สถานะทางกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

dc.contributor.advisorสุนทร มณีสวัสดิ์th
dc.contributor.authorพรหมภัสสร ภักดีเทศพิทักษ์th
dc.date.accessioned2022-01-31T07:00:25Z
dc.date.available2022-01-31T07:00:25Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractทรัพย์สินของแผ่นดินแบ่งออกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาและสาธารณสมบัติของ แผ่นดิน ความแตกต่างของทรัพย์สินทั้งสองประเภทนี้จะแตกต่างทั้งในด้านลักษณะของการใช้ ประโยชน์ในทรัพย์สิน การให้ความคุ้มครองในทรัพย์สินไม่ให้ตกไปเป็นของเอกชนเพื่อให้ทรัพย์สินนั้น ยังคงอยู่เพื่อประโยชน์มหาชน และการสิ้นสภาพทรัพย์สิน การศึกษาสถานะทางกฎหมายเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยมุ่งศึกษาว่าอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศ ไทยมีสถานะทางกฎหมายอย่างไร และมีลักษณะการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ตรงกับสถานะ ทางกฎหมายหรือไม่ อสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเป็นจำนวนมาก และมีการ นำไปใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป จึงอาจก่อให้เกิดความสับสนว่าทรัพย์สินดังกล่าวแท้จริงแล้วมีการ นำไปใช้เพื่อประโยชน์โดยตรงในการจัดทำบริการสาธารณะหรือไม่ และจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินประเภทใดไม่ว่าทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จากการศึกษา การใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย พบว่าอสังหาริมทรัพย์บางประเภท มีการนำมาใช้ประโยชน์โดยตรงในการจัดทำบริการสาธารณะ ส่งผลให้สถานะทางกฎหมายของ อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวตรงกับลักษณะการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน เช่น ที่ดินที่ตั้งสถานีรถไฟ ที่ดินที่ ใช้วางรางรถไฟ ที่ดินที่ตั้งบ้านพักนายสถานีรถไฟ เป็นต้น และพบว่าอสังหาริมทรัพย์บางประเภท เช่น ที่ดินที่การรถไฟแห่งประเทศไทยนำออกให้เอกชนเช่าในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น มีการนำมาใช้ประโยชน์ โดยอ้อมในการจัดทำบริการสาธารณะ ส่งผลให้สถานะทางกฎหมายของอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้มี สถานะทางกฎหมายไม่ตรงกันกับลักษณะการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ซึ่งควรมีการแก้ไขโดยทำการ ถอนสภาพสภาพทรัพย์สินจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (2) เพื่อให้สถานะทางกฎหมายของ ทรัพย์สินนั้นตรงกับประโยชน์ในการใช้ทรัพย์สินดังกล่าว ส่วนการคุ้มครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการศึกษา จากกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พระราชบัญญัติจัดวาง การรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ประมวล กฎหมายที่ดิน และประมวลกฎหมายอาญา โดยศึกษาว่ามีการให้ความคุ้มครองอสังหาริมทรัพย์ที่ ครอบคลุมแล้วหรือไม่อย่างไร เมื่ออสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นทรัพย์มหาชน และเป็นที่ดินของประเทศชาติจึงต้องพิจารณาถึงการคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของรัฐซึ่งเป็น ประโยชน์ของมหาชนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด พบว่า ยังมีการให้ความคุ้มครองอสังหาริมทรัพยของการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ครอบคลุม จึงควรที่จะหยิบยกบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดวาง การรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 6 มาพิจารณาใช้บังคับโดยแก้ไขเพิ่มเติมลงใน พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 13 โดยให้อสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟ แห่งประเทศไทย ได้รับการคุ้มครองทั้งในด้านการห้ามยกอายุความในอสังหาริมทรัพย์ขึ้นต่อสู้กับการ รถไฟแห่งประเทศไทย การห้ามมิให้เอกชนได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศ ไทย และการห้ามมิให้ยึดอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ส่วนการดูแลจัดการทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ได้ทำการศึกษาปัญหา เกี่ยวกับการนำอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยออกให้เช่า ว่าแท้จริงแล้วการรถไฟแห่ง ประเทศไทยมีอำนาจที่จะนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่าได้มากน้อยเพียงใด และเป็นการกระทำ ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 9 ประกอบ มาตรา 6 หรือไม่ แม้ขอบวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 9 (2) จะกำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถนำทรัพย์สินออกให้เช่าได้ แต่การกระทำ ดังกล่าวจะต้องนำมาซึ่งความเจริญของรถไฟไทยตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 6 (2) ด้วย ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำบริการสาธารณะของการรถไฟแห่งประเทศ ไทยย่อมต้องมุ่งเน้นไปทางด้านการบริการขนส่งสาธารณะทางราง ไม่ใช่การให้เช่าทรัพย์สินที่มีอยู่เป็นหลัก ดังนั้นแล้ว ที่ดินที่มีศักยภาพทางธุรกิจที่เหมาะแก่การคมนาคมขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า อันจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าแก่ประเทศและประชาชน การรถไฟแห่งประเทศไทยควรจะ นำที่ดินเหล่านั้นมาจัดทำบริการสาธารณะในกิจการเกี่ยวกับการเดินรถโดยตรงให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย และการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะยังคงเป็นการ กระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะต้องพิจารณาถึง วัตถุประสงค์ในการเช่าที่ดินว่าจะนำที่ดินไปใช้ในกิจการใดเพื่อประโยชน์ใด หากวัตถุประสงค์ในการ เช่าอสังหาริมทรัพย์มีลักษณะสอดคล้องเกื้อกูลหรือยังคงเกี่ยวข้องกับกิจการของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย ก็ถือว่าการเช่านั้นเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และควรพิจารณาถึงระยะเวลาในการให้เช่าว่าไม่ควรมีระยะเวลาที่ยาวนานเกินไป จนทำให้การรถไฟ แห่งประเทศไทยเสียประโยชน์จากการใช้ที่ดินเพื่อกิจการเกี่ยวกับการเดินรถไฟth
dc.format.extent235 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2015.9
dc.identifier.otherb193187th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5440th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สินth
dc.subject.otherอสังหาริมทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยth
dc.titleสถานะทางกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยth
dc.title.alternativeLegal status concerning the immovable estates of state railway of Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b193187.pdf
Size:
30.56 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
Collections