ศึกษาเปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนของนายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภาและจากการเลือกตั้งโดยตรง

dc.contributor.advisorสมบัติ ธำรงธัญวงษ์th
dc.contributor.authorทรงพล บุญสุขth
dc.date.accessioned2019-10-30T08:56:40Z
dc.date.available2019-10-30T08:56:40Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractการศึกษา เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนของนายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภาและจากการเลือกตั้งโดยตรง มีคำถามในการวิจัย คือ นายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีจุดแข็ง-จุดอ่อน ต่างกันอย่างไร?th
dc.description.abstractวิธีการศึกษาจะใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยจะสัมภาษณ์ผ่านวิธีการเก็บข้อมูล 3ประเภท คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การตะล่อมกล่อมเกลา และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งจะมีข้อมูลทุติยภูมิร่วมด้วย อาทิ ตำ รา หนังสือ บทความ และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องth
dc.description.abstractผลการศึกษา พบว่า นายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภา มีจุดแข็ง ทั้งสิ้น 3 ประการ คือ 1) ประชาชนเคยชิน และเห็นว่าสอดคล้องกับการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 2) ฝ่ ายบริหารยุบสภาได้ และฝ่ายนิติบัญญัติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ทำให้สามารถเปลี่ยนรัฐบาลได้ และ 3) ถ้าพรรคเดียวมีเสียงข้างมากจะทำ ให้รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง และควบคุมสภาได้เด็ดขาด ส่วนจุดอ่อน มีทั้งสิ้น 5 ประการคือ 1) ขาดการถ่วงดุลอา นาจ 2) การบริหารงานของฝ่ ายบริหารขาดเสถียรภาพถ้าเป็นรัฐบาลผสม3) พรรคการเมืองอยู่ในอา นาจของกลุ่มทุน 4) มีการทุจริตการเลือกตั้ง และการคอร์รัปชั่นอย่างมากและ5) เกิดรัฐบาลหุ่นเชิด นายกรัฐมนตรีหุ่นเชิด และสภาหุ่นเชิดได้ง่ายth
dc.description.abstractส่วน นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งโดยตรง มีจุดแข็ง ทั้งสิ้น 5 ประการ คือ 1) รัฐบาลมีเสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น 2) ประชาชนสามารถแสดงเจตนารมณ์ได้โดยตรงว่าตนต้องการให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี 3) รัฐบาลมีเอกภาพ และมีเสถียรภาพนายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งรัฐมนตรีที่มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งมาร่วมรัฐบาล 4) ลดสิ่งจูงใจที่จะซื้อเสียงเพื่อให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากพอที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี และ 5) เกิดการถ่วงดุลระหว่างฝ่ ายบริหาร และนิติบัญญัติth
dc.description.abstractในขณะที่ จุดอ่อนของการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง มี จำ นวน 4 ประการ คือ 1) ประชาชนบางส่วนกังวลว่าเป็นระบบประธานาธิบดีจะกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 2) การเลือกตั้งทั้งประเทศถึงไม่ซื้อเสียงก็ต้องใช้เงินจำนวนมากจะทำให้คนรวยได้เปรียบ 3) ถ้ารัฐบาลมาจากพรรคที่มีเสียงข้างน้อยในสภาจะทำให้บริหารงานยาก เพราะไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายได้ และ4) เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงการถอดถอนอาจทำได้ยากth
dc.description.abstractทั้งนี้จากการศึกษาสรุปได้ว่า ควรนำระบบแบ่งแยกอา นาจเข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบรัฐสภาด้วยการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองของไทย ทั้งระบบการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาลให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นth
dc.format.extent125th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb191043th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4647th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherนายกรัฐมนตรีth
dc.titleศึกษาเปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนของนายกรัฐมนตรีจากระบบรัฐสภาและจากการเลือกตั้งโดยตรงth
dc.title.alternativeComparative study of strengths-weakness of prime minister from parliamentary and direct electionth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b191043.pdf
Size:
2.24 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections