ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
Publisher
Issued Date
2018
Issued Date (B.E.)
2561
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
210 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b203231
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุพิชญา กันกา (2018). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6270.
Title
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
Alternative Title(s)
Law problems of regulatory impact assessment : RIA according to section 77 of constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการวิเคราะห์
ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) ตามมาตรา 77 ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาปรับปรุง
คุณภาพของกฎหมาย อันจะนำมาซึ่งกฎหมายที่ดี มีคุณภาพ และมีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน
เดียวกัน โดยผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางที่เหมาะสมกับประเทศไทย ได้แก่ การเสนอให้มีการจัดทำร่าง
กฎหมายรองรับมาตรา 77 ในรูปแบบของพระราชบัญญัติแทนการใช้มติคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน
การให้ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายที่ควรจัดทำ RIA ไม่ใช่มีเพียงเฉพาะหน่วยงานของรัฐเท่านั้น แต่ควร
รวมถึงกรณีประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ควรจัดท า RIA ประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย
ด้วย โดยให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และ
สถาบันพระปกเกล้า เป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย
รวมถึงการจัดทำ RIA สำหรับกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎรเป็นผู้ช่วยเหลือในการจัดทำร่างกฎหมายและการจัดทำ RIA สำหรับผู้รับผิดชอบในการ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ในการออกกฎหมายนั้น ควรให้เป็นหน้าที่ของผู้รักษาการตามกฎหมายฉบับนั้น
โดยมีหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เป็นหน่วยงานเดียวกันกับหน่วยงานที่จัดทำ
การวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินสัมฤทธิ์ในการออก
กฎหมาย และเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมทำ
การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการออกกฎหมายด้วย ส่วนในเรื่องประเภทของกฎหมายที่ต้องจัดทำ RIA
นั้น ควรจัดทำ RIA กับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย โดยต้องเป็นกฎหมายลักษณะเนื้อความ ในกรณีของกฎหมาย
ลำดับรอง หากเนื้อหาของของกฎหมายลำดับรอง มีผลกระทบต่อประชาชนโดยส่วนรวมแล้ว ก็ควร
จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องก่อนการออกกฎหมาย และควรกำหนดให้ทำการ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชกำหนดเพื่อเป็นการทบทวนภายหลังจากที่กฎหมายใช้บังคับแล้ว
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561