พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และปัจจัยทางจิตที่พยากรณ์ภาวะโรคซึมเศร้า

dc.contributor.advisorพรพรรณ ประจักษ์เนตรth
dc.contributor.authorครองรัตน์ ดุลลาพันธ์th
dc.date.accessioned2019-06-23T05:16:59Z
dc.date.available2019-06-23T05:16:59Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ การเสพติดการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ การเปรียบเทียบทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะโรคซึมเศร้า 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ การเสพติดการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ การเปรียบเทียบทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะโรคซึมเศร้า และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ การเสพติดการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ การเปรียบเทียบทางสังคมและการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะโรคซึมเศร้า การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ก (Facebook) อินสตาแกรม (Instagram) และทวิตเตอร์ (Twitter) จำนวนทั้งหมด 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ด้านพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์มากกว่า 12 ครั้งขึ้นไปต่อวัน มีระยะเวลาในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน และมีวัตถุประสงค์ในการเข้าใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพูดคุย/ติดต่อสื่อสารมากที่สุด ด้านการเสพติดการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเสพติดการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะของการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์นานกว่าเวลาที่ตั้งใจเอาไว้มากที่สุด ด้านการเปรียบเทียบทางสังคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเปรียบเทียบทางสังคมในลักษณะของการประเมินความสามารถของตนเองในการกระทำบางสิ่ง บางครั้งก็มักเปรียบเทียบตนเองกับผู้ที่ทำสิ่งนั้นได้ดีกว่าตนเองมากที่สุด ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเห็นคุณค่าในตนเองในลักษณะของการรู้สึกบ่อย ๆ ว่าตนเองไร้ค่ามากที่สุด ด้านภาวะโรคซึมเศร้า พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะโรคซึมเศร้าในลักษณะของการหลับยาก หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับมากเกินไปมากที่สุด ด้านความสัมพันธ์ พบว่า ระยะเวลาการใช้ การเสพติด การเปรียบเทียบทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะโรคซึมเศร้าทั้งหมดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการศึกษาด้านการพยากรณ์พบว่า ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะโรคซึมเศร้าเรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง การเสพติดการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และการเปรียบเทียบทางสังคม โดยมีการเห็นคุณค่าในตนเองที่มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งตัวแปรทั้งสามร่วมกันสามารถพยากรณ์ภาวะโรคซึมเศร้าได้ ร้อยละ 43.9 ซึ่งมีค่า R2 = .439th
dc.description.abstractThis research has objectives to 1) study online social network use behavior, online social network addiction, social comparison, self-esteem, and depression 2) study the relativity between online social network use behavior, online social network addiction, social comparison, self-esteem, and depression and 3) study whether online social network use behavior, online social network addiction, social comparison, and self-esteem can be used to predict depression. This research is a quantitative research using a survey method by means of an online questionnaire from a sample group of 400 users of the Facebook, Instagram, and Twitter online social network services. The research found that the majority of the sample group has a frequency of online social network use at 12 times per day, the time consumed using online social networks combined for 5 hours per day, and that the main objective of using online social networks was to communicate or contact with others. The research also found that the majority of users displayed signs of addition to online social networking by spending more time than planned on those online social network services. In terms of social comparison, the research found that the majority of the sample group compared their skills at a certain field to others who are better than them in that field. In addition, the research resulted in the findings that a majority of the sample group felt invaluable. In terms of depression, the majority of the sample group displayed symptoms of depression such as insomnia or excessive sleeping behavior. The research discovered that online social network time consumption, online social network addiction, social comparison, and self-esteem were all significantly relative. The factors that can help to predict depression, in order of importance, are self-esteem, online social network addiction, and social comparison whereas self-esteem is inversely relative to depression. The three factors can predict depression in an individual at 43.9% (R-Squared value of .439)th
dc.format.extent174 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb204528th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4473th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectการเห็นคุณค่าในตนเองth
dc.subject.otherเครือข่ายสังคมออนไลน์th
dc.subject.otherโรคซึมเศร้าth
dc.subject.otherการดำเนินชีวิตth
dc.titleพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และปัจจัยทางจิตที่พยากรณ์ภาวะโรคซึมเศร้าth
dc.title.alternativeSocial networking usage behavior and mental factor as a predictor of depressionth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b204528.pdf
Size:
3.39 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections