การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรบุคคล : กรณีศึกษา บุคลากรสายสนับสนุนในระดับปฏิบัติการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

dc.contributor.advisorวีระวัฒน์ ปันนิตามัยth
dc.contributor.authorสุรพงษ์ โพธิ์ขาวth
dc.date.accessioned2019-10-30T09:33:35Z
dc.date.available2019-10-30T09:33:35Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รอ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractการวางแผนทรัพยากรบุคคลถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการที่จะให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มี คุณภาพมาปฏิบัติงาน ส่งมอบผลสัมฤทธิ์ให้แก่หน่วยงาน การวางแผนทรัพยากรบุคคลที่ดีสามารถ พัฒนาได้ใน 3 มิติ ได้แก่ มิติ ด้านปริมาณ เพื่อทราบอัตรากา ลังคนที่เหมาะสมสอดคล้องกับภาระงานที่ ได้รับภายในหน่วยงานที่สังกัด มิติด้านคุณภาพ เพื่อทราบว่าผลการปฏิบัติงานของบุคลากรนั้นมี คุณภาพ สามารถส่งมอบผลงานให้กับผู้บังคับบัญชาได้สำเร็จบรรลุเป้าหมาย มิติด้านการกระจาย เพื่อ ทราบว่าบุคลากรในสถาบันฯได้รับการอุดช่องว่างโดยพัฒนาสมรรถนะในรายบุคคลอย่างทั่วถึงกัน เพื่อ เน้นคุณภาพของ ผลการปฏิบัติงานผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการทำให้บุคลากรนำองค์ความรู้ ไป ประยุกต์ใช้ในภาระงานของตนเองส่งผลให้งานมีคุณภาพ สถาบันฯให้ความสำคัญอย่างมากเพื่อที่จะ พัฒนาสมรรถนะของบุคลากใรห้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นth
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจระดับความคิดเห็นของบุคลากรในระดับปฏิบัติการที่มี ต่อการวางแผนทรัพยากรบุคคลและผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนทรัพยากรบุค 2) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร ด้านการวางแผนทรัพยากรบุคคลกับผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนทรัพยากรบุคคลใน ระดับปฏิบัติการ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับ ปฏิบัติการ วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการแจก แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างของบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 217 คน ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรด้านการวางแผนทรัพยากรบุคคล ด้านปริมาณในภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง (X̅ = 3.30, S.D. = .73 ) โดยมีค่าตัวชี้วัดผลผลิตอยู่ในระดับมาก( X̅ = 3.51, S.D. = .68) และค่าตัวชี้วัดผลลัพธ์อยู่ในระดับมาก(X ̅ = 3.47, S.D. = .84) ด้านคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก( X̅ = 3.46, S.D. = .62)โดยมีค่าตัวชี้วัดผลผลิตอยู่ในระดับมาก( X̅ = 3.70, S.D. = .61) และค่าตัวชี้วัดผลลัพธ์ อยู่ในระดับมาก( X̅ = 3.72, S.D. = .62) ด้านการกระจาย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.46, S.D. = .62) โดยมีค่าตัวชี้วัดผลผลิตอยู่ในระดับปานกลาง( X̅ = 3.33, S.D. = .46) และค่าตัวชี้วัดผลลัพธ์อยู่ในระดับ ปานกลาง (X̅ = 3.58, S.D. = .61) ค่าตัวชี้วัดผลผลิตโดยรวมทั้งสามด้านอยู่ในระดับมาก( X̅ = 3.51, S.D. = .49) ค่าตัวชี้วัดผลลัพธ์โดยรวมทั้งสามด้านอยู่ในระดับมาก( X̅ = 3.59,S.D.=.57) โดยสรุป ความคิดเห็น ของบุคลากรสถาบันฯ สายสนับสนุน ต่อผลสัมฤทธ์ิการวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (X̅ = 3.55, S.D. = .49)th
dc.description.abstractเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า มีตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง 2 คู่ (r > .60) ได้แก่ (1)การวางแผนทรัพยากรบุคคลด้านคุณภาพมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ด้านผลผลิตของของ การวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการ โดยมีค่าความสัมพันธ์ในทางบวก r = .616 p. = .000 ที่ระดับนัยสา คัญทางสถิติ .01 (2) การวางแผนทรัพยากรบุคคลด้านคุณภาพมีความสัมพันธ์กั บ ผลสัมฤทธ์ิด้านผลลัพธ์ของการวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติกา รโดยมีค่าความสัมพันธ์ใน ทางบวก r = .620 p. = .000 ที่ระดับนัยสา คัญทางสถิติ. 01 เมื่อศึกษาผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณระหว่างการวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับ ปฏิบัติการ ของบุคลากรสถาบันฯสายสนับสนุน ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ และด้านการกระจายและ ผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการพบว่า มีปัจจัย 2 ตัว ได้แก่ ด้านคุณภาพ และด้านการกระจาย ที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของ การวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับ ปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 68 (R = 68.0) และสามารถอธิบาย ผลสัมฤทธ์ิของการวางแผนทรัพยากร บุคคลในระดับปฏิบัติการ ได้ร้อยละ 46.3 (R2 = .463) จากการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุ (Beta) เพื่อพิจารณาจัดลา ดับความสา คัญให้แก่ตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธข์ิ องการวางแผนทรัพยากร บุคคลในระดับปฏิบัติการ พบว่า ตัวแปรต้นที่อธิบายได้ดี เรียงตามลา ดับความสา คัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการกระจาย และด้านคุณภาพ ซึ่งมีค่า Beta .600 และ .041 ตามลา ดับ โดยมีความสัมพันธ์ต่อ ผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการ อย่างมีนัยสา คัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาจะเห็นได้ว่า ปัจจัยด้านปริมาณ คือ การวางอัตรากา ลังคน ของสถาบันฯให้มี ความเหมาะสมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของสถาบันฯ อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น ควร ให้ความสำคัญกับการวางแผนอัตรากา ลังคนให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของหน่วยงานทั้ง สถาบันฯ เพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ขององค์กรอย่างยั่งยืนต่อไปth
dc.format.extent154 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2014.57
dc.identifier.otherb191036th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4657th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการปฏิบัติงานของบุคคลth
dc.subject.otherการวางแผนth
dc.titleการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรบุคคล : กรณีศึกษา บุคลากรสายสนับสนุนในระดับปฏิบัติการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.title.alternativeAn opinion survey on personnel planning of operational supporting staff at NIDA, Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b191036.pdf
Size:
4.82 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections