ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติth
dc.contributor.authorพระคทาวุธ คเวสกธมโม (เพ็งที)th
dc.date.accessioned2022-08-15T09:12:40Z
dc.date.available2022-08-15T09:12:40Z
dc.date.issued2021th
dc.date.issuedBE2564th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractดุษฎีนิพนธ์นี้ เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ใน 3 ประเด็น คือ สถานะและผู้แทนของวัด ที่ดินวัด และข้อพิพาททางปกครองคณะสงฆ์ ผลที่ได้จากการศึกษามีดังต่อไปนี้ ประเด็นที่หนึ่ง สถานะของวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมากับสำนักสงฆ์ ตามมาตรา 31 วรรคแรก  ถือเป็นนิติบุคคลทางกฎหมายมหาชน ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการบัญญัติกฎหมายตามที่ได้ปรากฏในรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ทั้งยังเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎีที่สมมติว่านิติบุคคลเป็นบุคคล  (Fiction Theory)  และทฤษฎีที่นิติบุคคลเกิดขึ้นได้เพราะอำนาจรัฐ  (Concession Theory)  ซึ่งมีความสอดคล้องกับวัดในเมียนมาร์ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจารีตประเพณี และเยอรมนีที่กฎหมายได้กำหนดให้องค์การทางศาสนามีสถานะเป็นนิติบุคคลทางกฎหมายมหาชนเช่นกัน สำหรับผู้แทนของวัดมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ตามมาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนของวัดเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการมอบอำนาจไปสู่ตำแหน่งอื่นให้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือลงไปถึงฝ่ายปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติงานโดยตรงและยังกำหนดให้มีการมอบอำนาจต่อได้ ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และพระภิกษุ ซึ่งสอดคล้องกับศรีลังกาและเมียนมาร์ที่ให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในกรณีนี้ผู้แทนวัดหรือผู้ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการแทนวัด จะต้องรับผิดตามมาตรา 76 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประเด็นที่สอง ที่วัดตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่มีสถานะเป็นสมบัติสำหรับพระศาสนาซึ่งสอดคล้องกับที่ดินวัดในศรีลังกาและเมียนมาร์ที่มีสถานะเป็นทรัพย์สินของพระพุทธศาสนาและที่ดินวัดตามมาตรา 33 ยังได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษที่ไม่สามารถนำหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้ได้ เพราะเป็นกฎหมายพิเศษที่นำมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะ ซึ่งมีเจตนารมณ์ห้ามมิให้โอนกรรมสิทธิ์เหมือนปกติทั่วไป ห้ามยกอายุความขึ้นต่อสู้ และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตามมาตรา 34 และมาตรา 35  แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 นอกจากนี้ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาจากการบวชเท่านั้น จึงจะตกเป็นสมบัติของวัดที่สังกัดหากพระภิกษุรูปนั้นมรณภาพลงตามมาตรา 1623 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ควรนำหลักเกณฑ์การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลทั่วไปตามมาตรา 84​ มาบังคับใช้​กับการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด หรือการที่วัดต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเสียก่อนจึงจะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นซึ่งกรณีนี้ควรให้มหาเถรสมาคมพิจารณาร่วมกับการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินด้วย ประเด็นที่สาม การใช้อำนาจทางปกครองคณะสงฆ์มี  3 เขตแดน คือ (1) การใช้อำนาจตามพระธรรมวินัย ซึ่งมีแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนไว้เป็นระบบแล้ว (2) การใช้อำนาจทางปกครองตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ของผู้ดำรงตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 3 และอยู่ในขอบเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9, มาตรา 42, มาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมและจารีตของคณะสงฆ์กับฝ่ายอาณาจักร อีกทั้งเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ จึงควรให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์ขึ้นมาแก้ไขปัญหาเป็นการเฉพาะ และ (3) การใช้อำนาจทางปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชุมชนหรือสังคม ถือเป็นข้อพิพาทคดีปกครองอยู่ในอำนาจของศาลปกครองให้สามารถรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นกลไกในการสร้างดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนกับการปกครองคณะสงฆ์ และยังมีความสอดคล้องกับศรีลังกาเพราะข้อพิพาททางปกครองเกี่ยวกับการแต่งตั้งเจ้าอาวาสสามารถฟ้องร้องที่ศาลจังหวัดได้ สำหรับเยอรมนีหากมีกรณีข้อพิพาทคดีปกครองขององค์การทางศาสนาที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องวินัยและคำสอนทางศาสนา หรือฝรั่งเศสหากมีข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง (Police Administrative) ย่อมเป็นข้อพิพาททางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองเช่นเดียวกันth
dc.description.abstractThis thesis aims to study the problems of the enforcement of Sangha Act, B.E. 2505 (1962). There are three issues of the problems including: the status and temple representatives; the temple land; and the disputes of Sangha administration.  The research revealed that: firstly, the Wisukhamsima temple (the temple having royal grant of land with consecrated boundaries) and the monastery without Wisukhamsima are the juristic person having legal status as a legal entity as noted by section 31 of the Sangha Act, B.E. 2505 (1962). This is consistent with the objectives of law noted in the meeting report of the ac-hoc committee of the Sangha Act drafting and the Fiction Theory together with the Concession Theory. The status of juristic person of the temples in Thailand is also similar to the temples in Myanmar and in Germany. The temple in Myanmar is a juristic person defined by the traditional law, while the temple in Germany is a juristic person as defined by the public law.  For the temple representative, the abbot is the representative of the temple for general affairs as noted by section 31 of the Sangha Act, B.E. 2505 (1962). Then, the abbot is empowered by law to appoint temple representatives for more specific administrative affairs. The representatives appointed by the abbot can be both the monks and those who are not monks (the householders) and the responsibility of the representatives of the temple are indicated by section 76 of the Civil and Commercial Code. This is similar to Sri Lanka and Myanmar where an abbot is the temple representatives as defined by law. Secondly, the temple land as noted by section 33 of the Sangha Act is not state land or public domain, but it is the property of the Buddhism. Likewise Sri Lanka and Myanmar, the temple land is also the property of the Buddhism.  The temple land as noted by section 33 of the Sangha Act is also exempted from the provision of the Civil and Commercial Code except its section 1623. As noted by section 34 and section 35 of the Sangha Act, the temple land is exempted from the prescription and is not liable for execution as defined by the Civil and Commercial Code. However, only section 1623 of the Civil and Commercial Code is applied stating that “any property acquired by a Buddhist monk during his monkhood shall become, upon his death, property of the monastery which is his domicile, unless he has disposed of it during his life or by will.” In addition, the provision of ownership for general cases according to section 84 of the Land Code is also not applicable to the temple land. Thirdly, administrative power for the monks covers three jurisdictions comprising: (1) the power as defined by the code of monastic discipline aiming to systematically peace building; (2) the administrative power exercised under Sangha Act B.E. 2505 (1962) is defined as the state officials and under the jurisdiction of the Administrative Court as noted by section 3, section 9, section 42, and section 72 of the Act on the Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999). However, to remain tradition and custom between the clergy and the people and also to secure public rights, the Appeals Committee should be appointed and (3) an exercising of power according to the Sangha Act and related to community and society is the disputes under the jurisdiction of the administrative court according to the Act on the Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure B.E. 2542. This is to remain the balance between protection of public rights and liberty and the administration of the clergy. This case of Thailand is also complied with the case of Sri Lanka, France, and Germany, for example, the administrative dispute regarding abbot appointment is under the jurisdiction of administrative court in Sri Lanka and also in France and Germany.  th
dc.format.extent371 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2021.14
dc.identifier.otherb213839th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5999th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505th
dc.subject.otherสงฆ์th
dc.subject.otherสงฆ์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยth
dc.subject.otherพุทธศาสนาth
dc.titleปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505th
dc.title.alternativeProblems of enforcement of the Sangha Act 1962th
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b213839.pdf
Size:
4.76 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description: