การวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF จังหวัดระยอง 

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorกาญจนาภรณ์ กระจ่างแจ้งth
dc.date.accessioned2023-01-16T10:18:47Z
dc.date.available2023-01-16T10:18:47Z
dc.date.issued2022th
dc.date.issuedBE2565th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2565th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF จังหวัดระยอง และเสนอรูปแบบการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF และการบริหารจัดการที่ยั่งยืนโดยใช้การประเมินประสิทธิผลและความยั่งยืน Sustainable Balance Scorecard (SBSC) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบการผลิตพลังงานไฟฟ้า การสัมภาษณ์ ผู้แทนจากโครงการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร จังหวัดระยอง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้แทนจาก บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนของโรงคัดแยกขยะแปลงเป็นเชื้อเพลิง Refuse Derived Fuel (RDF) โรงเผาขยะผลิตกระแสไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตำบลน้ำคอก ตำบลทับมา ตำบลมาบข่า และตำบลหนองตะพาน รวมถึงผู้นำชุมชนและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามประชาชนจำนวน 385 คน โดยศึกษาบริเวณ 5 กิโลเมตรจากพื้นที่ตั้งของศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร    จากผลการศึกษา การดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF ก่อนการก่อสร้างจนถึงปัจจุบันผ่านการวิเคราะห์ใน 6 มิติ ได้แก่ มิติประสิทธิผล มิติผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มิติการบริหารการจัดการ มิติการเรียนรู้และพัฒนา มิติสังคม และ มิติสิ่งแวดล้อม นําข้อมูลที่รวบรวมได้ถอดบทเรียนในการบริหารจัดการขยะครบวงจรแห่งแรกในระยอง ที่นำมาสู่การต่อยอดและแก้ไขปัญหาขยะของชุมชน ที่สามารถลดพื้นที่ฝังกลบขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย 1) การร่วมมือกับภาคเอกชนในการบริหารจัดการองค์ความรู้เฉพาะด้าน ขับเคลื่อนโครงการมีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้ 2) การมีกฎหมายที่อำนวยเอื้อต่อการกำจัดขยะให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน 3) การมีศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นต้นแบบการเรียนรู้จากพื้นที่การทำงานจริงแสดงแหล่งเรียนรู้ที่ควบคู่กับการประกอบกิจการได้อย่างยั่งยืน 4) การมีเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะและการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ทันสมัย 5) การจ้างงานคนในพื้นที่เป็นการเสริมสร้างด้านการสร้างโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าขยะ RDF โดยข้อเสนอแนะ 1) การสื่อสารและการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากกว่าเพียงผู้นำชุมชน 2) การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ชัดเจนครอบคลุม 3) การจัดการความปลอดภัยควรมีมาตรฐานสากลทั้งนี้เพื่อการประกอบกิจการที่มีประสิทธิภาพth
dc.format.extent200 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb214769th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6168th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการประเมินประสิทธิผลและความยั่งยืน (SBSC)th
dc.subjectโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ RDFth
dc.subjectปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherโรงไฟฟ้า -- แง่สิ่งแวดล้อมth
dc.subject.otherขยะมูลฝอย -- การจัดการ -- ไทย -- ระยองth
dc.titleการวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะ RDF จังหวัดระยอง th
dc.title.alternativeAnalysis of the succedd achievement of the RDF waste to energy power plant in Rayong Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b214769.pdf
Size:
4.13 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections