สิทธิของคนต่างด้าวในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ: ศึกษากรณีสิทธิในการรักษาพยาบาล
dc.contributor.advisor | บรรเจิด สิงคะเนติ | |
dc.contributor.author | นฤพนธ์ ทรงพระ | |
dc.date.accessioned | 2023-01-12T03:59:20Z | |
dc.date.available | 2023-01-12T03:59:20Z | |
dc.date.issued | 2016 | |
dc.date.issuedBE | 2559 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานะแห่งสิทธิของคนต่างด้าวในการเข้าถึงบริการ รักษาพยาบาล ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการจัดระบบการเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลของ คนต่างด้าว โดยมีขอบเขตของการศึกษาเฉพาะกรณีคนไร้สัญชาติแรงงานต่างด้าว เด็กต่างด้าว ผู้ลี้ภัย และผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ผลการวิจัยพบว่า สิทธิในการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาล เป็นสิทธิที่บุคคลไม่อาจบรรลุความ มุ่งหมายได้หากปราศจากการเข้ามาดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยรัฐ หรือที่เรียกว่า “status positivus” ซึ่งมีสถานะเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐานในการดํารงชีพ” ที่บุคคลไม่ว่าเชื้อชาติหรือสัญชาติใด หรืออยู่ ณ ที่ใดในโลก ย่อมมีความสามารถเป็นผู้ทรงสิทธินี้ได้โดยประเทศต่าง ๆ ได้ให้การรับรอง สิทธินี้ไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ และระบบกฎหมายภายในของประเทศ ดังเช่นประเทศ สหรัฐอเมริกาที่ได้รับรองสิทธินี้โดยผลของคําพิพากษาศาลสูงแห่งสหรัฐ ซึ่งวางหลักการตีความ รัฐธรรมนูญในเรื่องหลักความเสมอภาคโดยขยายความรวมถึงการรับรองสิทธินี้ให้กับคนต่างด้าวด้วย เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศสที่ได้รับรองสิทธินี้ให้แก่คนต่างด้าว ตามพันธกรณีในทางระหว่างประเทศของสหภาพยุโรป และตามกฎหมายภายในที่รัฐตราขึ้น ส่วนการ ให้ความคุ้มครองสิทธินี้จะเป็นเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติต่อคนต่างด้าว ซึ่งแตกต่างกันไปตาม สถานะของคนต่างด้าวและบริบทของแต่ละประเทศ สําหรับประเทศไทย ไม่มีการรับรองสิทธินี้ให้แก่ คนต่างด้าวไว้อย่างชัดแจ้งในระบบกฎหมายไทย โดยปัจจุบันมีเพียงการดําเนินนโยบายของรัฐที่ขยาย ความคุ้มครองสิทธิประกันสังคมให้รวมถึงแรงงานต่างด้าว และการจัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพของ กระทรวงสาธารณสุขขึ้น เพื่อให้คนต่างด้าวที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมสามารถเข้าถึงหลักประกัน สุขภาพ แต่ยังคงมีข้อจํากัดในเรื่องเงื่อนไขของการเป็นผู้ทรงสิทธิและกระบวนการเข้าสู่สิทธิซึ่งเป็น ปัญหาสําคัญที่ทําให้คนต่างด้าวเป็นจํานวนมากไม่สามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลได้จากผลการวิจัยดังกล่าว มีข้อเสนอแนะให้สร้างหลักประกันสุขภาพสําหรับคนต่างด้าว ภายใต้ หลักการ “ประกันสุขภาพบนพื้นฐานของการจ้างงาน” โดยผู้ที่อยู่ในระบบการจ้างงานควรจัดสรรให้ เข้าสู่ระบบประกันสังคมทั้งหมด ส่วนผู้ที่มิใช่แรงงานควรจัดสรรให้เข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติโดยบัญญัติรับรองสิทธิของคนต่างด้าวไว้ในพระราชบัญญัติหลกประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 และรวมกองทุนประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขเข้ากับกองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติโดยมีขอบเขตการคุ้มครองเฉพาะคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศ และอยู่ภายใต้หลักการ “ร่วม จ่ายค่าบริการ” ส่วนกรณีผู้ลี้ภัย ผู้หลบหนีเข้าเมือง และผู้ไร้สถานะทางทะเบียน ควรกําหนดเป็น มาตรการทางบริหารโดยจัดตั้งงบประมาณสนับสนุนสถานพยาบาล และมุ่งเน้นให้ความคุ้มครอง เฉพาะบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรือบริการที่จําเป็นทางสุขภาพเท่านั้น เพื่อให้เกิดดุลยภาพของ การคุ้มครองสิทธิกับภาระทางการคลังของรัฐ | th |
dc.format.extent | 305 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.identifier.doi | 10.14457/NIDA.the.2016.162 | |
dc.identifier.other | b198230 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6139 | |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | คนต่างด้าว -- สุขภาพและอนามัย | th |
dc.title | สิทธิของคนต่างด้าวในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ: ศึกษากรณีสิทธิในการรักษาพยาบาล | th |
dc.title.alternative | The right to public health services of an alien : case study of the right to medical treatment | th |
dc.type | text--thesis--master thesis | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.level | Masters | th |
thesis.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |