ปัจจัยสำคัญต่อการจัดทำรายงานการจัดอันดับเพลงยอดนิยมประจำประเทศไทย

dc.contributor.advisorวิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์
dc.contributor.authorฉัตรชัย งามเลิศ
dc.date.accessioned2023-01-20T08:51:33Z
dc.date.available2023-01-20T08:51:33Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractปัจจุบัน นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยกําลังเข้าสู่การปรับเปลี่ยน โครงสร้างเศรษฐกิจจาก เรื่องอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก (Thailand 3.0) ไปสู่ “Value– Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Thailand 4.0)” ซึ่งเป็นการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้ างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและ พัฒนา โดยมุ่งเน้นที่กลุ่ม “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industry) ซึ่ง “อุตสาหกรรมเพลง” (Music Industry)เป็นหนึ่งในแขนงของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งที่ประเทศไทยอุตสาหกรรมเพลง อยู่ในภาวการณ์ที่หดตัว เนื่องด้วยอิทธิพลของพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี (Technological Determinism) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยนวัตกรรมการจัดทํา “รายงาน อันดับเพลงยอดนิยมประจําประเทศ” (Official Music Chart) ของประเทศที่เป็นผู้นําทางด้านนี้ คือ สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร และเกาหลีใต้ เป็นในการช่วยกระตุ้นให้เกิดการ พัฒนาเติบโตของวงการเพลง แต่ไม่ปรากฏว่ามีการใช้นวัตกรรมนี้ในประเทศไทย ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาถึง ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดทํารายงานจัดอันดับเพลงยอดนิยม ประจําประเทศไทย โดยศึกษานวัตกรรมต้นแบบนี้จาก 3 ประเทศดังกล่าว ผ่านข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับระบบอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทย รวมถึง ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเพลงไทย อุตสาหกรรมเพลงเกาหลี และอุตสาหกรรมเพลงสากล ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันอุตสาหกรรมเพลงไทย ชี้วัดความนิยมของเพลงผ่านรายงานการจัด อันดับเพลงผ่านการออกอากาศทางสถานีวิทยุ (Radio Airplay) และยอดการรับชมทางยูทิวบ์ (YouTube) ของแต่ละค่ายเพลงเท่านั้น ซึ่งไม่มีหน่วยงานกลางใดทําหน้าที่ในการจัดทํารายงานการจัดอันดับเพลงยอดนิยมประจําประเทศ (แบบรวมทุกค่ายเพลง) จึงแสดงว่า ไม่เกิดการยอมรับและประยุกต์นวัตกรรมดังกล่าวสําหรับวงการเพลงในประเทศไทย (Diffusion of Innovation) 2) บ่อยครั้งมีการบิดเบือนข้อมูลอันดับความนิยมของเพลงเพื่อผลประโยชน์ของตน ผ่านการออกอากาศทางสถานีวิทยุภายในองค์กรของผู้ประกอบการ 3) ค่ายเพลงในประเทศไทยไม่ สามารถรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งสมาคมในการพูดคุยหรือแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมเพลงของประเทศ ไทย 4) ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพลงในองค์กรภาครัฐ 5) รัฐไม่มีนโยบาย เฉพาะในการสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพลง 6) ไม่มีองค์กรกลางในการรวบรวมข้อมูลทางการตลาดที่จําเป็นต่อการจัดทํารายงานการจัดอันดับเพลงยอดนิยม และ 7) พฤติกรรมคนฟังที่ไม่สนับสนุนการซื้อขายเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์th
dc.format.extent129 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.108
dc.identifier.otherb199268th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6222
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherเพลงth
dc.titleปัจจัยสำคัญต่อการจัดทำรายงานการจัดอันดับเพลงยอดนิยมประจำประเทศไทยth
dc.title.alternativeThe impact factors for establishing Thailand official music chartsth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b199268.pdf
Size:
1.48 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections