การวิเคราะห์ปัจจัยด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ กรณีศึกษา บริษัท ไทยฟู๊ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
Publisher
Issued Date
2022
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
No. of Pages/File Size
2 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
ธารากร แสงสุระธรรม
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธารากร แสงสุระธรรม (2022). การวิเคราะห์ปัจจัยด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ กรณีศึกษา บริษัท ไทยฟู๊ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน). Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6659.
Title
การวิเคราะห์ปัจจัยด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ กรณีศึกษา บริษัท ไทยฟู๊ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
อุตสาหกรรมอาหารประเภทเนื้อสัตว์สดและแปรรูป เป็นธุรกิจที่เปิดกว้างและมีการแข่งขันที่สูง
โดยองค์กรขนาดใหญ่ในภาคธุรกิจนี้ พยายามขยายความได้เปรียบที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้สะดวก และรุกคืบสู่
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายด้วยนวัตกรรมและเครือข่ายที่ครอบคลุม การอยู่รอดของธุรกิจในลำดับรอง
จึงจำเป็นต้องมีนวัตกรรมในพัฒนาธุรกิจและความมุ่งมั่นเพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) TFG ถือเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นในตลาดที่ทำงานเชิงรุกและได้รับ
การยอมรับด้วยดี โดยใช้ฐานความแข็งแกร่งขององค์กรที่มีมาแต่เดิม ด้วยพื้นฐานรายได้องค์กรมาจากธุรกิจไก่
และสุกร ที่ได้การสนับสนุนทั้งจากธุรกิจอาหารสัตว์ และการวิจัยพัฒนาด้านเวชภัณฑ์/พันธุวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
และการเพิ่มช่องทางสู่การเป็นธุรกิจร้านค้าปลีก (B2C) จึงได้มีการส่งเสริมนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อส่งมอบคุณค่าสู่ผู้บริโภคโดยตรง เป็นผลให้รายได้และกำไรในปี 2565 ที่ผ่านมาเป็นไปแบบก้าวกระโดด
จึงได้มีการต่อยอดเป้าหมายในการขยายสาขาให้มากขึ้น ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่กระจายไปยังหัวเมืองในส่วน
ภูมิภาคมากขึ้น
เมื่อสืบค้นเพิ่มเติมพบว่า ในปี 2564 นั้น เป็นปีที่มีรายได้สูงขึ้นแต่สัดส่วนกำไรลดลง เนื่องจาก
เป็นปีที่มีการเริ่มต้นลงทุนในการวางรากฐานเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วย ESG (Environment, Social and
Corporate Governance) ที่ส่วนหนึ่งเป็นการบริหารจัดการภายในองค์กร ส่วนหนึ่งเชื่อมโยงสู่เกษตรพันธสัญญา
และคู่ค้า ส่วนหนึ่งสู่สังคมส่วนรวมและชุมชนโดยรอบ และอีกส่วนเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม
และพลังงาน จึงเสมือนเป็นการย่อตัวที่จะก้าวกระโดดขององค์กร
กลยุทธ์ที่ TFG ใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เป็นการกำกับดูแลกิจการที่ดีร่วมกับ
หลักการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย สร้างคุณค่าในทางธุรกิจของ
องค์กรและสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อที่จะส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ภายใต้การดำเนิน
กิจการที่โปร่งใส โดยในงานวิจัยนี้ พบว่ามี 3 กลจักรผลักดันให้กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ คือ การที่มีผู้บริหารรุ่นใหม่
เข้ามาเสริมสร้างกลยุทธ์และการตลาด การมี TFG DNA ในการสร้างจริยธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง และความพร้อม
ของธุรกิจที่สนับสนุนความยั่งยืนขององค์กร
ในการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความยั่งยืนในงานวิจัยนี้ พบว่า การพิจารณาเฉพาะเอกสาร อย่างรายงาน
ความยั่งยืน และรายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) อาจได้รับข้อมูลจำเพาะที่เสนอขององค์กรเท่านั้น
ทว่าการเข้าถึงข้อมูลที่นักลงทุนจะได้รับจากตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย SET ในฐานะหน่วยงานกลาง
ใช้อ้างอิงเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจด้านความยั่งยืนขององค์กร (SETTHS) กลับพบว่า TFG ไม่เข้าข่าย
ในการเข้าสู่การจัด ESG Score by ESG book อันสะท้อนถึงข้อมูลในเบื้องลึก ที่ TFG ควรมีการปรับตัว
ให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
แต่จากการสืบค้นเพิ่มเติมในส่วนของ ESG Score นั้น ได้แจ้งชัดเจนว่า เป็นระดับ Rating ของปัจเจก
ที่ไม่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบกันได้ ขึ้นอยู่กับการให้ขอบเขตและวิธีการของแต่ละองค์กรเท่านั้น ทั้งนี้หากองค์กร
จะเสนอข้อมูลประกอบในขอบเขตเพียงบางส่วนที่ได้ดำเนินการและเข้าเงื่อนไขรับ Score ใน ESG แล้ว จะส่งผลให้
ได้รับ Rating ที่สูง ทำให้สามารถใช้อ้างอิงเทียบถึง ESG Score ของทั้งองค์กรได้ในที่สุด ถือเป็นการบิดเบือนหรือให้
ข้อมูลไม่ครบถ้วนด้วยส่วนหนึ่ง
ดังนั้นในงานวิจัยนี้ จึงได้ทำการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบปัจจัย ESG โดยเลือกใช้เครื่องมือที่ละเอียด
และเจาะลึกมากขึ้นจก Integrated Ratio Guideline ESG and Combined Financial and Non-Financial
Ratios เทียบกับอีก 2 องค์กรที่มีรูปแบบธุรกิจในลักษณะเดียวกันได้ กระทั่งการแปรออกมาถ่วงน้ำหนักให้สามารถ
เทียบเคียงกัน พบว่า บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) CPF หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีค่าผลการ
ประเมินสูงที่สุดในทุกหมวด ลดลั่นลงมา คือ บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) GFPT และ TFG ยิ่งเป็นการยืนยันที่
ควรมีการพิจารณาถึงความพร้อม ความครบถ้วน และความสมบูรณ์ในการดำเนินกิจการ เพื่อความยั่งยืนขององค์กร
ต่อเนื่องจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง TFG ถือว่าขยับตัวที่จะเข้ามาขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนที่ล่าช้ากว่าคู่แข่ง และ
ด้วยการผสมผสานของผู้บริหารรุ่นใหม่ และคลื่นกระแส ESG ที่มีส่วนในการปรับกระบวนทัพให้ต้องเร่งปรับเปลี่ยน
และลงทุนวางรากฐานด้านความยั่งยืนขององค์กร พร้อมกันกับการขยายวางตำแหน่งทางการตลาดสู่ธุรกิจร้านค้าปลีก
เพื่อเป็นแหล่งส่งมอบคุณค่าสู่ผู้บริโภครายย่อยโดยตรง และได้รับการตอบรับด้วยดี กระทั่งเป็นผลให้มีรายได้สูงขึ้น
แบบก้าวกระโดดในปี 2565 และวางเป้าหมายที่จะผลักดันธุรกิจส่วนนี้เป็นหัวจักรในการขับเคลื่อนดึงส่วนธุรกิจส่วน
อื่นๆ ร่วมกันด้วย และจากการวิเคราะห์เหลียวหลังแลหน้า พบว่า TFG ได้มีการดำเนินการด้าน ESG มามุ่งมั่น เท่าที่
มีตามเงื่อนไขเวลาที่ตามคู่แข่งทางธุรกิจ ดังนั้นจึงได้จัดทำเป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสู่องค์กร ทั้งในระดับภาพรวม
และระดับรายธุรกิจ แยกเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม ด้านบรรษัทภิบาล และด้านการตลาด ตามที่ได้มี
การศึกษาในรายงานวิจัยนี้
การวิเคราะห์ปัจจัยความยั่งยืนทางธุรกิจ โดยใช้แนวทาง ESG ถือเป็นรูปแบบที่ได้รับการยอมรับทาง
ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในตลาดทุน แต่การนำ ESG มาพัฒนาใช้งานของแต่ละประเทศมีรายละเอียดที่ปรับเปลี่ยน
ยืดหยุ่นแตกต่างกัน ซึ่งโดยรวมนั้น จะวางหลักการไว้จากการจัดทำนโยบายที่ผู้บริหารองค์กรเป็นหัวจักรในการ
ขับเคลื่อนและใช้ความร่วมมือกันกับความเป็นไปได้และความเหมาะสม
หลายองค์กรธุรกิจของประเทศไทยได้ก้าวข้ามกระบวนการภายใน สู่การรับรองระดับสากลที่อาจมา
จากรูปแบบธุรกิจที่ขยายเกี่ยวพันในวงกว้างขึ้น นวัตกรรมด้านการกำหนดปัจจัยความยั่งยืนขององค์กรก็ได้รับการ
ผลักดันให้เทียบเท่าเทียมกับหลักการและมาตรฐานที่รับรองนั้นๆ เพิ่มเติมด้วย
ในส่วนของงานวิจัยนี้ ได้รับการส่งมอบความครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่ตั้งไว้ ทั้งในส่วน
ของการขับเคลื่อนความยั่งยืนขององค์กร ที่พบว่า TFG นั้น มี 3 ปัจจัยสนับสนุนสู่ความสำเร็จ คือ การที่มีผู้บริหาร
ที่เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาเสริม การมี TFG DNA และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนความยั่งยืนที่เข้มแข็ง ต่อมาคือ
การเปรียบเทียบกับ 2 องค์กร คือ GFPT และ CPF ยิ่งทำให้ทราบถึงส่วนที่ควรต่อเติมให้สมบูรณ์และประเด็นที่
ควรมีให้ครบถ้วน จากนั้นจึงได้จัดทำข้อเสนอแนะต่อ TFG ทั้งในภาพรวมระดับองค์กร และในระดับรายธุรกิจ โดย
ใช้แนวทาง ESG และแนวทางการตลาด เพื่อเสนอให้ TFG สู่ความมั่นคงและยั่งยืนตลอดไปนั่นเอง
Table of contents
Description
การค้นคว้าอิสระ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2565