทศตน จะต้องนำเสนอข้อมูลการตกเป็นชื่อสามัญนั้นให้ผู้พิจารณาคำขอจดทะเบียนตามความตกลงทริปส์ทราบ ภายในระยะเวลาที่ประเทศภาคีสมาชิกทั้งหลายได้ตกลงร่วมกัน เพื่อรวบรวมข้อมูลนั้นไว้เป็นระบบฐานข้อมูล 4. ควรกำหนดข้อยกเว้นการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับกรณีซึ่งอาจเป็นการพ้องเสียง หรือพ้องทั้งรูปและเสียง (homonymous) แต่คำนั้นให้ความหมายถึงแหล่งภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน แม้ว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะบัญญัติไว้แล้วในความตกลงทริปส์มาตรา 23 ข้อ 3 แต่บทบัญญัตินี้กำหนดให้ใช้กับสินค้าประเภทไวน์เท่านั้น ซึ่งควรครอบคลุมสินค้าประเภทอื่นด้วย โดยบัญญัติไว้ในความมาตรา 24 ข้อ 10 แทน และควรอนุญาตให้ประเทศภาคีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ชื่อที่พ้องกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศตน สามารถขอให้ประเทศที่ใช้ชื่อพ้องนั้นแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อที่ได้จดทะเบียนหรือขอจดทะเบียน โดยเพิ่มรายละเอียดถ้อยคำหรือสัญลักษณ์ให้ชัดเจนถึงแหล่งกำเนิดสินค้าที่แท้จริงด้วย 5. ควรกำหนดให้มีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในความตกลงทริปส์เกี่ยวกับมาตรการยึดสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยผิดกฎหมาย ในขณะนำเข้ามาภายในประเทศภาคีสมาชิกที่มีกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น รวมถึงให้ยึดสินค้าภายในประเทศที่ระบุสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือในประเทศที่มีกรณีการนำเข้าสินค้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ุ6. ควรมีการจดทะเบียนในลักษณะเป็นฐานข้อมูลไว้ก่อน โดยที่บรรดาประเทศสมาชิกมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะให้ระยะเวลานานเพียงใดสำหรับการเตรียมกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับการจดทะเบียนพหุภาคีที่มีผลคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ครอบคลุมถึงประเทศสมาชิกทั้งหลายโดยอัตโนมัติ เพราะประเทศภาคีสมาชิกจำเป็นต้องมีการหารือเพื่อให้เกิดการประนีประนอมและการยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงและจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศตนให้สอดคล้องกับบริบทสังคมระหว่างประเทศด้วย  7. ประเทศผู้ยื่นขอจดทะเบียนควรวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติที่เกี่ยวข้องกับข้อดีหรือข้อเสียของการขยายตลาดสินค้าในต่างประเทศ โดยการชั่งน้ำหนักประโยชน์ของการคุ้มครองในระดับระหว่างประเทศ ทั้งแง่มุมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ปฏิบัติได้จริง เพราะหากปัจจัยการผลิตยังไม่เหมาะสมที่จะขยายการผลิตเพื่อการส่งออก การจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองในระดับระหว่างประเทศก็จะก่อให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี โดยอาจเสียค่าใช้จ่ายสูงเพื่อรักษาชื่อเสียงของสินค้า ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ชุมชนผู้ผลิตต้องแบกรับก็จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนอาจก่อให้เกิดการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกินขีดความสามารถในการอนุรักษ์ th
dc.description.abstractThis research focused on the TRIPs Agreement because the Agreement has certain criteria in intellectual property protections accepted by a number of member states. However the TRIPs Agreement is intended to protect economic interests. Although there are criteria for geographical indication protection that can help preserve local wisdom and natural resources at geographical origin or the goods for sustainable use, it is still unclear about the international registration. This causes some member states to suffer damage from violation of the right in geographical indications, lose economic benefits, and lack of motivation to protect the environment. Besides, it is not clear on the criteria in relation to what the law is to protect under the registration, terms and condition in registration and its amendment, and the exemption in violation of the geographical indications Therefore, if the aforesaid issues under the TRIPs Agreement are amended explicitly, it will enable the member states to apply the criteria under the TRIPs Agreement in line with the principle of sustainable development. From the results of the study, the researcher has some suggestion in related to the TRIPs Agreement as follows: 1. The criteria for registration of protection of geographical indications should be provided under the TRIPs Agreement. The member states can register their products being protected under the exclusive legal system or the trademark system. Besides, it should be an option to register at either general level of protection under Section 22, or at specific level of goods under Section 23 of the TRIPs Agreement, whereas it has to be consistent with the level of protection of the domestic laws in the country where the registration is filed in order to be in good faith to one another and also in order to screen data prior to approval of the registration. In addition, there should not be any limitation on the category of goods applied for protection under Section 23 to only wine or spirits. 2. It is advisable to add certain rules or to interpret the meaning of the protection of geographical indications in the country of origin to cover the country of origin having criteria to control and investigate as well as to have the proof process linking with the specific features of a product to the geographically origin having clear territory. This may be linked to the reputation of the raw material used for producing of the goods or products, local wisdom in the creativity of production process, or preparation of production, too. In addition, the applying country may request to amend the registration data relating to the connection factor between the reputation of the goods and the geographical origin. This includes seeking to extend or reduce the geographic area previously specified in the registration under the balance of economic, social and environmental issues, and the principle of good faith to one another. 3. Local customs should be used to determine the generic name of the product. The name applied to be registered shall not fall into generic name in the country of application. And also, it should be added that the country having local customs indicating that geographical indications of the applicant country is generic name of the product in their own country, shall present the information for falling into generic name to the one who considers the application for registration under the TRIPs Agreement within the time frame that the member states have agreed in order to gather such information as database. 4. To determine an exception for violation of geographical indications for cases where they may be homophone or both homonym and homophone (synonymous) but that word refers to different geographic origin. Although such a provision has already been provided in the TRIPs Agreement, Article 23, paragraph 3, this provision applies only to wine products. In fact, this should cover other types of goods by stipulating in Article 24, paragraph 10. In addition, it should allow any member states affected by the registration of geographical indications of any name with synonymous to those of their names to request those states using such synonymous to amend the name registered or the name applying for registration by adding some detailed description of the words, or symbols explicitly exposing the geographical origin of the goods. 5. There should be additional criteria in the TRIPs Agreement on confiscating the goods illegally use the geographical indications at the time of importation into the member states having the law governing the protection of geographical indications. Also, the local products indicating unlawful geographical indications should be confiscated within the country, or in any countries where there are cases of importation of illegal products. 6. There should be a registration as a form of database for the time being, whereas the member states have mutual agreement to determine the specific time period for preparation of domestic legislation in line with the multilateral registration that protects geographical indications automatically covering the territory of the member states because the member states need to consult among one another in order to achieve a compromise and acceptance of the terms and conditions of the agreement. Besides, there is also the need to take some time to implementing the provisions of the Agreement by domestic legislation in accordance with the international context. 7. The applicant country should analyze statistical data relating to the advantages or disadvantages of the overseas market expansion by weighing the benefits of international protection in economic, social, and environmental aspects so that the protection of geographical indications could be a practical tool to promote sustainable development. This is because where the factor of production is still not suitable to expand production for export, the registration for international protection may cause more harmful than good. It may cost a lot to maintain the reputation of the product. The costs that the producer community has to bear would finally result in social inequalities. Besides, it may also result in consumption of natural resources and environment beyond conservation capacity.th
dc.format.extent223 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2018.86
dc.identifier.otherb204615th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4490th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์th
dc.subjectความตกลงทริปส์th
dc.subject.otherเครื่องหมายแสดงแหล่งกำเนิด -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยth
dc.subject.otherทรัพย์สินทางปัญญา -- ไทยth
dc.titleการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน:ศึกษาตามความตกลงทริปส์th
dc.title.alternativeGeographical indication protection for sustainable development: a study of TRIPS agreement. th
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b204615.pdf
Size:
2.84 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description: