อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับคนงานทำงานบ้าน : ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบทางกฎหมาย ในการที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบัน

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorรัชต์ บุราทรth
dc.date.accessioned2016-10-07T04:47:43Z
dc.date.available2016-10-07T04:47:43Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556th
dc.description.abstractลูกจ้างทำงานบ้านเป็นแรงงานที่พบเห็นได้ทั่วไป เป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดอาชีพหนึ่งในสังคม โดยทั่วไปแล้วแรงงานที่ประกอบอาชีพเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “คนรับใช้” หรือ“คนใช้” ก็จะเป็นที่ เข้าใจกันว่าเป็นคนที่มีหน้าที่คอยรับใช้ ทางานบ้านโดยทาหน้าที่อย่างแม่บ้าน เช่น ทาความสะอาด ทาอาหาร ซักผ้ารีดผ้า ดูแลรับใช้คนในบ้าน กฎหมายแรงงานของประเทศไทยเรียกลูกจ้างเหล่านี้ว่า ลูกจ้างทางานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย แต่ก็มิได้ให้คาจากัดความหรือ คานิยามไว้อย่างชัดแจ้ง แต่โดยการตีความของศาลฎีกา ศาลได้ถือเอาลักษณะในการทางานว่ามีการ ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วยหรือไม่เป็นเหตุสำคัญ หากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะเป็นงานบ้าน แต่ว่า งานที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหรือแสวงกำไรของนายจ้าง ก็ไม่ถือว่าเป็นลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงาน บ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ในปัจจุบัน ลูกจ้างทางานบ้านได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่เพียงบาง เรื่องเท่านั้น เนื่องจากการที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ.2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่ได้ออกมาเพื่อขยายความคุ้มครองให้แก่ลูกจ้างทางานบ้านเพิ่มขึ้นจาก กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังมีข้อยกเว้น ในการใช้บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทางานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ ด้วยในหลายประการสาคัญ เช่น ไม่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ การกำหนดชั่วโมงการ ทำงาน และสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง อีกทั้งลูกจ้างทางานบ้านก็ไม่ถือเป็น “ลูกจ้าง” ตาม กฎหมายเงินทดแทนและกฎหมายประกันสังคม จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั้งสองฉบับ ดังกล่าวอีกด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ทาการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงความเหมาะสมและผลกระทบทาง กฎหมาย ในการที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสาหรับคนงานทางานบ้าน เพื่อนำมาพิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข หรือเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมาย ในส่วนของการให้ความคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้านของประเทศ ไทยให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าวต่อไป จากการศึกษาพบว่า กฎหมายของประเทศไทยยังไม่ได้ให้ความคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้านไว้ อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน และไม่เท่าเทียมกับผู้ใช้แรงงานประเภทอื่นในหลายประการ สำคัญ อีกทั้งการให้ความคุ้มครองในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฯฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่ มีคุณค่าสาหรับคนงานทางานบ้าน อันเป็นมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศสาหรับลูกจ้างทางาน บ้านโดยเฉพาะ ผู้ศึกษาเห็นว่า เนื่องจากสภาพการทางานที่มีลักษณะพิเศษของการทำงานบ้าน หากนำ บทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองผู้ใช้แรงงานทั่วไปมาใช้บังคับแก่ลูกจ้างทำงานบ้าน อาจ ส่งผลให้ไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้อย่างเหมาะสม จึงควรมีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ความ คุ้มครองลูกจ้างทางานบ้านเป็นการเฉพาะ อนึ่ง ประเทศไทยควรให้สัตยาบันในอนุสัญญาฯฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสาหรับคนงานทางานบ้าน และควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและเพิ่มเติม บทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับคนงาน ทางานบ้าน ซึ่งเป็นกรอบมาตรฐานแรงงานสากลสาหรับลูกจ้างทางานบ้าน อันจะทำให้ลูกจ้าง ทำงานบ้านในประเทศไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกับผู้ใช้แรงงาน ประเภทอื่นth
dc.format.extent157 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb185198th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3207th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherกฎหมายแรงงานระหว่างประเทศth
dc.subject.otherแรงงานต่างด้าว--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth
dc.titleอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับคนงานทำงานบ้าน : ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบทางกฎหมาย ในการที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบันth
dc.title.alternativeThe ILO convention no. 189 decent work for domestic workers : A study of feasibility and legal impacts on Thailand's ratificationth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b185198.pdf
Size:
2.82 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections