ปัญหาในทางกฎหมายการทำเหมืองแร่ : ศึกษาเฉพาะกรณีเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติth
dc.contributor.authorพสิษฐ์ ถาวรล้ำเลิศth
dc.date.accessioned2022-02-08T12:00:02Z
dc.date.available2022-02-08T12:00:02Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractปัจจุบันการทําเหมืองแร่ในประเทศไทยมีจํานวนมากยิ่งขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐ ได้รับประโยชน์จากการอนุญาตสัมปทาน แต่รัฐกลับไม่ได้คํานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาจากการ ทําเหมืองแร่ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่นับวันจะถูกทําลายมาก ขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันสิทธิของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณที่ได้รับประทานบัตรถูกละเลยและ ไม่ได้รับการดูแล รวมทั้งเอาใจใส่จากรัฐมากเท่าที่ควร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อความคิด ทฤษฎี การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ การประเมินผลกระทบระดับ ยุทธศาสตร์และการประเมินผลกระทบเบื้องต้น การคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก การทําเหมืองแร่ รวมทั้งหลักเกณฑ์การคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครอง สิทธิของประชาชนตามกฎหมายไทย โดยผู้เขียนได้เลือกศึกษาการทําเหมือง กรณีเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานีเป็นเกณฑ์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ โดยแยกสิทธิของประชาชนออก 2 ประการ คือ สิทธิของประชาชนที่อยู่รวมกันเป็นชุมชน หรือเรียกว่า สิทธิชุมชน และสิทธิของประชาชนแต่ละรายไป ซึ่งจะมีความแตก และกําหนดให้การดําเนินการโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบอย่าง รุนแรงจะต้องมีการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในบริเวณการทําเหมืองแร่ด้วย จากหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวทําให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติได้กําหนดหลักเกณฑ์ประเภทการทําเหมืองแร่ที่เข้าข่ายส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต้อง ดําเนินการทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อ สุขภาพ อย่างไรก็ดีการกําหนดประเภทโครงการดังกล่าว ทําให้มาตรการคุ้มครองผลกระทบอาจ เกิดขึ้นจากการดําเนินการทําเหมืองแร่ไม่สามารถครอบคลุมได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้พิจารณาแต่เพียงประเภท หรือกิจการการดําเนินการของเหมืองแร่ เท่านั้น แต่ไม่ได้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบจากการดําเนินการของเหมืองแร่ ทั้งหมด ซึ่งมีได้หลายมิตและอาจนําไปสู่การหลบเลี่ยงการดําเนินการทําเหมืองแร่ เพื่อไม่ต้องจัดทํารายงานการประเมินผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งการรับฟังความเห็นของ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ จากการศึกษามาตรการในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนแล้ว จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไข และปรับปรุงมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาการคุ้มครอง สิทธิของประชาชน ทั้งในเรื่องของสิทธิชุมชนและการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เป็นไปเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างสมบูรณ์th
dc.format.extent154 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb194168th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5481th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherเหมืองแร่th
dc.subject.otherเหมืองแร่ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยth
dc.subject.otherเหมืองแร่โพแทช -- ไทย -- อุดรธานีth
dc.titleปัญหาในทางกฎหมายการทำเหมืองแร่ : ศึกษาเฉพาะกรณีเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานีth
dc.title.alternativeLegal issues in mining : a case study on Potash Mine, Udon Thani Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b194168.pdf
Size:
1.72 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
Collections