ปัจจัยการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร การรับรู้ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนสดผ่านเฟซบุ๊ก
Publisher
Issued Date
2019
Issued Date (B.E.)
2562
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
240 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b210003
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กวินตรา มาพันศรี (2019). ปัจจัยการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร การรับรู้ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนสดผ่านเฟซบุ๊ก. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6353.
Title
ปัจจัยการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร การรับรู้ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนสดผ่านเฟซบุ๊ก
Alternative Title(s)
Factors of perception on sources credibility of online marketing mix awareness affecting the consumer decisions in purchasing durian via Facebook
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยเรื่องปัจจัยการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารการรับรู้ส่วนประสมการตลาด ออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนสดผ่านเฟซบุ๊ก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความ แตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารเกี่ยวกับทุเรียนสดบนร้านค้าเฟซบุ๊ก 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ส่วนประสม การตลาดออนไลน์เกี่ยวกับทุเรียนสดบนร้านค้าเฟซบุ๊ก 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของ ลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อทุเรียนสดบนร้านค้าเฟซบุ๊ก โดยเป็นการ ศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถามออนไลน์บนเฟซบุ๊กจากกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เคยมี ประสบการณ์ซื้อทุเรียนสดผ่านเฟซบุ๊ก ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใชส้ถิติเชิงพรรณนาได้แก่ค่าร้อยละความถี่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการแปลความเชิงบรรยาย และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน สถิติ t-test และ สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เพื่อทดสอบความ แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยมากกว่า 2กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1)ลักษณะทางประชากรด้านเพศต่างกันมีการรับรู้ต่อความน่าเชื่อถือของแหล่งสารแตกต่างกัน 2)ลักษณะทางประชากรด้านเพศต่างกันมีการรับรู้ต่อส่วนประสมการตลาดออนไลน์ด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน 3) ลักษณะทางประชากร ด้านเพศต่างกัน มีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อทุเรียนสดบนร้านค้าเฟซบุ๊ก ด้านการประเมินทางเลือก ด้านพฤติกรรมหลังการตัดสินใจซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ0.05
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562