มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorยวิษฐา จิโนวัฒน์th
dc.date.accessioned2022-02-07T09:43:17Z
dc.date.available2022-02-07T09:43:17Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractเนื่องจากการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมส่งผลให้รูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กล่าวคือ มุ่งเน้นการบริโภคมากขึ้น และจากการเพิ่มขึ้นของจำนวน ประชากรโลกยิ่งก่อให้เกิดปัญหาการบริโภคที่สิ้นเปลืองมากขึ้นตามไปด้วยซึ่งการที่จะตอบสนองความ ต้องการดังกล่าวนั้น ทำให้เกิดการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดผู้บริโภคในปริมาณที่มากขึ้น โดย การผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นนั้นจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้หากผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โดยไม่ คำนึงถึงปริมาณทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ย่อมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการบริโภคให้ยั่งยืน จึงน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการสร้างกลไกส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหา วัตถุดิบ การผลิต การใช้ทรัพยากรและพลังงานในช่วงการให้ใช้งาน การจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจาก การใช้งาน การขนส่ง และการจัดการหลังหมดอายุการใช้งาน โดยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ อย่างเดียวกันสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ในขณะเดียวกันสามารถลดการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการปล่อยมลพิษให้เหลือน้อยที่สุดจนไม่ส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลัง จากการศึกษามาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมของ ประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ การขนส่ง การแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การใช้ใหม่ การแปรรูป การจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน การจัดการ หลังหมดอายุการใช้งาน เพื่ออนุรักษ์ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่า ไม่มีการบัญญัติเป็นมาตรการทางกฎหมายที่คลอบคลุม สอดคล้อง และสามารถบังคับใช้ได้จริงกล่าว คือ 1. ไม่มีการบัญญัติ หรือให้คำจำกัดความของคำว่า “ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ไว้ใน กฎหมายโดยเฉพาะเจาะจง 2. ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุม ป้องกันและการ ลดของเสียตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ 3. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมาตรการส่งเสริมการนำของเสีย จากกระบวนการผลิตมาใช้ซ้ำนำกลับมาใช้ใหม่เป็นวัตถุดิบในการผลิตแทนที่จะนำวัตถุดิบเหล่านั้นไป กำจัดทิ้ง และจากการศึกษาจึงเห็นควรให้มีการเพิ่มบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต “ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยนำหลักความรับผิดของผู้ผลิต หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายเพื่อให้ผู้ผลิตซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษมีส่วนรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมและสังคม และควรบัญญัติมาตรการทางกฎหมายให้ชัดเจน ในเรื่องนิยาม “ผลิตภัณฑ์ที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้ผู้ผลิต และผู้บริโภคเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันนอกจากนี้ควรมี การบังคับใช้เครื่องหมาย “ฉลากเขียว” รับรองความปลอดภัยตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง มาตรการส่งเสริมการนำของเสียจากกระบวนการผลิตมาใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตแทนที่จะนำวัตถุดิบเหล่านั้นไปกำจัดทิ้ง และท้ายที่สุดการสร้างจิตสำนึกให้กับคนในประเทศชาติ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ตระหนึกถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสมบัติของส่วนรวม ใส่ ใจต่อการผลิตและบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ถือได้ว่าเป็นกลไก สำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมth
dc.format.extent136 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2016.14
dc.identifier.otherb194153th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5466th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมth
dc.subject.otherการผลิตth
dc.subject.otherกฎหมายth
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมth
dc.title.alternativeLegal measures to promote the production of environmentally friendly productsth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b194153.pdf
Size:
4.04 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
Collections