ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน จากการทำเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาสามพรานโมเดล

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorนิติกร พงษ์ไพบูลย์th
dc.date.accessioned2018-07-18T09:33:18Z
dc.date.available2018-07-18T09:33:18Z
dc.date.issued2017th
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากการทำเกษตรอินทรีย์ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ และเสนอแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ โดยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลการดำเนินการโครงการสามพรานโมเดล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยสัมภาษณ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ จำนวน 32 คน คือ กรรมการผู้จัดการโรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ (1 คน) ตัวแทนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกในโครงการ (11 คน) และผู้บริโภค (20 คน) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจับกลุ่มประเด็นเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากการทำเกษตรอินทรีย์ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยและเสนอแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่าตัวแทนกลุ่มเกษตรกรที่สามารถนำข้อมูลมาคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนได้มีทั้งหมด 9 กลุ่ม จาก 11 กลุ่ม โดยมีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในภาพรวมคิดเป็น 1.45 แสดงว่าทุก ๆ การลงทุน 1 บาท ส่งผลลัพธ์ทางสังคมมูลค่า 1.45 บาท เช่น การเกิดเครือข่ายของผู้ประกอบการ ผู้บริโภค หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา และกลุ่มเกษตรกร ในผลลัพธ์ด้านสังคมได้ความรู้เรื่องวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว การขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การทำน้ำหมัก และทำปุ๋ย ด้านเศรษฐกิจ คือ เกษตรกรสามารถกำหนดราคาขายที่เป็นธรรมให้กับตนเองแต่อยู่ในเกณฑ์ราคาขายของตลาดอินทรีย์และเกษตรกรคนอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิก และด้านสิ่งแวดล้อม คือ จากการที่เกษตรกรไม่มีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรก็ช่วยฟื้นฟูคุณภาพดินและสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น มีการหมุนเวียนทรัพยากรในท้องถิ่นและในพื้นที่ของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นำเศษอาหารจากร้านค้าในหมู่บ้านมาเลี้ยงหมู มูลหมูที่ได้นำมาหมักทำปุ๋ยเพื่อใช้ในแปลงเกษตรต่อไป ปัจจัยที่ส่งผลให้การทำเกษตรอินทรีย์ประสบความสำเร็จปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของตลาดรองรับผลผลิตอินทรีย์ เพราะถ้าไม่มีตลาดรองรับเกษตรกรก็ไม่ทราบว่าจะนำผลผลิตอินทรีย์ที่ได้ไปจำหน่ายที่ไหน ถ้าจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางก็จะโดนตัดราคาเพราะรูปลักษณ์ของผลผลิตอินทรีย์ที่ไม่สวยงามเหมือนผลผลิตจากการทำเกษตรทั่วไป รองลงมาเป็นเรื่องของผลผลิตที่ต้องมีการวางแผนการผลิตให้ต่อเนื่อง ผลผลิตมีความหลากหลาย และรักษาคุณภาพผลผลิต และผู้บริโภคสนับสนุนผลผลิตและเข้าใจเกษตรกร รองลงมาเป็นเรื่องของใจ เกษตรกรต้องมีใจรักในการทำเกษตรอินทรีย์ เพราะต้องมีความอดทนและเข้มแข็ง และเรื่องกระบวนการกลุ่ม และต่อมาเป็นเรื่องของสุขภาพที่เกษตรกรบางรายมีปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร เรื่องราคาผลผลิตที่ดีกว่าราคาผลผลิตเกษตรทั่วไป ทำให้เกษตรกรมีกำลังใจในการผลิตผลผลิตออกมาสู่ตลาด และเรื่ององค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มาช่วยสนับสนุนเกษตรกร นอกจากนี้มีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความซื่อสัตย์ของเกษตรกรในการไม่ใช้สารเคมี และพื้นที่เหมาะสมในการทำเกษตรอินทรีย์ แนวทางที่จะทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จนั้น เกษตรกรต้องมีการสร้างกระบวนการกลุ่มที่เข้มแข็ง และมีองค์ความรู้ มีการวางแผนการบริหารจัดการที่ชัดเจน ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกลุ่มอย่างเคร่งครัด รักษาคุณภาพของผลผลิตและมีผลผลิตป้อนสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง สร้างโอกาสทางตลาด มีการหมุนเวียนทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อลดต้นทุนการผลิต มีการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการสนับสนุนอย่างจริงจังและตรงจุด และสถาบันการศึกษา เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรth
dc.description.abstractThis study aims to assess the Social Return on Investment from organic agriculture, a case study of Sampran Model, to study factors affecting successful organic agriculture and to propose appropriate guidelines for organic agriculture. Interviews with 32 stakeholders including the managing director of Sampran Riverside Hotel, representatives of agriculturists who are members of the eleven agricultural groups and twenty consumers in Sookjai market were carried out. Data was analyzed to access the Social Return on Investment of organic agriculture and factors affecting the successful organic agriculture. Interviews' results were described and grouped in order to conclude the factors and the guidelines. The results showed that the Social Return on Investment of nine agricultural groups from eleven groups are 1.45, indicating that every 1 Baht investment generated a social benefit of 1.45 baht. It was shown that there is the emergence of a network of entrepreneurs, consumers, and related organizations, educational institution and agricultural groups for the social outcomes, there are knowledge of postharvest technology, organic agricultural accreditation, fertilizers and Effective Microorganisms (EM) production. For the economic outcomes, agriculturists can set a fair price for their own according to selling price of organic markets and for environmental outcomes, since agriculturists do not use chemicals in agriculture, soil quality and environment were better and local resources are being recycled for the most benefit, such as food from local food shop, the pork manure fermentation. Factors affecting successful organic agriculture at the most is a market for the organic products because If there is no market for agriculturists, they do not know where to sell organic products while if they sell them to the middleman, the prices will be cut because their appearance are not as beautiful as others agricultural products. Secondly, the organic production requires continuous planning, variety of organic products and maintaining quality. Consumers have supported productivity of organic products. Thirdly, agriculturists are keen to do organic agriculture however, it requires their patience and strength, and process group of agriculturists. In addition, it is a matter of health that some agriculturists have health problems with use of chemicals in agriculture, the price of the organic products is higher than those of agricultural products in general, the agriculturists are encouraged to produce organic products to the market, and the knowledge that supports the agriculturists. Other factors are agriculturists' honesty in using non-chemical and suitable areas for organic agriculture. Guidelines to do organic agriculture are that agriculturists need to create a strong group together to share knowledge on organic agriculture and have a effective management plan. Maintaining the quality of the product and continuously bring the product to the market are necessary. Creating market opportunities is required in order to reduce cost of production and to have organic agriculture accreditation for consumers' confidence. And relevant agencies must provide strong supports whereas educational institutions state officials should promote knowledge to agriculturists.th
dc.format.extent209 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.73
dc.identifier.otherb199698th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3776th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectสามพรานโมเดลth
dc.subjectผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนth
dc.subjectวิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลประจำปี 2561th
dc.subjectวิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลth
dc.subjectวิทยานิพนธ์รางวัลดีth
dc.subject.otherเกษตรอินทรีย์th
dc.titleผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน จากการทำเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาสามพรานโมเดลth
dc.title.alternativeSocial return on investment of organic agriculture: A case study of Sampran modelth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b199698e.pdf
Size:
2.92 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections