กระบวนการและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในจังหวัดขอนแก่น

dc.contributor.advisorวีระวัฒน์ ปันนิตามัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorสุนทรชัย ชอบยศth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:16:54Z
dc.date.available2014-05-05T09:16:54Z
dc.date.issued2011th
dc.date.issuedBE2554th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในกระบวนการเปลียนแปลงฐานะเป็น เทศบาลตำบล และเพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขึ้นเป็นเทศบาลตำบล โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกตและ การสัมภาษณ์เชิงลึก จากข้าราชการส่วนกลางส่วนภูมิภาค กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการ ท้องถิ่นและกลุ่มประชาชนในเทศบาลตำบล 2 แห่งในจังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาในการเปลียนแปลงฐานะจากอบต.เป็นเทศบาลตำบล คือ 1) ปัญหาที่เกิดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอปท.ในพื้นทีใกล้เคียง เช่น การขาดความ ร่วมมือของอปท.ทีมีอาณาเขตติดต่อกันในการตรวจแนวเขตการปกครอง 2) ปัญหาการมีส่วน ร่วมของประชาชนในการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลเช่น การแสดงให้เห็นถึงความ ต้องการของนักการเมืองท้องถิ่นมากกว่าประชาชน ความไม่ชัดเจนในการสื่อสารเรื่องข้อกำหนด ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการเปลี่ยนแปลงฐานะ 3) ปัญหาอันเกิดจากราชการส่วนภูมิภาค เช่น แนวทางปฏิบัติไม่ชัดเจนในการหารือกับอปท. 4)ปัญหาทางการเมืองใน กระบวนการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบล เช่น การใช้อำนาจลงนามเพื่อแสวงหาประโยชน์ ทางการเมืองและการใช้อปท.เป็นฐานเสียงของการเมืองระดับชาติ ผลกระทบภายในสำหรับฝ่ายบริหาร ด้านโครงสร้างมีการกำหนดคุณวุฒินายกเทศมนตรี มีตำแหน่งที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ด้านการคลังยังคงมีรายได้จัดเก็บเองจำกัดและยังพึ่งพา งบอุดหนุนเป็นหลักและงบประมาณไม่ได้ตามการประมาณการ ด้านการบริหารงานบุคคล ก่อให้เกิดการขยายกรอบอัตรากำลังและเป็นการพัฒนาสายงานอาชีพโดยปริยาย ส่วนผลทีเกิดต่อ ฝ่ายนิติบัญญัตินั้น นอกจากจำนวนสมาชิกจะลดลงแล้วการปฏิบัติหน้าทีด้านนิติบัญญัติยังมี้อจำกัดอยู่ โดยเน้นเฉพาะเรื่องทีเป็นการให้ความเห็นชอบฝ่ายบริหารเป็นหลัก ทำให้การ ตรวจสอบไม่ได้เข้มข้นมากนัก ส่วนด้านการกำกับดูแลมีแนวปฏิบัติทีอำนาจกำกับดูแลเทศบาลอยู่ ทีส่วนกลางและระดับจังหวัดเป็นสำคัญโดยมีนายอำเภอเป็นเพียงผู้ช่วยเท่านั้น ทั้งนี้ภายหลังการเปลียนแปลงฐานะก่อให้เกิดผลกระทบใน มิติ คือ มิติการเมือง ท้องถิ่น มิติด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มิติด้านการจัดบริการสาธารณะ และมิติด้าน ความสัมพันธ์กับชุมชนและผู้นำท้องที พบว่า เทศบาลตำบลทีเปลียนแปลงฐานะในระยะแรกต้อง พบกับความท้าทายหลายประการ กล่าวคือ มิติการเมืองท้องถิ่น มีการแข่งขันทางการเมืองของ เทศบาลตำบลทีรุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มทางการเมืองของนักการเมืองในท้องถิ่นมากขึ้น ส่วนมิติด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ยังจำกัดเฉพาะการเลือกตั้ง โดยรวมการมีส่วนร่วมก็ไม่ ต่างจากเมื่อครั้งเป็นอบต.และประชาชนยังเชื่อมั่นในตัวผู้น าหมู่บ้านอยู่มาก ส่วนมิติด้านการ จัดบริการสาธารณะบทบาทหน้าทีของเทศบาลต าบลไม่ต่างจากอบต.มากนัก เทศบาลตำบลเน้นที การบริหารทั่วไปและการเคหะและชุมชนเป็นพิเศษ นอกจากนี้การที่ไม่ได้งบตามการประมาณ การส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะทีไม่เป็นไปตามแผนของเทศบาล สำหรับมิติด้าน ความสัมพันธ์กับชุมชนและผู้นำท้องที ประเด็นทีท้าทายด้านความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบล กับผู้นำท้องที่และชุมชนในการพัฒนา และเกิดความท้าทายเรื่องความเป็นตัวแทนประชาชนของ สมาชิกสภาเทศบาลในการทำหน้าที ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในกระบวนการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลดังนี้ 1) ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การยกฐานะให้ชัดเจนและนักการเมืองไม่ควรนำเรื่องการยกฐานะ ไปใช้เป็นอำนาจในการต่อรองทางการเมือง 2) อบต.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกียวข้อง กับการยกฐานะควรการประสานงานกันเพื่อลดความขัดแย้งหรือความล่าช้าในการดำเนินการ 3) ควรมีการวางแผนการบริหารรองรับการเปลี่ยนแปลงฐานะในระยะยาว 4) การเปลี่ยนแปลงฐานะ เป็นเทศบาลตำบลควรพิจารณาให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน 5)การให้ ความสำคัญในการสร้างเวทีให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงฐานะ เป็นเทศบาลตำบลอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ภายหลังการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลควรพิจารณาดังนี้ 1) เทศบาล ตำบลมีความจำเป็นที่ต้องสนใจและแสวงหาความร่วมมือกับภาคประชาชนและองค์กรภาคสังคม มากขึ้น 2) สมาชิกสภาเทศบาลต้องเรียนรู้การทำงานและทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนให้ได้ ตามความคาดหวังของประชาชน3) การแสวงหาแหล่งทุนอื่นๆเพื่อพัฒนาเทศบาลตำบล 4) ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นต้องผสานพลังเพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่th
dc.format.extent278 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2011.32
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/989th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccJS 7153.3 .A8 ส45 2011th
dc.subject.otherการปกครองท้องถิ่นth
dc.subject.otherเทศบาลตำบล -- ไทย -- ขอนแก่นth
dc.subject.otherองค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- ขอนแก่นth
dc.titleกระบวนการและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในจังหวัดขอนแก่นth
dc.title.alternativeProcess and impact from Tambon Administrative Organization (TAO) to a sub-district municipality : a case study of sub-district municipality in KhonKaen Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b176602.pdf
Size:
45.09 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections