แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทย

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorกนกวรรณ สุวรรณมุขth
dc.date.accessioned2019-04-25T08:33:52Z
dc.date.available2019-04-25T08:33:52Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางด้านกายภาพ ด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านบริหารโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง อีกทั้งเปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งที่เหมาะสมกับประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมจากหน่วยงานภาครัฐจำนวน 6 ท่าน และผู้ประกอบกิจการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม จำนวน 6 ท่าน โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาทำการวิเคราะห์โดยจับกลุ่มประเด็นตามหลักการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (feasibility study) และนำมาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน นอกจากนั้นอาศัยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT analysis) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และบริเวณนอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ภาครัฐมีการดำเนินการจัดทำโครงการต้นแบบและให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งผ่านมาตรการทางการเงิน เช่น การรับซื้อไฟฟ้าแบบ FiT สำหรับการสนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง ภาครัฐควรดำเนินนโยบายรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FiT แต่ควรแบ่งอัตราที่คำนึงถึงประเภทของเทคโนโลยีและพื้นที่ที่ติดตั้งกังหันลมที่คำนึงถึงความลึกของน้ำและระยะห่างจากชายฝั่ง โดยการพิจารณาตามแต่ละโครงการ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง มีค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนคิดเป็น 4.9 และ 3.52 ตามลำดับ ด้านเศรษฐกิจ คือ การได้รับประโยชน์จากการใช้ไฟฟ้าของชุมชน  การจ้างงานสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้านสังคม คือ การสร้างหรือปรับปรุงถนนและสาธารณูปโภคในชุมชน  และด้านสิ่งแวดล้อม คือ การสร้างรายได้จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิต แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่ง ภาครัฐควรส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนกังหันลมและเทคโนโลยีการจัดเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้ภายในประเทศ เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตรงตามความต้องการ และส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ด้านเทคโนโลยีให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าจากพลังงานลมได้เอง สำหรับแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งในประเทศไทยนั้น ภาครัฐควรให้การส่งเสริมการศึกษาความเหมาะสมและศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง ทั้งด้านความเร็วลม เทคโนโลยี ต้นทุนและผลประโยชน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนที่ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งในแต่ละพื้นที่และจัดตั้งโครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งเช่นเดียวกับการจัดตั้งโครงการนำร่องของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่ง เพื่อเป็นตัวอย่างในการสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนในการลงทุน รวมทั้งศึกษารูปแบบการส่งเสริมและสนับสนุนในอัตราที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาในอนาคต  th
dc.description.abstractThe objectives of this study are to study physical, technical, economic and financial, management, social and environmental aspects of onshore and offshore wind power projects, to compare Social Returns on Investment (SROI) and analysis of support policies for onshore and offshore wind power and then to recommend guidelines for promoting onshore and offshore wind power in Thailand. This research is a qualitative research by gathering information from relevant documents and interviewing onshore and offshore wind power experts. Six government agencies and six operators of wind power electric generation. Data obtained from the study were analyzed by focusing on the feasibility study. Analysis of SROI and SWOT Analysis were conducted. This study found that the potential for development of onshore and offshore wind power in Thailand is high in area of northeast, south and offshore gulf of Thailand. The government has a management unit in social and environmental aspects. The implementation of the pilot project and support found such as the FiT, for offshore wind power through implemention of the FiT purchase rate policy as well as other types of renewable energy to meet the same standard. However, the rate should be based on types of technology and areas where the wind turbine is installed, taking into account the depth of the water and the distance from the coast. The social returns on investment for onshore and offshore wind power are 4.9 and 3.52, respectively, the economy is benefiting from the use of electricity in the community. Employment can increase income for farmers. Tourist attraction can lead to the creation or improvement of roads and public utilities. And the environment is generating revenue from carbon trading. Guidelines for the promotion of electricity generation from onshore wind power include that the government should promote the production of domestic wind turbine components and storage technology to meet the demand and should be transferred knowledge, experience to publish for community who can own a wind power plant. For the promotion of offshore wind power in Thailand, the government should promote the feasibility study, suitability and potential of offshore wind power, technology, cost and benefits, laws, social and environmental impacts for showing the potential of offshore wind power in each area and the demonstration of offshore wind power as well as the establishment of pilot projects for offshore wind power. This is an example of how to motivate the private sector to invest. Also, there should be the study on promotion and support the models for appropriate rates for future offshore development.th
dc.format.extent185 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb204519th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4391th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าth
dc.subjectพลังงานลมชายฝั่งth
dc.subjectพลังงานลมนอกชายฝั่งth
dc.subject.otherพลังงานลมth
dc.subject.otherไฟฟ้า -- การผลิตth
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทยth
dc.title.alternativeGuidelines for promoting electricity generation from onshore and offshore windfarm in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b204519.pdf
Size:
5.41 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections