การจัดการปกครองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ในโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

dc.contributor.advisorณัฐฐา วินิจนัยภาคth
dc.contributor.authorคอรี การีจิth
dc.date.accessioned2019-06-23T05:33:00Z
dc.date.available2019-06-23T05:33:00Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการจัดการปกครองแบบร่วมมือกันในโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษากระบวนการของการจัดการปกครองแบบร่วมมือกันในโครงการอุตสาหกรรมฯ และ 3) เพื่อศึกษาผลผลิตและผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการอุตสาหกรรมฯ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแสดงที่เป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 16 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการจัดการปกครองแบบร่วมมือกัน ประกอบด้วย หนึ่ง มิติบริบทของระบบ ที่มีปัจจัยของกรอบแนวคิดของกฎหมายและนโยบาย ลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และประเด็นความมั่นคงในพื้นที่ สอง มิติตัวขับเคลื่อนความร่วมมือ มีปัจจัยของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน สิ่งจูงใจที่ตามมา และผู้นำที่ริเริ่มความร่วมมือ 2) กระบวนการของการจัดการปกครองแบบร่วมมือกันมีอยู่สามมิติคือ หนึ่ง หลักการทำงานร่วมกัน มีองค์ประกอบของการปรึกษาหารือและการกำหนดแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน สอง ความเชื่อมั่นชึ่งกันและกัน มีองค์ประกอบของการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันและการสร้างข้อผูกมัดร่วมกัน และ สาม ความสามารถในการดำเนินการร่วมกัน มีองค์ประกอบของการจัดกระบวนการและสถาบัน และภาวะผู้นำ และ 3) ผลผลิตและผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการอุตสาหกรรมฯ ประกอบด้วย มิติของผลผลิต เช่น บริบทของอาคารและสถานที่ ภาคเอกชนเข้ามาบริหารโรงงาน และการพัฒนาทักษะแรงงาน และ สอง มิติของผลลัพธ์ ที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เพราะมีการจ้างงานต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ส่วนข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบด้วย 1) การกำหนดนโยบายและโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จำเป็นจะต้องมีการสร้างการยอมรับและแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน 2) การบรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างกลุ่มก่อความไม่สงบและรัฐบาลไทยควรเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด จึงจะสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ และ 3) การจัดลำดับความสำคัญในวาระทางนโยบายของรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรจะให้ความสำคัญทั้งในประเด็นความมั่นคงและการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันth
dc.description.abstractThe purposes of this study were (1) to explore the factors or conditions of initiating collaborative governance in the industrial projects for sustainable job creation in the three southern border provinces of Thailand, (2) to examine the process of collaborative governance in such projects, and (3) to investigate the outputs and outcomes of such industrial projects. A qualitative research by using documentary study and in-depth interview of sixteen key informants from public, private, and civic sectors was employed for this study. The results of this study were as follows: First, the factors or conditions influencing on initiating the collaborative governance could be grouped into two dimensions including, firstly, the system contexts that composited of policy and legal framework, socioeconomic and cultural, and security issues, and secondly, the factor drivers that composited of interdependence, consequential incentives, initiating leadership. Second, the process of collaborative governance had a three-dimensional: (1) employing collaborative teamwork with consulting and setting a common practice guideline, (2) enhancing and supporting mutual trust with building trust and commitment between each other, and (3) capacity for joint action by setting procedural and institutional arrangements, and leadership. Last, the impacts of implementing the industrial projects included: the outputs were about buildings, places, developing skills of labors, and professionally managing the factory provided by private sectors, and however, the outcomes were not achieved because of lower employment than specified. This research recommended that (1) Policy and project formulations that will be used to solve economic problems have to create and seek public acceptance and collaboration, (2) reaching a peace agreement between the Insurgent groups and the Thai government should occur as soon as possible in order to drive economic activity and development regularly, and (3) prioritizing policy agendas to solve the problem in Thailand's Southern border provinces should be balanced between security and development issues.th
dc.format.extent212 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb204754th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4482th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectการจัดการปกครองแบบร่วมมือกันth
dc.subjectโครงการอุตสาหกรรมth
dc.subjectการสร้างงานที่ยั่งยืนth
dc.subjectพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้th
dc.titleการจัดการปกครองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ในโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้th
dc.title.alternativeCollaborative governance in industrial projects for sustainable job creation in Thailand’s three Southern Border Provincesth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b204754.pdf
Size:
3.62 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections