ฮิวริสติกส์สำหรับการจัดตารางเวลาสอบ : กรณีศึกษาคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

dc.contributor.advisorสุดา ตระการเถลิงศักดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorอรอนงค์ ดอกจันรีth
dc.date.accessioned2014-05-05T08:55:22Z
dc.date.available2014-05-05T08:55:22Z
dc.date.issued2008th
dc.date.issuedBE2551th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2008th
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการ พัฒนาฮิวริสติกส์ในการแก้ปัญหาการจัดตารางเวลาสอบ โดย พิจารณาเงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่เงื่อนไขหลักและเงื่อนไขรอง เงื่อนไขหลักเป็นเงื่อนไขที่มีความ จําเป็นต้องปฏิบัติตามให้ได้ตามเงื่อนไขนี้ในขณะที่ เงื่อนไขรองเป็นเงื่อนไขที่มีความต้องการจะทํา ตามเงื่อนไขให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้เงื่อนไขหลัก 2 ประการคือไม่มีนักศึกษาคนใดต้องสอบ มากกว่าหนึ่งวิชาในคาบเวลาสอบเดียวกันและนักศึกษาภาคพิเศษ (Special program) ต้องสอบใน คาบเวลาที่กําหนดไว้เท่านั้น เงื่อนไขรองคือการจัดตารางเวลาสอบให้ระยะห่างระหว่างคาบการ สอบของนักศึกษาอยู่ห่างกันมากที่สุด วิธีฮิวริสติกที่นําเสนอสําหรับปัญหาการจัดตารางเวลาสอบ 3 วิธีซึ่งเป็นการผสมผสาน วิธีการจัดกลุ่มวิชาและวิธีการจัดวางกลุ่มวิชาในคาบเวลาสอบ คือ 1) วิธีจัดกลุ่มและจัดวางแบบสุ่ม (Random selection with random assignment) 2) วิธีดัชนีความคล้ายคลึงวางแบบสุ่ม (Similarity index method with random assignment) 3) วิธีดัชนีความคล้ายคลึงวางหน้า-หลัง (Similarity index method with start-end point assignment) การทดสอบการใช้งานและประสิทธิผลของวิธีการจัดตารางเวลาสอบทั้ง 3 วิธีนี้ได้จําลอง ตัวอย่างปัญหาขึ้นมา 10 ปัญหา ที่มีความหนาแน่นของจํานวนวิชาที่ต้องจัดและจํานวนสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของฮิวริสติกส์ 3 วิธีพบว่าวิธีที่ 3 มีประสิทธิภาพสูง กว่าวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นได้มีการทดสอบการใช้งานและ ประสิทธิผลของวิธีการจัดตารางเวลาสอบทั้ง 3 วิธีนี้โดยใช้ข้อมูลของคณะสถิติประยุกต์สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์จํานวน 2 ภาคการศึกษาเป็นกรณีศึกษา พบว่า ฮิวริสติกส์ทั้ง 3 วิธี สามารถจัดตารางเวลาสอบได้ การทดสอบความเป็นไปได้ในการจัดตารางเวลาสอบตามเงื่อนไขหลักโดยใช้ตัวแบบ คณิตศาสตร์พีมีเดียนนั้นจากการทดสอบกับตัวอย่างปัญหาที่สร้างขึ้นพบว่าตัวแบบ คณิตศาสตร์พีมีเดียนสามารถบอกได้ว่าปัญหาที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถจัดตารางเวลาสอบได้ตาม เงื่อนไขหลักซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานในการจัดตารางเวลาสอบและใช้เวลาในการประมวลผลเพียง เล็กน้อยนอกจากนี้ฮิวริสตกส์ที่นําเสนอสามารถนำไปประยุกต์กับการจัดตารางเวลาสอบของ สถานศึกษาอันที่มีการเรียนการสอนลักษณะเดียวกันได้th
dc.format.extent86 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/525th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectตารางสอบth
dc.subjectฮิวริสติกส์th
dc.subjectการจัดการสอบth
dc.subjectการจัดตารางสอบth
dc.subjectสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. คณะสถิติประยุกต์ -- การสอบth
dc.subject.lccLB 2366 อ17 2008th
dc.subject.otherการสอบth
dc.titleฮิวริสติกส์สำหรับการจัดตารางเวลาสอบ : กรณีศึกษาคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.title.alternativeHeuristics for examination timetabling : case study school of applied statistics, National Institute of Development Administrationth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะสถิติประยุกต์th
thesis.degree.disciplineสถิติประยุกต์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์)th
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b158744.pdf
Size:
9 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections