พัฒนาการและบทบาททางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทย

dc.contributor.advisorอัญชนา ณ ระนองth
dc.contributor.authorสิทธิโชค ลางคุลานนท์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:38Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:38Z
dc.date.issued2009th
dc.date.issuedBE2552th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์และขอบเขตเพื่อศึกษาถึงพัฒนาการ บทบาททางการเมือง และผลกระทบ ทางการเมืองจากกลุ่มธุรกิจการเมือง ที่มีต่อ พรรคการเมือง รัฐสภา นโยบาย สาธารณะ และโครงการต่างๆ ของรัฐ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีทางด้านสังคมและการเมือง รวมทั้งด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล จาก เอกสาร วิชาการ บทความ ตำรา หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจการเมือง และนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบจากแต่ละแหล่งข้อมูล จากนั้นจึงทำการศึกษาตามประเด็นที่ได้ กำหนดไว้ และนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเด็นเหล่านั้นเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการ บทบาท ทางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมือง ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็น ภาพรวมของกลุ่มธุรกิจการเมืองภายในประเทศ ผลการศึกษากลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทย พบว่า กลุ่มธุรกิจการเมืองเกิด ขึ้นใน ประเทศไทย ด้วยเหตุผลทางโครงสร้าง และความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างอำนาจทางการเมือง และอำนาจทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยชนชั้นนำทางการเมือง และชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ ซึ่งทั้ง สองกลุ่มมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ดี ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นปัจจัยหรือช่องทางที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจ เข้ามาเป็นมีบทบาททางการเมืองด้วยตนเอง มากยิ่งขึ้น ผ่านระบบพรรคการเมือง กลุ่มนักธุรกิจกลายมาเป็นนักการเมือง สามารถใช้อำนาจทาง การเมือง ผลักดันนโยบายสาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจ ส่งผลทำให้ เศรษฐกิจ ของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อีกด้านหนึ่งทำให้ยิ่งมีการแสวงหาประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจ การเมืองด้วยเช่นกัน ทำให้นโยบายหลายนโยบายตอบสนองหรือให้ประโยชน์แก่กลุ่มธุรกิจ วิกฤตเศรษฐกิจในปี พ. 2540 และรัฐธรรมนูญ 2540 ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสการเข้ามามี ส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมืองที่นำโดยกลุ่มทุนสื่อสารโทรคมนาคม นั่นคือ การ เกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทย พรรคไทยรักไทยได้นำเสนอแนวคิดนโยบายที่ทันสมัย นำแนวคิด ทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้ส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบราชการให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล มากขึ้น อันเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันนโยบายสาธารณะให้ประสบผลส าเร็จ แต่ปรากฏว่า นโยบายหลายนโยบายมีการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจของพวกพ้อง มีการออกกฎหมาย และ ระเบียบต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจของกลุ่มได้รับผลประโยชน์ และเป็นไปในลักษณะผูกขาด สะท้อนให้ เห็นถึงการมีการทับซ้อนกันระหว่างผลประโยชน์ของตนกับผลประโยชน์ของส่วนรวม(Conflict of Interest) อีกทั้งยังพบว่า มีการเข้าแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบทั้งในสภาผู้แทนราษฎร องค์กรอิสระ และจากสื่อสารมวลชนอีกด้วย การมีบทบาทของกลุ่มธุรกิจการเมือง ได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางการเมืองทั้งในด้านบวก และลบ หากกลุ่มธุรกิจการเมืองเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยสำนึกในสถานะของตนว่า เข้ามา เพื่อจะนำความรู้ความสามารถ หรือนำเสนอแนวคิด นโยบายที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนา ประเทศ ย่อมเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ แต่หากใช้บทบาท หรืออำนาจเพื่อแสวงหาความมั่ง คั่งทางเศรษฐกิจให้กับตนและพวกพ้อง โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ย่อมจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล การป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบ ทั้งในด้านผลประโยชน์ทับซ้อน และการ แทรกแซงกระบวนการตรวจสอบ จำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความร่วมมือ ซึ่งในที่นี้ได้เสนอแนะ แนวทางทั้งมาตรการด้านการตรวจสอบ การบังคับใช้กฎหมาย และบทบาทภาครัฐ อาทิ การใช้ อำนาจในกรอบของกฎหมาย นิติรัฐ และนิติธรรม การสนับสนุนมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ใน สังคม การปรับปรุงและการบังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน การจัดตั้ง และการสนับสนุนงบประมาณให้กับองค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งมาตรการทางสังคม และจิตส านึก อาทิ รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของประชาธิปไตย และสิทธิหน้าที่ที่แท้จริง ร่วมกันทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลสิทธิประโยชน์ของพวกเขาได้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ ต่อเมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตื่นตัวทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น สร้าง ค่านิยมของประชาชน และสังคมในความเสมอภาค ประชาชน นักวิชาการ สื่อสารมวลชน ต้อง ร่วมกันศึกษาทำความเข้าใจ และเผยแพร่ความรู้ระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อน เพื่อให้รู้เท่าทันนักธุรกิจการเมือง และร่วมกันทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตอย่างมี ประสิทธิภาพ และมีความเป็นกลางth
dc.format.extent312 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2009.5th
dc.identifier.otherb166703th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1169th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectธุรกิจการเมืองth
dc.subjectการพัฒนาทางการเมืองth
dc.subject.otherธุรกิจกับการเมือง -- ไทยth
dc.subject.otherไทย -- การเมืองและการปกครองth
dc.titleพัฒนาการและบทบาททางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทยth
dc.title.alternativeThe development and political role of political business group in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b166703.pdf
Size:
46.49 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections