การศึกษาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

dc.contributor.advisorถนัด แก้วเจริญไพศาลth
dc.contributor.authorเพ็ญพล สังข์แก้วth
dc.date.accessioned2019-01-29T07:22:37Z
dc.date.available2019-01-29T07:22:37Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รอ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการศึกษาการจัดการห่วงโซ่คุณค่า ไม้ผล อําเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล (สตรอเบอรี่ อะโวคาโด มะคาเดเมีย) และศึกษาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล เพื่อเสนอแนวทางการ พัฒนาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล อําเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ จัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผลth
dc.description.abstractผลการศึกษา ในระดับต้นน้ำนั้น การจัดหาปัจจัยการผลิตพบว่า เกษตรกรขาดเงินทุน ขาด แคลนน้ำขาดประสิทธิภาพเรื่องการขนส่ง จํานวนพันธุ์ไม้ยังไม่เพียงพอ ต้นทุนปัจจัยการผลิตมีราคา สูงขึ้น สําหรับ ระดับกลางน้ำ เกษตรกรมีปัญหาเรื่องพื้นที่เพาะปลูกยังไม่ได้นําหลักทฤษฎีใหม่มาใช้ เพราะขาดความรู้ความเข้าใจและเงินทุนในการซื้อ ต้นกล้าจากเชียงใหม่หรือเพาะต้นกล้าเอง สําหรับ การปลูกอะโวคาโดและมะคาเดเมียในช่วงต้นเดือนมิถุนายน พบว่า พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ขาดแหล่งน้ำ และการจัดสรรพื้นที่ยังไม่เหมาะสมตามหลักทฤษฎีใหม่ ด้านการเพาะปลูกเกษตรกรใช้มูลสัตว์รองกัน หลุมในการปลูกพืช และยังซื้อพันธุ์จากศูนย์วิจัยเกษตรมาเพาะต้นกล้าด้วยตนเอง เกษตรกรที่ปลูกไม้ ผลทั้งสามชนิดยังทําการเกษตรแบบใช้สารเคมี ปัญหาคือเกษตรกร ไม่ได้ทําผลิตภัณฑ์แปรรูปอะโวคา โคและสตรอเบอรี่ แต่มเกษตรกรบางรายได้ทําการแปรรูปเมล็ดมะคาเดเมียด้วยวิธีการบรรจุถุง สุญญากาศเพื่อจําหน่าย สําหรับปัญหาและอุปสรรคคือขาดความรู้ด้านการผลิตไม้ผลเกษตรอินทรีย์ใน ส่วนของระดับปลายน้ำ เกษตรกรนิยมเก็บผลไม้สตขายให้แก่ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกที่ไร่ เช่น เกษตรกร เปิดให้นักท่องเที่ยวซื้อสตรอเบอรี่ได้ที่ไร่ของตนเอง โดยแหล่งตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไม้ผลเป้าหมาย คือ ตลาดในอําเภอเขาค้อเพราะเป็นเมืองท่องเที่ยว และผลผลิตจะออกมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ในด้าน การตลาด รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการทําเกษตรอินทรีย์ แต่เกษตรกรยังขาดการสนับสนุนแหล่งแปรth
dc.description.abstractรูป การบรรจุหีบห่อ การส่งออก การตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่ม แนวทางการพัฒนาการจัดการห่วงโซ่ คุณค่าไม้ผล อําเภอเขาค้อ ได้ข้อเสนอ 3 ข้อดังนี้ 1) ให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องแก่เกษตรกร เกี่ยวกับการจัดการการผลิตเกษตรไม้ผลอินทรีย์ การจัดการตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มและการแปรรูป ผลผลิตและช่วยจัดหาพันธุ์ให้ 2) การพัฒนาและควบคุมคุณภาพการผลิตให้ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์และ 3) จัดสรรที่ดินในรูปแบบนิคมเกษตรไม้ผลอินทรีย์และมีโมเดลที่เป็นเอกลักษณ์ตามหลักทฤษฎีใหม่th
dc.format.extent155 เเผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb196940th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4129th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectห่วงโซ่แห่งคุณค่าth
dc.subject.otherการจัดการห่วงโซ่th
dc.titleการศึกษาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์th
dc.title.alternativeManagement on chain value of fruit: the case of Khao Kho district Phetchabun provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b196940.pdf
Size:
2.09 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections