GSEDA: Independent Studies

Independent Studies and Termpapers

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 20
  • Thumbnail Image
    Item
    การจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและธรรมชาติของทุ่งโปร่งทองเขตชุมชนบ้านแสมภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
    สุรีย์พร สุวะศรี; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพกายภาพ วิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจของพื้นที่ทุ่งโปร่งทอง เขตชุมชนบ้านแสมภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 2) ประเมินสภาพแวดล้อมในการพัฒนาการท่องเที่ยวของพื้นที่ทุ่งโปร่งทอง เขตชุมชนบ้านแสมภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 3) เสนอแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและธรรมชาติของทุ่งโปร่งทองเขตชุมชนบ้านแสมภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ การสัมภาษณ์บุคลากรหน่อยงานภาครัฐ ประธานชุมชนบ้านแสมภู่ และนักท่องเที่ยว ในการดำเนินกิจกรรมหลัก มาเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำหลักมาทำการวิเคราะห์ (SWOT Analysis) เข้ามาช่วยในการจัดทำแผนครั้งนี้พบว่าชุมชนบ้านแสมภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยองเป็นพื้นที่ตำบลที่ยังไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวรู้จักเท่าที่ควร การจะพัฒนาให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวจำเป็นที่จะต้องใช้คน งบประมาณ สถานที่และสื่อการประชาสัมพันธ์ที่ค่อนข้างมาก แต่เนื่องด้วยภายในตำบลประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุจำนวนมาก จึงขาด แรงงานและขาดการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยได้นำปัญหาดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์ TOWS Matrix จากปัจจัยในเช่นสภาพกายภาพ วิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจของพื้นที่อำเภอแกลง แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศ เป็นต้น ปัจจัยภายนอก เช่น เงินทุนสนับสนุนจากภาคเอกชน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่ทันสมัยจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น แล้วนำผลการวิเคราะห์ผลการกำหนดกลยุทธ์ด้วยทฤษฎี (TOWS Matrix) มาพิจารณาจัดทำแนวทาง 4 ด้านกล่าวคือ ด้านกลยุทธ์เชิงรุก , กลยุทธ์เชิงแก้ไข , กลยุทธ์เชิงป้องกันและกลยุทธ์เชิงรับ เพื่อนำไปสู่แผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและธรรมชาติของทุ่งโปร่งทองเขตชุมชนบ้านแสมภู่ จังหวัดระยอง
  • Thumbnail Image
    Item
    ถอดบทเรียนการอยู่ร่วมกันของชุมชนกับป่าอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
    อนุสรณ์ ศรีโพธิลา; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ถึงถอดบทเรียนการอยู่ร่วมกันของชุมชนกับป่าอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์และความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยของหลักการวิเคราะห์กรอบแนวคิด (DPSIR) คือ แรงขับเคลื่อน แรงกดดัน สถานการณ์ ผลกระทบ และการตอบสนอง ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi - Structured Interview) กับกลุ่มเป้าหมายหลัก ในพื้นที่ของตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษา พบว่าปัจจัยแรงขับเคลื่อน (D-Driver) แรงขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของชุมชนที่มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ชุมชนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความต้องการหาทรัพยากรป่าไม้ชุมชนในการบริโภคสำหรับภาคชุมชนและการแบ่งเขตพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ชุมชนให้เกิดความชัดเจนรวมทั้งผู้ที่มีส่วนได้-ส่วนเสียของผู้ใช้ทรัพยากรป่าไม้ชุมชนในแต่หละภาคส่วนเพื่อการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่มีอยู่อยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและอย่างยั่งยืน สู่ปัจจัยกดดัน (P-Pressure) สภาวะกดดันที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ชุมชนจากภาคชุมชนนั้น ซึ่งมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นจนเกินศักยภาพและความสมดุลตามธรรมชาติของทรัพยากรป่าไม้ทำให้ป่าไม้ผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชนเกิดความเสื่อมโทรมที่เปลี่ยนไป สู่ปัจจัยสภาวะ (S-State) สถานภาพของปริมาณทรัพยากรป่าไม้ชุมชนมีทรัพยากรป่าไม้ใช้ไม่เพียงพอไม่สมดุลกัน จนเกิดการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชุมชนอย่างชัดเจนมาตรการป้องกันการบุกรุกที่มีการร่วมมือกับหน่วยงานกรมป่าไม้ของจังหวัดและแกนนำชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ทรัพยากรป่าไม้ชุมชนแบบยั่งยืนที่ชัดเจนสู่ปัจจัยผลกระทบ (I-Impact) คือทำให้ปริมาณทรัพยากรที่ป่าไม้ชุมชน มีความต้องการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อในการทำเกษตรกรรมตามฤดูกาลหลังเก็บเกี่ยวของชุมชนทำให้พื้นที่ป่าไม้ชุมชนมีลดจำนวนและทรัพยากรป่าไม้ไม่สามารถผลิตผลออกมาได้ซึ่งต่อความต้องการของชุมชนช่วงที่มีความต้องการทรัพยากรป่าในการใช้ประโยชน์ในภาคของครัวเรือนชุมชน หรือการบุกรุกจนเกิดการเสื่อมโทรมของป่าไม้ชุมชนซึ่งสู่ปัจจัยการตอบสนอง (R-Responses) มีการจัดประชุมทุกภาคส่วนภาคชุมชน ภาคกำนันผู้ใหญ่บ้าน ภาครัฐ ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารจัดการป่าไม้ชุมชนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการบูรณาการทรัพยากรป่าไม้ชุมชนที่มีให้ได้ใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดและยั่งยืน
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของประชาชนชุมชนหนองกันเกรา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
    กรรณิการ์ พร้อมเพรียง; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของประชาชนชุมชนหนองกันเกรา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และเสนอแนวทางการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่าง 100 คน และเครื่องมือที่ใช้มีทั้งแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการแจกแจงความถี่ และหาร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาณ (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่ากึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 21-40 ปี ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/ห้างร้าน มีรายได้อยู่ระหว่าง 25000-30000 บาท ส่วนใหญ่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติก พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอยจะต้องใช้ภาชนะที่ใช้แทนถุงพลาสติก เช่น ใส่ตะกร้า ปิ่นโต ถุงผ้า ความตระหนักในการจัดการขยะ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความตระหนักในการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยก่อนนำไปทิ้ง เป็นวิธีการที่ช่วยให้ ภาครัฐสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะพลาสติก พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีส่วนร่วมใช้ถุงผ้า ปิ่นโต หรือตะกร้ามาซื้อสินค้า เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟม การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการที่ต่างกันมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะโดยกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับข้อมูลข่าวสารมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับข้อมูล ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึก และความตะหนัก จึงเป็นสาเหตุสำคัญในการจัดการขยะในชุมชน เนื่องจากเป็นเขตอุตสาหกรรม มีผู้อาศัยเป็นจำนวนมาก ชีวิตประจำวันมีความเร่งรีบในการจับจ่ายใช้สอยทั้งเรื่องอุปโภคและบริโภค ทำให้ส่วนใหญ่ละเลยที่จะจัดการขยะอย่างถูกวิธี ประกอบกับภาครัฐมีงบประมาณไม่เพียงพอ ในการจัดหาถังขยะให้เพียงพอต่อปริมาณขยะในแต่ละวัน รวมไปถึงกระบวนการจัดเก็บขยะโดยรถเก็บขยะยังไม่เป็นระบบมากพอ จึงเกิดปัญหาขยะล้นถังและส่งกลิ่นเหม็น จากการศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของประชาชนชุมชนหนองกันเกรา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุมชนจะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้เอง โดยร่วมกันรณรงค์ให้คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ลดปริมาณการใช้ขยะลงในแต่ละวัน คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง รู้จักการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระบวนการ 1A3R ทุกคนจะต้องปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน พร้อมทั้งปลูกฝั่งค่านิยมในการจัดการขยะ ไปยังเยาวชน สอดแทรกไปยังกิจกรรมและบทเรียนต่างๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ รวมไปถึงมีการกำหนดนโยบายและมาตรการในการจัดการขยะร่วมกันระหว่างชุมชน ภาครัฐ และเอกชน เป็นต้น
  • Thumbnail Image
    Item
    ศึกษาปัจจัยที่มีนัยสำคัญสู่ความสำเร็จของเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของโรงงานควบคุมที่ปฏิบัติตามระบบการจัดการพลังงาน
    ปฏิญญา จีระพรมงคล; ภัคพงศ์ พจนารถ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีนัยสำคัญสู่ความสำเร็จของเป้าหมายความเป็น กลางทางคาร์บอนของโรงงานควบคุมที่ปฏิบัติตามระบบการจัดการพลังงาน ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานที่มีส่วนเกี่ยวของกับระบบการจัดการพลังงาน การใช้พลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการขับเคลื่อนการอนุรักษ์พลังงาน ทำการเก็บแบบทดสอบและแบบ ประเมินจากพนักงานของบริษัท รวมถึงนำข้อมูลจากรายงานการจัดการพลังงานมาร่วมพิจารณา ผลการศึกษาพบว่า แรงผลักดันให้องค์กรต้องดำเนินกิจกรรมลดการ ใช้พลังงานหรือลดการ ปล่อยคาร์บอนๆ นั้น ล้วนแต่มาจากปัจจัยด้านการใช้ทรัพยากรทั้งสิ้น นั่นคือการใช้พลังงาน เนื่อง ด้วยปริมาณการใช้พลังงานสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนฯ อีกทั้งกฎหมายพลังงาน กำหนดให้เป็นโรงงานควบคมที่ต้องจัดทำระบบการจัดการพลังงาน สรุปได้ว่าปัจจัยสำคัญที่เป็น ผลสัมฤทธิ์นี้ประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยแรกเป็นบุคลากรในองค์กรทั้งหมด (ผู้บริหาร คณะ ทำงานฯ พนักงานปฏิบัติการ รวมถึงพนักงานช่วง) ที่ต้องร่วมดำเนินการผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วม (Small Group Activity) โดยผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยที่สองเป็นระบบ การจัดการที่ดี (ระบบการจัดการใดก็ได้ที่เหมาะสมกับองค์กร) เพื่อให้เกิดการดำเนินกิจกรรมได้ อย่างต่อเนื่อง โดขอาจนำที่ปรึกษาจากภายนอกมาช่วยเหลือ เช่น กำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติ วิเคราะห์เป้าหมายและแผนกิจกรรมระยะยาว ตรวจพิสูจน์ผล เป็นต้น หากทั้งสองปัจจัยนี้เข้มแข็งจะ สามารถผลักดันให้องค์กรก้าวสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมมี อุปสรรค เช่น การสนับสนุนจากภาครัฐ การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เคร่งครัด ปัญหาราคาพลังงาน ของประเทศ ความไม่ชัดเจนในแผนปฏิบัติการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน เป็นต้น
  • Thumbnail Image
    Item
    ผลกระทบของน้ำยาโฟมดับเพลิงที่มีต่อสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
    วุฒิศักดิ์ มูลตรีภักดี; พีรพล เจตโรจนานนท์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, )
    งานวิจัยนี้มีนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาว่าการใช้น้ำยาโฟมในการดับเพลิงของบริษัทไออาร์พีซีมีผลกระทบ กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร และมีแนวทางในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากการใช้งานน้ำ าโฟมดังกล่าวอย่างไร โดยใช้ วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์จากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ จากการศึกษา พบว่า อัคคีภัยที่เกิดขึ้นกับคลังน้ำมันและโรงงานอุตสาหกรรมไม่สมามารถใช้ระบบดับเพลิงด้วยน้ำ เพียงอย่างเดียวในการ ระงับเหตุเพลิงไหม้ได้และมีความจำเป็นต้องใช้สารละลายน้ำยาโฟมในการดับเพลิง แต่การใช้สารละลายน้ำยา โฟมดังกล่าวก็ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ซึ่งบริษัท ไออาร์พีร์ พีซี จำ กัด (มหาชน) ได้ให้ความสนใจเพื่อ ให้ชุมชนมีความมั่นใจในสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งน้ำยาโฟมดับเพลิงที่บริษัทไออาร์พีซีเก็บไว้ใช้สำหรับใน กรณีเณีกิดเหตุเพลิงไหม้ มีหลายชนิดด้วยกันที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง และมีข้อแนะนำ ให้ต้องมีอุปกรณ์ในระบบ ผสมโฟม (Foam Hardware) ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและน้ำยาโฟมดับเพลิงเข้มข้น ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืน
  • Thumbnail Image
    Item
    การปรับตัวของอุตสาหกรรมไก่เนื้อเพื่อการส่งออกของไทยต่อกฏหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป "สินค้าเกษตรที่มาจากพื้นที่ไม่บุกรุกป่า หรือ EU deforestaton free product (EUDR)"
    ภาสกร สาตร์พันธ์; พีรพล เจตโรจนานนท์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2023)
    การผลิตสินค้าปศุสัตว์ของประเทศไทยถือเป็นเป็นห่วงโซ่อุปทานที่มีความสำคัญ ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและมีผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้ห่วงโซ่การผลิตนี้เป็นจำนวนมาก ด้วยทิศทางของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม แห่งสหภาพยุโรป “สินค้าเกษตรที่มาจากพื้นที่ไม่บุกรุกป่า (EU deforestation free product (EUDR))” เปรียบเสมือนกฎกติกาทางการค้าในมุมมองใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต