การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก

dc.contributor.advisorธีทัต ชวิศจินดาth
dc.contributor.authorลิขสิทธิ์ ศุภการth
dc.date.accessioned2022-11-15T04:55:25Z
dc.date.available2022-11-15T04:55:25Z
dc.date.issued2021th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดคำนิยามในเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์และไม่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันการกระทำความผิดที่เป็นการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก ทั้งในเชิงนโยบายและมาตรการบังคับ อีกทั้งยังไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวโดยตรง ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานวิจัยนี้ ผู้เขียนนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก (Cyber Bullying) โดยทำการศึกษาในเรื่องคำนิยามของการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ การกำหนดมาตรการป้องกันทางกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบของไทยและต่างประเทศโดยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ จากผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศแคนาดา พบว่าประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ โดยมีการให้คำนิยามของการกระทำความผิด รวมถึงมีการกำหนดมาตรการป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกในสถานศึกษาและการกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่กับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการควบคุมปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์เป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อเป็นกำหนดมาตรการป้องกันการกลั่นแกล้งออนไลน์ในเด็กที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา และในประเทศแคนาดา รัฐ Manitoba จากการศึกษาพบว่าได้มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะในเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ มีการกำหนดคำนิยามของการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก และกำหนดมาตรการลงโทษในเชิงป้องกันการกระทำความผิดซ้ำเพื่อป้องกันความเสียหายต่อจิตใจที่อาจเกิดขึ้น โดยกำหนดให้ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ที่เกิดขึ้นในเด็ก ผู้ศึกษามีความเห็นว่ามาตรการของประเทศญี่ปุ่น และประเทศแคนาดา มีการกำหนดมาตรการในเชิงป้องกันปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก โดยมีมาตรการที่แตกต่างกันเนื่องจากสภาพปัญหาและคดีที่เกิดขึ้นมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันตามสภาพสังคมในแต่ละประเทศ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงเสนอให้ประเทศไทยสมควรที่จะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ของต่างประเทศมาปรับใช้ โดยสมควรกำหนดให้มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก โดยบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดคำนิยามของการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ การกำหนดมาตรการป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ รวมถึงกำหนดอำนาจหน้าที่เฉพาะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็กเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์th
dc.description.abstractCurrently, Thailand does not have a definition of online bullying, nor measurement set up to prevent it among children.  In terms of policy and enforcement, there are no any direct agencies to take a response for such matter. As a result, Thailand is unable to effectively solve the situation. In this research, the author focus on the problem when children face a cyberbullying by studying the definition, law enforcement implementation, and power also duties of accountable agencies in domestic and aboard through a comparative study on both Thai and foreign laws. From the results of a comparative analysis from Japan and Canada. The first one has a specific law to prevent online bullying by defining the meaning once it commit including criteria to prevent it in educational institutions also the determination of roles and duties from concerned organizations. For the second one, “In the state of Manitoba”, studies have shown that definite laws have been enacted on this issue likewise. The setting of definition and stipulates preventive measures against recidivism to obviated possible mental damage by liable it to the Court of Justice. From the study to analyze problem of cyberbullying in children. Author has an opinion that determination in both Japan and Canada have established measures to proactively prevent it. By the way, they have a different set up as the problems and cases that arise have particular characteristics according to the social conditions in each country. Therefore, this research suggests that Thailand should adopt these foreign countries solution with appropriate specific laws. By the provisions, there must have a definition of online bullying, establishing measures to prevent, and setting a specific authorized agencies to oversee and solve it effectively.th
dc.format.extent112 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb214305th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6090th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการกลั่นแกล้งทางออนไลน์th
dc.subjectการกลั่นแกล้งรังแกth
dc.subjectการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์th
dc.subjectความคุ้มครองเด็กและเยาวชนth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ -- การป้องกันth
dc.subject.otherการข่มเหงรังแกth
dc.subject.otherความรุนแรงในเด็ก -- ไทยth
dc.subject.otherเด็ก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth
dc.subject.otherเด็กที่ถูกทารุณกรรม -- ไทยth
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็กth
dc.title.alternativeComparative study of legal measure to prevent cyberbullying childrenth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b214305.pdf
Size:
1.37 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections