การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุขององค์ประกอบคุณภาพ ภาพลักษณ์ และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลอาหารถิ่นในเขตปริมณฑล
Publisher
Issued Date
2023
Issued Date (B.E.)
2566
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
436 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b216633
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กรัณย์ วรวิทย์วรรณ (2023). การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุขององค์ประกอบคุณภาพ ภาพลักษณ์ และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลอาหารถิ่นในเขตปริมณฑล. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6708.
Title
การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุขององค์ประกอบคุณภาพ ภาพลักษณ์ และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลอาหารถิ่นในเขตปริมณฑล
Alternative Title(s)
The structural equation model of causal factors affecting on loyalty perceived quality, image and participants' satisfaction of local food festival in metropolitan area
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพของงานเทศกาล ภาพลักษณ์ ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลอาหารถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพ ภาพลักษณ์ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงาน และความภักดีของผู้เข้าร่วมงาน 3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุขององค์ประกอบคุณภาพ ภาพลักษณ์ และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลอาหารถิ่นในเขตปริมณฑล 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดงานเทศกาลอาหารถิ่น จากมุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดงานเทศกาลอาหารถิ่น
การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 480 ตัวอย่าง พบว่าการรับรู้ภาพลักษณ์ของงานเทศกาล และการรับรู้ความพึงพอใจของผู้เข้ารวมงานเทศกาลอยู่ในระดับการรับรู้มาก ส่วนการรับรู้คุณภาพของงานเทศกาลอยู่ในระดับการรับรู้มากที่สุด ส่วนการทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างและการทดสอบสมมติฐานพบว่าทั้งหมดมีความสัมพันธ์เชิงบวก
ส่วนผลการศึกษาทางด้านอิทธิพล และการพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่าคุณภาพของงานเทศกาล และภาพลักษณ์ของงานเทศกาล มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานเทศกาล (DE=0.650* และ 0.282* ตามลำดับ) และพบว่าคุณภาพของงานเทศกาล ภาพลักษณ์ของงานเทศกาล และความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานเทศกาล ต่างมีอิทธิพลทางตรงต่อความภักดีต่องานเทศกาลของผู้เข้าร่วมงาน (DE=0.346*, 0.238* และ 0.345* ตามลำดับ)
คุณภาพของงานเทศกาล และภาพลักษณ์ของงานเทศกาล ต่างมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความภักดีต่องานเทศกาลของผู้เข้าร่วมงานผ่านตัวแปรส่งผ่านความพึงพอใจของผู้เข้ารวมงานเทศกาล (IE=0.224 และ 0.097 ตามลำดับ)
คุณภาพของงานเทศกาลมีอิทธิพลโดยรวมต่อความพึงพอใจ และความภักดีของผู้เข้าร่วมงานเทศกาล (β = 0.650 (DE = 0.650); p < 0.05) และ (β = 0.650 (DE = 0.346 + IE = 0.224); p < 0.05) ภาพลักษณ์ของงานเทศกาลมีอิทธิพลโดยรวมต่อความพึงพอใจ และความภักดีของผู้เข้าร่วมงาน (β = 0.282 (DE = 0.282); p < 0.05) และ (β = 0.282 (DE = 0.238 + IE = 0.097); p < 0.05) ส่วนความพึงพอใจของผู้เข้ารวมงานเทศกาลมีอิทธิพลโดยรวมต่อความภักดีของผู้เข้าร่วมงาน (β = 0.345 (DE = 0.345); p < 0.05) และโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
หลังจากได้ข้อสรุปเรื่องผลการศึกษาเชิงปริมาณแล้ว ได้มีการนำมาวิเคราะห์ร่วมกับการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดงานเทศกาลอาหารถิ่น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) แนวทางการพัฒนาศักยภาพและยกระดับคุณภาพของงานเทศกาลอาหารถิ่นให้มีคุณภาพ 2) แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับของสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก 3) แนวทางการบูรณาการการจัดงานเทศกาลอาหารถิ่นโดยสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 4) แนวทางการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์งานเทศกาลอาหารถิ่น โดยแนวทางดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ผู้จัดงานสามารถยกระดับคุณภาพ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความพึงพอใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน และสามารถสร้างความภักดี เพื่อให้เข้าร่วมงานซ้ำแก่ผู้เข้าร่วมงานได้ในอนาคต
การวิจัยครั้งนี้สามารถนำผลการศึกษาไปต่อยอดเพื่อสนับสนุนการจัดงานเทศกาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเตรียมความพร้อมที่ดีสำหรับการจัดงานเทศกาลในครั้งถัดไป
The objectives of this study were 1) to examine the perception of Thai participants on festival quality, festival image, and satisfaction with local food festivals, 2) to study the factors of quality and festivals image that affected participants' satisfaction and loyalty, 3) to develop and examine the casual relationship model of determinants that affected participants' loyalty based on festival quality, festival image, and participants’ satisfaction with local food festivals in the metropolitan area, and 4) to study the development guidelines for local food festivals from local food festival stakeholders' viewpoints. Quantitative and qualitative (Mixed Method) approaches were applied to analyze 480 Thai participants. The finding indicates that participants' satisfaction and festival image were relatively high, and festival quality was very high. The structural model and hypothesis testing were performed 6 hypotheses were confirmed with positive relationship. Festival quality and festival image had a direct effect on the participants' satisfaction (DE=0.650* and 0.282* respectively) was statistically significant at 0.05 level. Festival quality, festival image and participants' satisfaction had a direct effect on the participants’ loyalty (DE=0.346*, 0.238* and 0.345* respectively) was statistically significant at 0.05. Festival quality and festival image had an indirect effect on participants’ loyalty through the variable of participants' satisfaction (IE=0.224 and 0.097 respectively). The effect of festival quality on participants' satisfaction and participants’ loyalty was found to the significant (β = 0.650 (DE = 0.650); p < 0.05) and (β = 0.650 (DE = 0.346 + IE = 0.224); p < 0.05). Festival image had a total effect on participants' satisfaction and participants’ loyalty (β = 0.282 (DE = 0.282); p < 0.05) and (β = 0.282 (DE = 0.238 + IE = 0.097); p < 0.05). Likewise, Participants' satisfaction had a total effect on participants’ loyalty (β = 0.345 (DE = 0.345); p < 0.05) and the model was fit with empirical data. Qualitative analysis was employed to investigate local food festival recommendations which can be divided into 4 components; 1) increasing the potential and quality of local food festivals, 2) upgrading the locations and facilities ability reach the participants' need, 3) integrating local food festivals by cooperating with network partners, and 4) providing public relations to promote local food festivals. The findings of this research can be applied to further study for supporting food festival events in the future and can be adapted to prepare better the upcoming festival.
The objectives of this study were 1) to examine the perception of Thai participants on festival quality, festival image, and satisfaction with local food festivals, 2) to study the factors of quality and festivals image that affected participants' satisfaction and loyalty, 3) to develop and examine the casual relationship model of determinants that affected participants' loyalty based on festival quality, festival image, and participants’ satisfaction with local food festivals in the metropolitan area, and 4) to study the development guidelines for local food festivals from local food festival stakeholders' viewpoints. Quantitative and qualitative (Mixed Method) approaches were applied to analyze 480 Thai participants. The finding indicates that participants' satisfaction and festival image were relatively high, and festival quality was very high. The structural model and hypothesis testing were performed 6 hypotheses were confirmed with positive relationship. Festival quality and festival image had a direct effect on the participants' satisfaction (DE=0.650* and 0.282* respectively) was statistically significant at 0.05 level. Festival quality, festival image and participants' satisfaction had a direct effect on the participants’ loyalty (DE=0.346*, 0.238* and 0.345* respectively) was statistically significant at 0.05. Festival quality and festival image had an indirect effect on participants’ loyalty through the variable of participants' satisfaction (IE=0.224 and 0.097 respectively). The effect of festival quality on participants' satisfaction and participants’ loyalty was found to the significant (β = 0.650 (DE = 0.650); p < 0.05) and (β = 0.650 (DE = 0.346 + IE = 0.224); p < 0.05). Festival image had a total effect on participants' satisfaction and participants’ loyalty (β = 0.282 (DE = 0.282); p < 0.05) and (β = 0.282 (DE = 0.238 + IE = 0.097); p < 0.05). Likewise, Participants' satisfaction had a total effect on participants’ loyalty (β = 0.345 (DE = 0.345); p < 0.05) and the model was fit with empirical data. Qualitative analysis was employed to investigate local food festival recommendations which can be divided into 4 components; 1) increasing the potential and quality of local food festivals, 2) upgrading the locations and facilities ability reach the participants' need, 3) integrating local food festivals by cooperating with network partners, and 4) providing public relations to promote local food festivals. The findings of this research can be applied to further study for supporting food festival events in the future and can be adapted to prepare better the upcoming festival.