กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ศึกษากรณีความรับผิดของผู้จัดหาเลือดมนุษย์

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorเอมอมรา กฤษณะโลมth
dc.date.accessioned2016-07-26T07:23:22Z
dc.date.available2016-07-26T07:23:22Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับผิดของผู้จัดหาเลือด ภายใต้กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยศึกษาความเป็นมา แนวคิดเกี่ยวกับการให้หรือถ่ายเลือด สถานภาพทางกฎหมายของเลือด และพัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการกาหนดขอบเขตความหมายของสินค้า เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ว่าผู้จัดหาเลือดจะต้องรับผิดภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ตลอดจนเสนอมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากเลือดที่ไม่ปลอดภัย ปัจจุบัน การให้หรือถ่ายเลือดถือเป็นวิธีรักษาพยาบาลรูปแบบหนึ่งที่มีความสาคัญต่อการรักษาอาการเจ็บป่วยของมนุษย์ เนื่องจากยังไม่มีสิ่งอื่นใดที่สามารถทดแทนเลือดได้ ในขณะเดียวกัน หากเลือดที่ให้หรือถ่ายให้ผู้ป่วยมีความไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเชื้อโรคร้ายแรงปนเปื้อนอยู่ ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต อนามัย และร่างกายของผู้ป่วยได้ แม้ว่าในปัจจุบัน การฟ้องร้องให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการให้หรือถ่ายเลือดรับผิดนั้น อาจฟ้องร้องโดยอาศัยกฎหมายละเมิด กฎหมายสัญญา หรือกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้ให้การคุ้มครองและเยียวยาแก่ผู้เสียหายเท่าที่ควร เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 พบว่ามีบทบัญญัติที่คุ้มครองผู้เสียหายได้มากกว่ากฎหมายอื่นๆ ซึ่งนาหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาใช้บังคับ อันเป็นการลดภาระการพิสูจน์ของผู้เสียหาย นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัตินิยามของ “สินค้า” ซึ่งมีความหมายอย่างกว้าง โดยเปิดโอกาสให้นักกฎหมายตีความคาว่า “สินค้า” อยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ว่าหมายความรวมถึงเลือดด้วย ซึ่งหากเลือดมีความไม่ปลอดภัยแล้ว อาจนาไปสู่ความรับผิดของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเข้าลักษณะของผู้ประกอบการด้วย จากการศึกษากฎหมายและคาพิพากษาของศาลในต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น พบว่า กฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ จะใช้บังคับกับสินค้าที่ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมเป็นจานวนมากๆ โดยในกรณีที่เกี่ยวกับเลือดนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับกับกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายเลือดที่ไม่ปลอดภัย โดยผู้จัดหาเลือดไม่ต้องรับผิดภายใต้หลักความรับผิดโดยเคร่งครัด ส่วนกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่น กาหนดให้เลือดเป็นสินค้า และผู้จัดหาเลือดต้องรับผิดภายใต้หลักความรับผิดโดยเคร่งครัด อย่างไรก็ดี เมื่อได้พิจารณาพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มีเจตนารมณ์คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ถูกผลิตในเชิงอุตสาหกรรม อีกทั้ง การให้หรือการถ่ายเลือดเป็นการรักษาพยาบาลอย่างหนึ่งที่มีผลต่อชีวิตมนุษย์ ทาให้บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์เทียบไม่ได้กับบทบาทของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าแต่อย่างใด โดยสรุป ผู้ศึกษาเห็นว่า ควรมีการออกกฎกระทรวง เพื่อยกเว้นไม่ให้เลือด และผลิตภัณฑ์จากเลือดเป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะต้องมีการตีความในอนาคต หากมีกรณีพิพาทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเลือดที่ไม่ปลอดภัยth
dc.format.extent123 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb185201th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3146th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551.th
dc.subject.otherเลือด -- การขนส่งth
dc.subject.otherเลือด -- การขนส่ง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth
dc.subject.otherการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยth
dc.titleกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ศึกษากรณีความรับผิดของผู้จัดหาเลือดมนุษย์th
dc.title.alternativeLiability for damages emerging from unsafe product : a study of liability of human providersth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b185201.pdf
Size:
2.56 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections