การสร้างชุมชนออนไลน์ กลยุทธ์การสื่อสารและการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสารจากรายการพอดแคสต์สำนักข่าวเดอะสแตนดาร์ด
Publisher
Issued Date
2023
Issued Date (B.E.)
2566
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
136 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b216617
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กนกวรรณ ภารยาท (2023). การสร้างชุมชนออนไลน์ กลยุทธ์การสื่อสารและการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสารจากรายการพอดแคสต์สำนักข่าวเดอะสแตนดาร์ด. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6721.
Title
การสร้างชุมชนออนไลน์ กลยุทธ์การสื่อสารและการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสารจากรายการพอดแคสต์สำนักข่าวเดอะสแตนดาร์ด
Alternative Title(s)
Building online community, communication strategy, and uses and gratification through the standard's podcast program
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการสร้างชุมชนออนไลน์จากรายการพอดแคสต์สำนักข่าวเดอะสแตนดาร์ด 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารรายการพอดแคสต์ของสำนักข่าวเดอะสแตนดาร์ด 3) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสารจากรายการพอดแคสต์ของสำนักข่าวเดอะสแตนดาร์ด
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการสัมภาษณ์กลุ่มผู้รับสารจำนวนสิบคน ซึ่งเป็น Opinion leader และสมาชิกทั่วไปในชุมชนออนไลน์ของรายการพอดแคสต์สำนักข่าวเดอะสแตนดาร์ด และ ศึกษาจากการวิเคราะห์เนื้อหารายการ โดยคัดเลือกรายการพอดแคสต์ของเดอะสแตนดาร์ดจำนวน 2 รายการ คือ 1. รายการคำนี้ดี และ 2. รายการ Readery ซึ่งเป็นรายการที่มีผู้ฟังติดอันดับ 1 ใน 10 ตลอดทั้งปี 2021 โดยคัดเลือกจากเดือน มกราคม-มิถุนายน 2564 จำนวน 10 ตอน โดยแบ่งเป็นรายการคำนี้ดี 5 ตอน และ รายการ Readery 5 ตอน เกณฑ์ในการคัดเลือก คัดจาก Episode ที่ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นผ่านคอมเมนต์เป็นจำนวนมาก
ผลการวิจัยพบว่า การเกิดขึ้นของชุมชนออนไลน์เป็นเสมือนพื้นที่ที่ทำให้ผู้จัดรายการ ได้มีส่วนร่วมในการพูดคุยสอบถามข้อเสนอแนะจากผู้ติดตาม และยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้ได้ประโยชน์กับผู้ติดตามอีกด้วย ในเรื่องของการมีคอนเนคชั่นที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เช่น ชุมชนออนไลน์ Readery Podcast ทำให้คนได้มาอัพเดทเรื่องหนังสือกับคนที่ชื่นชอบหนังสือเช่นเดียวกัน และในภาษา ชีวิตดี โดยคำนี้ดีพอดแคสต์ ก็เป็นพื้นที่ที่ทำให้ผู้ติดตามได้ประโยชน์ในเรื่องของการพัฒนาตัวเองทางด้านภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น แต่ในปัจจุบันพบว่าคนกลับไม่ได้ให้ความสนใจกับชุมชนออนไลน์แล้ว ย้อนกลับไป 2 ปีที่แล้ว ชุมชนออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในขณะที่เทรนด์ปี 2022 ธรรมชาติของคนฟังหรือผู้บริโภคสื่อเปลี่ยนไป ผู้ใช้โซเชียลมีเดียไม่นิยมใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) แต่ให้ความสนใจกับแพลตฟอร์มอย่าง ติ๊กตอก (TikTok) หรือ ยูทูบ (Youtube) แทน ชุมชนออนไลน์เคยเป็นเสมือนฟังก์ชั่นที่สื่อสารแบบมนุษย์ต่อมนุษย์ ในขณะที่ทุกวันนี้ ผู้คนนิยมให้ฟีดแบ็กจากใต้คอมเมนต์ ความเป็นชุมชนในชุมชนออนไลน์จึงยังไม่แข็งแรงพอ ทางเดอะสแตนดาร์ดพอดแคสต์จึงมีการจัดเวิร์คชอปในลักษณะอื่น ๆ อาทิ ทอล์กโชว์ เวิร์กชอป
ได้ค้นพบพัฒนาการด้านการสื่อสารจาก Audio Podcast สู่ Video Podcast พบว่าได้เห็นถึงกลยุทธ์ในการพร้อมเปลี่ยนแปลงปรับตัวกับกระแสของสื่อและรับฟังฟีดแบ็กเพื่อเอาใจผู้ฟัง โดยเดอะสแตนดาร์ดพอดแคสต์เองมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของรายการ ไม่เพียงแต่เป็น Audio Podcast เพียงอย่างเดียว แต่ปรับเนื้อหารายการในรูปแบบของ Video Podcast สรุปได้ว่าปัจจุบันพอดแคสต์คนยังคงให้ความสนใจกันอยู่ แต่ผู้ผลิตรายการเองต้องปรับตัวตามเทรนด์ของโซเชียลมีเดีย ทำให้เดอะสแตนดาร์ดพอดแคสต์ รวมไปถึง KND Studio ผลิตเนื้อหารายการที่ทำให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น และได้เปิดเผยหน้าของผู้ดำเนินรายการให้ผู้ฟังรู้สึกถึงความใกล้ชิดกับรายการมากยิ่งขึ้น
พบว่า ผู้ฟังมองว่าประเด็นที่นำเสนอในรายการเป็นประเด็นที่ทำให้คนสามารถฟังแล้วเกิดประโยชน์ในเชิงพัฒนาตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการฟัง Readery ก็ทำให้คนมองเห็นแง่มุม ข้อคิดดี ๆ จากโฮสต์นำมาคิดต่อ และการฟังรายการคำนี้ดี ก็ทำให้นำคำศัพท์จากในรายการมาปรับใช้กับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันได้เช่นกัน
และจากผู้ผลิตรายการเองนั้นก็มองเห็นเช่นกันว่าคนฟังได้ประโยชน์จากคุณค่าของหนังสือแต่ละเล่มที่ผู้ดำเนินรายการได้นำเสนอ ซึ่งแต่ละเอพิโสดส่วนใหญ่จะเป็นการตอบคำถามถึงเรื่องของพฤติกรรม ความคิด ปัญหาความไม่เข้าใจที่เกิดขึ้นของมนุษย์ เป็นการช่วยให้คำตอบของปัญหาแก่ผู้ฟัง ผ่าน Storytelling นอกจากจะได้ความรู้จากหนังสือแต่ละเล่ม ยังได้ข้อคิดในการใช้ชีวิต และเรียนรู้วิธีการเล่าเรื่องจากผู้ดำเนินรายการที่มีประสบการณ์
The objectives of this research were 1) To examine the creation of online communities from The Standard Podcast. 2) To investigate the communication strategies of the shows within The Standard Podcast. 3) To study the uses and satisfaction of the audiences from The Standard Podcast. This research follows a qualitative approach and involves interviewing a group of ten individual participants, including opinion leaders and general members of The Standard Podcast’s online community. The analysis is based on the content of two selected podcast shows from The Standard, namely “KND Podcast” and “Readery”, which were among the top 10 most popular episodes throughout the year 2021. These episodes were chosen from the January to June 2021 period and comprised a total of 10 episodes, with 5 episodes from “KND Podcast” and 5 episodes from “Readery”. The selection criteria involved selecting episodes that received a substantial amount of comments. (1) The study findings indicate a decreased interest in online communities among individuals nowadays. In 2022, there has been a shift in the media consumption habits of individuals. Social media users are no longer inclined to use Facebook but are more interested in platforms such as TikTok or YouTube. (2) There has been a development in communication methods from audio podcasts to video podcasts. It has been observed that there are strategies in place to adapt and adjust the change in media trends to engage audiences. The Standard Podcast, for example, has transformed its format from being solely an audio podcast to a video podcast. It is not only changing the format but also shifting the content’s show. (3) It has been discovered that the topics presented in the podcast are beneficial for personal development, allowing audiences to get valuable insights from the storytelling presented in particularly episodes and apply them to their daily lives.
The objectives of this research were 1) To examine the creation of online communities from The Standard Podcast. 2) To investigate the communication strategies of the shows within The Standard Podcast. 3) To study the uses and satisfaction of the audiences from The Standard Podcast. This research follows a qualitative approach and involves interviewing a group of ten individual participants, including opinion leaders and general members of The Standard Podcast’s online community. The analysis is based on the content of two selected podcast shows from The Standard, namely “KND Podcast” and “Readery”, which were among the top 10 most popular episodes throughout the year 2021. These episodes were chosen from the January to June 2021 period and comprised a total of 10 episodes, with 5 episodes from “KND Podcast” and 5 episodes from “Readery”. The selection criteria involved selecting episodes that received a substantial amount of comments. (1) The study findings indicate a decreased interest in online communities among individuals nowadays. In 2022, there has been a shift in the media consumption habits of individuals. Social media users are no longer inclined to use Facebook but are more interested in platforms such as TikTok or YouTube. (2) There has been a development in communication methods from audio podcasts to video podcasts. It has been observed that there are strategies in place to adapt and adjust the change in media trends to engage audiences. The Standard Podcast, for example, has transformed its format from being solely an audio podcast to a video podcast. It is not only changing the format but also shifting the content’s show. (3) It has been discovered that the topics presented in the podcast are beneficial for personal development, allowing audiences to get valuable insights from the storytelling presented in particularly episodes and apply them to their daily lives.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2566