พลวัตรในกระบวนการตัดสินใจนโยบายของรัฐต่อรัฐวิสาหกิจ กรณีศึกษา : บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) กับการตัดสินใจร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท เจ้าของเรือไทยเพื่อจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ กรณีศึกษา : บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) กับการตัดสินใจสร้างท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

dc.contributor.advisorจันทรานุช มหากาญจนะ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorสุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุลth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:15:54Z
dc.date.available2014-05-05T09:15:54Z
dc.date.issued2010th
dc.date.issuedBE2553th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010th
dc.description.abstractผู้ศึกษามีความคาดหวังว่าการศึกษานี้จะเป็นนำเสนอผลงานทางวิชาการต่อสาขาวิชาด้าน การจัดการภาาครัฐและเอกชน งานศึกษาชิ้นนี้จะสามารถนำเสนอสาระสำคัญทางวิชาการด้านพลวัตร ในกระบวนการตัดสินใจนโยบายของรัฐต่อรัฐวิสาหกิจพอให้เกิดความชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งความชัดเจนในกรณีศึกษาทั้งสองกรณีคือโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 – สนามบินสุวรรณภูมิโดยรัฐวสาหกิจการท่าอากาศยานไทยจํากัด (ทอท.) และการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติโดยการแปรรูปรัฐวสาหกิจบริษัทไทยเดินเรือทะเลจํากัด (บทด.) การจัดตั้งบริษัท ร่วมทันกับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย 23 บริษัท โดยงานวิจัยชั้นนี้จะช่วยให้วงการวิชาการได้ ตระหนก็ถึงปัจจัยต่างๆที่มีอิทธพลต่อพลวัตรการตัดสินใจระดับนโยบายของรัฐต่อรัฐวิสาหกิจไทย เป็นการประยุกต์องค์ความรู้และทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการและทฤษฎีว่าด้วยการตัดสินใจขององค์กรเขากับข้อเท็จจริง เนื่องจากผู้ศึกษาได้ใช้กรอบการวิเคราะห์กระบวนการตัดสินใจระดับ นโยบายของรัฐผ่านตัวแบบการตัดสินใจหลายตัวแบบและขอคนพบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนิน นโยบายต่อรัฐวิสาหกิจไทยตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบัน อีกทั้งการศึกษานี้ยังได้เพิ่มเติมการ ทดสอบความสามารถของการใช้กรอบการวิเคราะห์มาอธิบายข้อเท็จจริงที่เป็นพลวัตรการตัดสินใจ ระดับนโยบายของรัฐตอรัฐวิสาหกิจไทยด้วย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กรณีศึกษา กรณีศึกษาทงสองกรณีเป็นกรณีศึกษาที่มาทดสอบได้อย่างดีเนื่องจากผู้ศึกษาเชื่อว่าจะไม่สามารถหากรณีศึกษาอื่นๆมาใช้ทดสอบรอบด้านเท่ากับกรณีศึกษาทั้งสองกรณีนี้ทั้งในด้านของการวิเคราะห์พฤติกรรมและการดำเนินการ ของตัวแปรผู้มีส่วนร่วมและการวิเคราะห์ตัวแปรที่เป็นปัจจัยด้านพลวัตรของการตัดสินใจ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงใช้อธิบายบริบทของพลวัตรในกระบวนการตัดสินใจนโยบายของรัฐต่อรัฐวิสาหกิจได้ อย่างครอบคลุมและรอบด้าน นอกจากนั้นงานศึกษาชิ้นนี้ยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงพลวัตรการติดสินใจ ระดับนโยบายของรัฐต่อรัฐวิสาหกิจไทยและยังได้ทําการวิเคราะห์พลวัตรและการเคลื่อนไหวในกระบวนการตัดสินใจนโยบายของรัฐต่อรัฐวิสาหกิจว่าเป็นการตัดสินใจตามตัวแบบถังขยะและตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งข้อสังเกตและการวิเคราะห์นี้จะช่วยให้เกิดการอภิปรายในวงวิชาการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขให้กระบวนขับเคลื่อนการตัดสินใจระดับนโยบายของรัฐ ต่อรัฐวสาหกิจไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นผลการศึกษาที่ได้จากกรณีศึกษาสองกรณีชี้ให้เห็นว่า กรอบการวิเคราะห์ในขั้นตอนของการกำหนดปัญหา (Agenda Setting) ที่ใช้ในงานศึกษาชิ้นนี้ สามารถใช้วิคราะห์ถึงพลวัตรและการเคลื่อนไหวในกระบวนการตัดสินใจนโยบายของรัฐต่อ รัฐวิสาหกิจได้ชัดเจนว่าเป็นกระบวนการตัดสินใจตามตัวแบบการตัดสนใจแบบถังขยะหรือเป็น กระบวนการการตัดสินใจแบบไม่มีการตัดสินใจ (Non-Decision Making) เพราะว่าในการตัดสินใจ ระดับนโยบายของรัฐนั้น ในขั้นตอนของการกำหนดประเด็นปัญหาผู้มีส่วนรวมเป็นจำนวนมาก แต่ในกระบวนการตัดสินใจขั้นต่อๆมา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แบบการตัดสินใจแบบค่อย เป็นค่อยไปสามารถนำมาใช้อธิบายกระบวนการตัดสินของระดับนโยบายของรัฐได้ดีกว่าเพราะว่า เมื่อการดำเนินนโยบายใดๆของรัฐได้ริเริ่มขึ้นและถูกผลักดันไปสู่การนำนโยบายไปปฏิบัตินั้นผู้ที่ เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติจะนำนโยบายต่างๆเหล่านั้นแปลงสู่แผนปฏิบัติรและกระจายลงสู่การ ตัดสินใจในระดับปฏิบัติการรายวัน ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ดําเนินนโยบายในระดับปฏิบัติมีกระบวนการ ตัดสินใจระดับปฏิบัติามตัวแบบการตัดสินใจแบบค่อยเป็นค่อยไป จากการศึกษาทั้งสองกรณีศึกษานี้ ผู้ศึกษายังพบอกว่า นโยบายของรัฐที่มีต่อรฐวสาหกิจ ทั้งสองแห่งนี้เดินทางมาถึงจุดแห่งความสำเร็จหลังจากที่ใช้เวลาในการดำเนินนโยบายนานหลายปี และผ่านการบริหารประเทศหลายรัฐบาล โดยในระดับปฏิบัติ ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน ระดับกระทรวงที่กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งหรือผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจเองต่างก็ได้ศึกษา หารือกันถึงความเป็นไปได้ในการผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญในกิจการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ดังนั้นกลยุทธ์ประการหนึ่งของการสร้างความอยู่รอดของรัฐวิสาหกิจ หรือการผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญที่ข้าราชการประจำของกระทรวงที่กํากับดูแลรัฐวิสาหกิจ เหล่านั้นทำคือตัดสินใจที่จะไม่ดําเนินการใดๆในขั้นต่อไปปล่อยให้นโยบายเป็นเพียงรายงาน การศึกษาความเป็นไปได้ในหน้ากระดาษ แทนที่จะมั้งระดมเงินทันและทรัพยากรจากภาค การเมืองให้ได้ตามจำนวนที่จำเป็นเพื่อในโยบายสำเร็จสมบูรณ์กลับปล่อยให้นโยบายหมดสภาพ ไปเองth
dc.format.extent15, 315 แผ่น ; 30 ซมth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2010.103
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/963th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectท่าอากาศยานสุวรรณภูมิth
dc.subject.lccHD 30.23 ส44 2010th
dc.subject.otherการตัดสินใจth
dc.subject.otherนโยบายศาสตร์th
dc.titleพลวัตรในกระบวนการตัดสินใจนโยบายของรัฐต่อรัฐวิสาหกิจ กรณีศึกษา : บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) กับการตัดสินใจร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท เจ้าของเรือไทยเพื่อจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ กรณีศึกษา : บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) กับการตัดสินใจสร้างท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิth
dc.title.alternativeDynamics in the government decision-making process on policy level towards Thai State Owned Enterprises (SOEs) case study : Thai Maritime Navigation Company Limited : the decision making on joint venture with 23 shipowner companies on national shipping line establishment case study : Airport of Thailand Public Company Limited : the Decision Making on the Suvarnabhumi Airport Projectth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-diss-b166475.pdf
Size:
13.9 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text