ปัญหาการนำระบบไต่สวนมาใช้กับคดีปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

dc.contributor.advisorพัชรวรรณ นุชประยูรth
dc.contributor.authorวิสุทธิ์ สุนทรวิภาตth
dc.date.accessioned2022-05-20T04:55:30Z
dc.date.available2022-05-20T04:55:30Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractการศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบในระบบวิธีพิจารณาคดีของ ประเทศไทยกับประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมนี ผู้เขียนได้ทำการศึกษาถึงปัญหาในการนำระบบ วิธิพิจารณาความแบบกล่าวหาและระบบวิธีพิจารณาความแบบไต่สวนมาใช้กับคดีปกครองที่อยู่ในเขต อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในประเทศไทย อังกฤษ และเยอรมนี รวมทั้งได้ศึกษาเกี่ยวกับหลักการในการพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครอง และหลักการในวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะเป็นคดีปกครองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และหลักการในวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาในศาลสิทธิบัตรอังกฤษ (Patents Court) และศาลสิทธิบัตรแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (The Federal Patent Court) รวมถึงการ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงและวิเคราะห์ความแตกต่างของระบบวิธีพิจารณาคดี และ บทบาทหน้าที่ของคู่ความและศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานแห่งคดีเป็นสำคัญ รวมถึงหลักกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบวิธีพิจารณาและการพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครอง และการพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะเป็นคดีปกครองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง สูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติ สิทธิบัตรอังกฤษ พ.ศ. 2520 (The Patens Court Act 1977) และพระราชบัญญัติสิทธิบัตรเยอรมนี พ.ศ. 2524 (The Patent Act of 1981) จากการศึกษาระบบวิธีพิจารณาคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ของประเทศไทยพบว่า มีเพียงการนำระบบวิธีพิจารณาความแบบกล่าวหามาใช้ในการพิจารณาคดี แพ่งและคดีอาญาเท่านั้นและ ไม่มีการพิจารณาคดีปกครองแต่อย่างใด ซึ่งการใช้ระบบวิธีพิจารณา ความแบบกล่าวหากับคดีปกครองนั้นย่อมเป็นการไม่เหมาะสม โดยไม่อาจก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ คู่ความโดยเฉพาะคู่ความฝ่ายเอกชนได้อย่างแท้จริง เนื่องจากคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างมีสถานะที่ไม่เท่า เทียมกันเพราะคู่ความฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจในทางปกครอง แต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเอกชนที่ไม่มีอำนาจในทางปกครอง จึงทำให้เกิดความได้เปรียบเสียบเปรียบ ในทางรูปคดีกันในการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานแห่งคดีรวมทั้งการเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือ พยานหลักฐานที่คู่ความฝ่ายเอกชนมีอยู่น้อยกว่าหรือแทบไม่มีเลยเมื่อเทียบกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่ง เป็นฝ่ายรัฐที่มีอำนาจมากกว่า เพราะข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่สำคัญ ๆ ในคดีมักจะอยู่ในความ ครอบครองของคู่ความฝ่ายรัฐแทบทั้งสิ้น การศึกษานี้ยังเป็นแนวทางในการให้คำเสนอแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขปฎิรูประบบวิธี พิจารณาคดีปกครองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมให้มากที่สุด พร้อมทั้งยังได้ศึกษากฎหมายของต่างประเทศ เพื่อนำมาเปรียบเทียบแนวคิด และหลักการในการพิจารณาคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศและศาลสิทธิบัตร และปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางสถานะของคู่ความที่เกิดขึ้นทั้ง ในประเทศไทย อังกฤษ และเยอรมนี รวมถึงศึกษาทางปฏิบัติของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศและศาลสิทธิบัตรในการนำระบบวิธีพิจารณาความแบบไต่สวนมาใช้กับคดีปกครอง เพื่อหาข้อสรุป ข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขปัญหา และเพื่อปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการปฎิรูประบบวิธี พิจารณาคดีปกครองในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงปฎิรูปพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมอย่างแท้จริงแก่ประชาชนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือประโยชน์สาธารณะให้ได้มากที่สุดth
dc.format.extent134 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2015.12
dc.identifier.otherb191865th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5796th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherกฎหมายth
dc.subject.otherทรัพย์สินทางปัญญาth
dc.subject.otherการค้าระหว่างประเทศth
dc.subject.otherการพิจารณาคดีth
dc.titleปัญหาการนำระบบไต่สวนมาใช้กับคดีปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศth
dc.title.alternativeThe problem in investigation system to use with administrative case in the location of intellectual property and international trade courtth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b191865.pdf
Size:
1.74 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
Collections