การนับอายุความร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้ กรณีผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ

dc.contributor.advisorวราภรณ์ วนาพิทักษ์th
dc.contributor.authorรังสิมา ดาราพงษ์th
dc.date.accessioned2018-07-18T09:22:53Z
dc.date.available2018-07-18T09:22:53Z
dc.date.issued2017th
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เล่มนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเรื่องการนับอายุความร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้ กรณีผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดอันยอมความได้ ทั้งในเรื่องการร้องทุกข์ การฟ้องร้องดำเนินคดี อายุความ และการนับอายุความกรณีผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จากผลการศึกษาพบว่า การนับอายุความร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้ อายุความ 3 เดือน เริ่มนับเมื่อผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ดังนั้น ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดทุกคนจะต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องคดีด้วยตนเองให้ทันภายในระยะเวลา 3 เดือน มิฉะนั้นจะหมดสิทธิที่จะดำเนินคดีทางอาญาเอากับผู้กระทำความผิดได้อีก ปัญหาจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทำความผิดกับผู้เสียหายที่เป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งบุคคลดังกล่าวอาจเกรงกลัวไม่กล้าบอกผู้ใดเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการร้องทุกข์ หรือไม่สามารถไปร้องทุกข์ด้วยปัญหาจากสภาพร่างกายหรือจิตใจ ทำให้ไม่สามารถร้องทุกข์ได้ทันในกำหนดอายุความ และส่งผลผู้กระทำความผิดรอดพ้นจากการดำเนินคดีไปได้โดยง่าย แม้กฎหมายของประเทศไทยจะมีการคุ้มครองบุคคลผู้หย่อนความสามารถไว้โดยให้ผู้มีอำนาจจัดการแทน คือ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล และผู้แทนเฉพาะคดี ของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนวิกลจริต ให้สามารถร้องทุกข์หรือดำเนินคดีอาญาแทนได้ แต่ก็ไม่มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการนับอายุความไว้ในกรณีดังกล่าวไว้ชัดเจน การนับอายุความโดยทั่วไปจะนับจากวันที่ผู้เสียหายคือบุคคลผู้หย่อนความสามารถนั้นรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำความผิด มีเพียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20603/2556 ที่มีการตัดสินให้เริ่มนับอายุความเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมทราบ โดยถือเสมือนว่าผู้เสียหายรู้ความผิดจากการบอกกล่าวของผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น  ต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และญี่ปุ่น ซึ่งได้มีการบัญญัติไว้ชัดเจนเรื่องอายุความของบุคคลผู้หย่อนความสามารถไว้ให้แตกต่างจากบุคคลทั่วไปซึ่งมีความสามารถเต็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่น ซึ่งมีกฎหมายที่มีแนวคิดเดียวกันกับความผิดอันยอมความได้กำหนดให้การนับระยะเวลาซึ่งต้องร้องทุกข์เริ่มนับแต่ผู้แทนตามกฎหมายของบุคคลผู้หย่อนความสามารถรู้การกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด โดยผู้แทนตามกฎหมาย คือผู้แทนตามกฎหมายทุกประเภทที่มีอำนาจในการปกครองดูแลบุคคลผู้หย่อนความสามารถ การบัญญัติกฎหมายในเรื่องการนับอายุความร้องทุกข์ของต่างประเทศจึงความชัดเจนกว่าของประเทศไทยและสามารถคุ้มครองบุคคลผู้หย่อนความสามารถได้ทุกประเภท ดังนั้น วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงได้เสนอแนะให้ปรับปรุงกฎหมายให้มีความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคคลผู้หย่อนความสามารถให้มากกว่าบุคคลที่มีความสามารถเต็ม โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 โดยเพิ่มเติมวรรคสอง ให้ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ ให้อายุความร้องทุกข์เริ่มนับเมื่อผู้มีอำนาจจัดแทนผู้เสียหายรู้การกระทำและรู้ตัวผู้กระทำความผิด และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) และมาตรา 6 โดยเพิ่มเติมให้ผู้มีอำนาจจัดการแทนรวมถึงผู้พิทักษ์ของคนเสมือนไร้ความสามารถซึ่งมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ และผู้แทนเฉพาะคดีของบุคคลซึ่งมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบซึ่งไม่มีผู้พิทักษ์ หรือซึ่งผู้พิทักษ์ไม่สามารถทำหน้าที่โดยเหตุใดเหตุหนึ่ง รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสมือนไร้ความสามารถที่มีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบด้วย เพื่อให้มีการคุ้มครองบุคคลผู้หย่อนความสามารถทุกประเภทth
dc.description.abstractThis Thesis is prepared for the purpose of study of the problems on counting prescription for making complaints in the compoundable offenses in the case where the injured persons are the persons with lack of ability. The Researcher has studied concepts, theories, and legal principles in relation to the compoundable offenses, namely, making complaints, filing legal proceedings, conducting legal proceedings, prescription, and counting the prescription in the case where the injured persons are the persons with lack of ability in Thailand and foreign countries, namely the United States of America, Germany, and Japan for the purpose of analyzing, comparing, and leading to revise laws of Thailand to be more appropriate and justified. According to the results of the Study, the prescription counting in the compoundable offenses is for a period of 3 months, which shall commence as from the date on which the injured persons have known the offenses and the offenders. As a result, every injured person shall have made the complaint or entered the action within a period of 3 months; or else, he/she shall lose his/her right to conduct criminal proceedings against the offenders further. The problems occurring upon commission of offenses against the persons with lack of ability, namely, minor, incompetent person, and quasi-incompetent person, who may be afraid of notifying and dare not to notify any person of the offenses or may not have knowledge and understanding about making the complaint or cannot make the complaint as a result of the problems on physical or mental conditions causing inability to make the compliant in time within the period of prescription, resulting in the fact that the offenders are easily free from the action entry. Even though laws of Thailand protect the persons with lack of abilities by providing the persons having power to take action on their behalf, namely, legal representative, guardian, and representative ad litem of the minor, incompetent person, and person of unsound mind to be able to make the compliant and conduct criminal  proceedings in lieu of them. However, there were no clear provision of laws on counting prescription in such case. General prescription counting shall commence as from the date on which the injured person is the person with lack of ability has known the offenses and offenders. There shall be only the Supreme Court Judgment No.2060/2556 deciding that the prescription counting shall commence on the date on which legal representative has known thereof as if the injured person has known the offense from notification given by such legal representative, which was different from the United States of America, Germany, and Japan which clearly provide the prescription for the persons with lack of ability as different from full competent persons, in particular Germany and Japan, having laws with the same concepts as the compoundable offenses, providing that the prescription for making the complaint shall be counted as from the date on which the representatives under law know the offenses and know the offenders, whereby the representatives under law are all categories of the representatives under law having the power to guard and take care of the persons with lack of ability. The provision of laws on counting prescription of making the complaints in the foreign countries are clearer than those in Thailand and can protect the persons with lack of ability of all kinds. Thus, this Thesis proposes revising laws to be fair and to protect the persons with lack of ability more than full competent persons by revising the provisions contained in Section 96 of the Penal Code by adding paragraph two, that is, the injured persons are the persons with lack of ability whose prescription for making the complaints shall be counted as from the date on which the persons having the power to take action on their behalf know the offenses and know the offenders; and revising the provisions contained in Section 5(1) and Section 6 of the Criminal Procedure Code by adding that the persons having the power to take action on their behalf are inclusive of the curator of the quasi-incompetent persons, with infirmity in body or imbecile and the representative ad litem of the persons, with infirmity in body or imbecile  who have no any curator or whose curators are unable to perform their duties for any reason and have the conflict of interest against the quasi-incompetent persons, with infirmity in body or imbecile so as to protect every category of persons with lack of ability.th
dc.format.extent113 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb199703th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3768th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectความผิด (กฎหมาย)th
dc.subjectผู้หย่อนความสามารถth
dc.subjectการนับอายุความร้องทุกข์th
dc.titleการนับอายุความร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้ กรณีผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถth
dc.title.alternativeCounting the persciption for marking a complaint in the compoundable offense in the case of injured person is the lack of abilityth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b199703e.pdf
Size:
1.76 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections