ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในการใช้งานเทคโนโลยี Time-shifting บนโทรศัพท์เคลื่อนที่

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorนภัสรพี พิชยเมธพนธ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:13:44Z
dc.date.available2014-05-05T09:13:44Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ ( )--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,th
dc.description.abstractในปัจจุบันมีการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่มี ความสามารถและคุณลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บบันทึกข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ทำการบันทึกนั้นกลับมาใช้งานใหม่ เทคโนโลยี Time-shifing ซึ่งเป็นการบันทึก รายการโทรทัศน์หรือวิทยุไว้เพื่อรับชมรับฟังในภายหลัง อันมีลักษณะของการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการใช้งานเทคโนโลยี Time-shifting บน โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นเป็นการละเมิดลิซสิทธิ์หรือไม่ และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้กำหนด หลักการใช้งานโดยธรรมให้ความคุ้มครองผู้ใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว และคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์อย่างไร จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แม้จะได้กำหนดหลักการใช้งานโดย ธรรมเอาไว้ ในมาตรา 32 แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงการใช้งานเทคโนโลยี Time-shifting เนื่องจากการใช้ งานทคโนโลยีดังกล่าวนอกจากเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิสิทธิ์แล้วจะต้องกำหนดถึงขอบเขตของ การใช้งานด้วย เพื่อไม่ให้ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของ ลิชสิทธิ์ และกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ อีกทั้งประเทศ ไทยไม่มีคำพิพากษาของศาลวางหลักเกี่ยวกับการใช้งวนเทคโนโลยี Time-shifting เอาไว้ แต่ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำพิพากษาของศาลสูงวางหลักไว้ว่าการใช้งนเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นหาก เป็นการใช้โดยส่วนตัวและมิใช่ในเชิงพาณิชย์ย่อมเป็นการใช้งานโดยธรรม และในประเทศออสเตรเลีย ได้บัญญัติกฎหมายของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์จากการใช้งานเทคโนโลยี Time-shifting ไว้ โดยเฉพาะ จึงมีความชัดเจนว่าต้องใช้งานเทคนโลยีดังกล่าวอย่างไรให้ได้รับการยกเว้นการละเมิด ลิขสิทธิ์ตังนั้นผู้เขียนขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้งานเทคโนโลยี Time-shifting โดย ทำการแก้ไขเพิ่มเติมหลักข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์จากการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวใน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 โดยกำหนดว่าอะไรคือเทคโนโลยี Time-shifing เทคโนโลยีดังกล่าวมีการใช้งานอย่างไร และขอบเขตของการใช้งานคืออะไร และควรมีการแก้ไข เพิ่มเติมบทนิยามศัพท์ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยเพิ่มเติมคำว่า "ทำซ้ำชั่วคราว" เพื่อช่วยในการระบุลักษณะการใช้งานเทคโนโลยี Time-shifing และเทคโนโลยี อื่นๆ ต่อไปth
dc.format.extent93 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb180775th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/729th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.titleข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในการใช้งานเทคโนโลยี Time-shifting บนโทรศัพท์เคลื่อนที่th
dc.title.alternativeTime-shifting exception on mobile phoneth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b180775.pdf
Size:
4.73 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections