ปัญหาในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าโดยการบังคับใช้สิทธิทางอาญา ศึกษาเฉพาะกรณี การปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศ
dc.contributor.authorบารมี กวักทรัพย์
dc.date.accessioned2023-03-13T04:40:26Z
dc.date.available2023-03-13T04:40:26Z
dc.date.issued2019
dc.date.issuedBE2562th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า และ บังคับใช้โทษทางอาญาจากการละเมิดเครื่องหมายการค้า ซึ่งจะศึกษาเฉพาะกรณี การปลอมหรือ เลียนเครื่องหมายการค้าและความผิดทางอาญาจากการละเมิดสิทธิดังกล่าวเท่านั้น ไม่รวมถึงสิทธิหรือ การบังคับสิทธิทางแพ่ง โดยศึกษาจากกฎหมายของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ รวมไปถึงการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อเสนอแนวทางในการ แก้ไขปัญหาและพัฒนากฎหมายคุ้มครองและความผิดทางอาญาจากการละเมิดเครื่องหมายการค้า ของประเทศไทยที่เหมาะสมต่อไป จากการศึกษาพบว่า การบังคับใช้โทษทางอาญาจากการการปลอมหรือเลียนเครื่องหมาย การค้าของประเทศไทย ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และในพระราชบัญญัติเครื่องหมาย การค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและกำหนดโทษทาง อาญาจากการละเมิดเครื่องหมายการค้าไว้แตกต่างกัน อีกทั้งยังได้กำหนดให้สภาพความรับผิดทาง อาญาจากการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าที่เป็นความผิดอาญาที่คู่กรณีไม่อาจยอมความกันได้ หรือเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการใช้กฎหมายอาญาเฟ้อ ทำให้เกิดผลกระทบ ต่อกระบวนการยุติธรรม และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการคุ้มครองเจ้าของเครื่องหมายการค้า จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนด สภาพความรับผิดทางอาญาจากการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าคู่กรณีไม่อาจยอมความกันได้ หรือเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ส่วนในประเทศเยอรมันและประเทศฟินแลนด์ กำหนดให้การ ดำเนินคดีอาญาจากการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าผู้เสียหายจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเสียก่อน หมายความว่าการบังคับใช้สิทธิทางอาญาในการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเป็นเรื่องของวัตถุประสงค์ของผู้เสียหายในการตัดสินใจที่จะบังคับใช้สิทธิทางอาญา ปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงเสนอแนะให้ประเทศไทยแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญาจากการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า ให้คู่กรณีสามารถยอมความกันได้ เช่นเดียวกับ ประเทศเยอรมันและประเทศฟินแลนด์ เพื่อลดปัญหากฎหมายอาญาเฟ้อซึ่งกระทบต่อกระบวนการ ยุติธรรม และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการคุ้มครองเจ้าของเครื่องหมายการค้าอย่างแท้จริงth
dc.format.extent153 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2019.83
dc.identifier.otherb210971th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6335
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherเครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยth
dc.subject.otherเครื่องหมายการค้าth
dc.titleปัญหาในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าโดยการบังคับใช้สิทธิทางอาญา ศึกษาเฉพาะกรณี การปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าth
dc.title.alternativeCriminal trademark enforcement : a case study of spurious trademark or fraudulent imitatiorth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b210971.pdf
Size:
1.85 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections