ลักษณะและสาเหตุของปัญหาความยากจนของครอบครัวชนบท
Publisher
Issued Date
1993
Issued Date (B.E.)
2536
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฑ, 527 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อุดม ทุมโฆสิต (1993). ลักษณะและสาเหตุของปัญหาความยากจนของครอบครัวชนบท. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/930.
Title
ลักษณะและสาเหตุของปัญหาความยากจนของครอบครัวชนบท
Alternative Title(s)
Persistent causes and problem of rural family poverty : a case of Songkhla Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ปัญหาความยากจนในชนบท เป็นปัญหาสำคัญที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา นโยบายแก้ปัญหาความยากจนของรัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะความรู้ความเข้าใจในลักษณะปัญหายังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถระบุและวินิจฉัยวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพออกมาได้
การวิจัยนี้ มุ่งแสวงหาองค์ความรู้เพื่อให้อธิบายลักษณะและสาเหตุความยากจนของครอบครัวชนบท โดยหวังว่าองค์ความรู้ที่ค้นหาได้ดังกล่าว จะช่วยอำนวยประโยชน์ในการระบุและวินิจฉัยปัญหา ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาด้านนี้ของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ด้านวิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้ใช้ทั้งวิธีเชิงเอกสาร วิธีเชิงคุณภาพและวิธีเชิงปริมาณอย่างเป็นขั้นตอน ขั้นตอนแรกเริ่มจากวิธีการวิจัยเชิงเอกสารเพื่อประมวลกรอบความรู้และกรอบความคิดเกี่ยวกับความยากจนทั้งหมด พร้อมทั้งได้กำหนดสมมติฐานในการวิจัยขึ้นเท่าที่ข้อมูลจะอำนวยให้ได้ เมื่อได้ข้อมูลเชิงเอกสารอย่างเพียงพอแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นเวลา 4 เดือนใน 2 หมู่บ้าน จำนวน 12 ครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ได้ข้อมูลในภาคสนามมาประกอบกับข้อมูลทางเอกสาร เพื่อพัฒนาดัชนีในการวัดและหากรอบตัวแปรที่สอดคล้องกับพื้นที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อได้ข้อมูลและกรอบตัวแปรอย่างเพียงพอแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงสมมติฐานในการวิจัยให้ดีขึ้น แล้วนำไปทำการพิสูจน์ในเชิงปริมาณ โดยทำการทดสอบกับครอบครัวตัวอย่างจำนวน 437 ครอบครัว ทุกครอบครัวได้มาจากการกระจายสุ่ม ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย และเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง.
ผลการศึกษา พบว่า.
1) ลักษณะความยากจนในปัจจุบันของครอบครัวชนบท จังหวัดสงขลา สามารถวัดได้โดยดัชนีความขาดแคลนในปัจจุบัน (ณ วันที่สัมภาษณ์) จำนวน 67 ดัชนี ซึ่งรวมกันขึ้นเป็นตัวแปร 9 ตัว คือ (1) ภาวะความขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม (2) ภาวะความขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม น้ำใช้ พลังงานและของใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพประจำวัน (3) ภาวะความขาดแคลนที่อยู่อาศัยและองค์ประกอบที่จำเป็นภายในบ้าน (4) ภาวะความขาดแคลนความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ (5) ภาวะความขาดแคลนบริการด้านสุขภาพอนามัย (6)ภาวะความขาดแคลนความมั่นคงในอาชีพและความปลอดภัยในการทำงาน (7) มีลักษณะด้อยทางสังคมวัฒนธรรม (8)ภาวะความขาดแคลนปัจจัยจำเป็นในการผลิตในปีปัจจุบัน (9) มีภาวะหนี้สินที่ก่อขึ้นจากการประกอบอาชีพในปีปัจจุบัน
ตัวแปรทั้ง 9 ตัว สามารถรวมกันได้เป็นปัจจัย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีพ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่หนึ่งถึงตัวแปรที่เจ็ด (มีน้ำหนักการอธิบายความยากจนร้อยละ 39.7) และความจำเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่เจ็ดถึงตัวแปรที่เก้า (มีน้ำหนักการอธิบายความยากจนร้อยละ 14.4) ทั้งสองปัจจัยมีน้ำหนักการอธิบายรวมกันร้อยละ 54.2.
ค่าการอธิบายร้อยละ 54.2 นี้ถือเป็นลักษณะร่วมกันของครอบครัวยากจนชนบท จังหวัดสงขลา ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 45.8 คาดว่า ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยเฉพาะของแต่ละครอบครัวหรือแต่ละพื้นที่ ซึ่งการวิจัยนี้ยังไม่สามารถเจาะเข้าถึงได้ทั้งหมด
2) พบว่า สาเหตุของความยากจน ขึ้นกับตัวแปรหลายตัว เฉพาะตัวที่พบว่าสำคัญมาก 10 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) พื้นฐานการศึกษาของผู้มีรายได้ในครอบครัว (2) รายได้สุทธิจากการประกอบอาชีพในปีที่ผ่านมา (3) ความมั่งคั่งดั้งเดิมของครอบครัว (4) อายุเฉลี่ยของผู้มีรายได้ในครอบครัว (5) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในรอบปีที่ผ่านมา (6) หนี้ตกทอดมาจากปีก่อน (7) จำนวนผู้มีรายได้ในครอบครัว (8) จำนวนพื้นที่ที่ทำกินของตัวเองใน 5 ปีที่ผ่านมา (9) จำนวนสมาชิกในครอบครัวในปีที่ผ่านมา (10) ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในปีที่ผ่านมา.
โดยตัวแปรทั้ง 10 ตัวดังกล่าว ร่วมกันอธิบายความยากจนได้ร้อยละ 33.9 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 66.1 นั้น ยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใดแน่ ซึ่งน่าจะได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้กันต่อไปอีก
ข้อเสนอแนะ
ลักษณะทางองค์ประกอบ (Ingredient) ของความยากจนที่ค้นพบนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยตรงต่อการวินิจฉัยปัญหา ตลอดจนการระบุและนับจำนวนครอบครัวยากจนในชนบท นอกจากนั้น การค้นพบปัจจัยสาเหตุของความยากจน จะเกิดประโยชน์ต่อการจัดลำดับความสำคัญของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศอีกด้วย.
ฉะนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอว่า.
1) ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณานำองค์ความรู้นี้ไปใช้ เพื่อวินิจฉัย ระบุและนับจำนวนครอบครัวยากจนออกมาให้ได้และขึ้นบัญชีครอบครัวยากจนเหล่านี้ไว้ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาต่อไป.
2) ให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทอย่างจริงจัง โดยในระยะสั้นให้มุ่งแก้ไขเพื่อบรรเทาอาการความขาดแคลนสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพเฉพาะหน้าไปพลางก่อน ส่วนระยะยาวให้มุ่งแก้ไขที่สาเหตุของความยากจน อันเป็นการแก้ไขโดยมุ่งถอนรากถอนโคนของรากเหง้าแห่งความยากจนให้หมดสิ้นไป.
ส่วนในด้านวิชาการ เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ยังเป็นเพียงขั้นเริ่มต้น จึงยังคงสามารถอธิบายลักษณะความยากจนได้เพียงร้อยละ 54.2 และอธิบายสาเหตุของความยากจนได้เพียงร้อยละ 33.9 ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอว่าควรจะได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ต่อไปอีกอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลควรให้การสนับสนุนทางการเงินด้วย.
การวิจัยนี้ มุ่งแสวงหาองค์ความรู้เพื่อให้อธิบายลักษณะและสาเหตุความยากจนของครอบครัวชนบท โดยหวังว่าองค์ความรู้ที่ค้นหาได้ดังกล่าว จะช่วยอำนวยประโยชน์ในการระบุและวินิจฉัยปัญหา ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาด้านนี้ของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ด้านวิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้ใช้ทั้งวิธีเชิงเอกสาร วิธีเชิงคุณภาพและวิธีเชิงปริมาณอย่างเป็นขั้นตอน ขั้นตอนแรกเริ่มจากวิธีการวิจัยเชิงเอกสารเพื่อประมวลกรอบความรู้และกรอบความคิดเกี่ยวกับความยากจนทั้งหมด พร้อมทั้งได้กำหนดสมมติฐานในการวิจัยขึ้นเท่าที่ข้อมูลจะอำนวยให้ได้ เมื่อได้ข้อมูลเชิงเอกสารอย่างเพียงพอแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นเวลา 4 เดือนใน 2 หมู่บ้าน จำนวน 12 ครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ได้ข้อมูลในภาคสนามมาประกอบกับข้อมูลทางเอกสาร เพื่อพัฒนาดัชนีในการวัดและหากรอบตัวแปรที่สอดคล้องกับพื้นที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อได้ข้อมูลและกรอบตัวแปรอย่างเพียงพอแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงสมมติฐานในการวิจัยให้ดีขึ้น แล้วนำไปทำการพิสูจน์ในเชิงปริมาณ โดยทำการทดสอบกับครอบครัวตัวอย่างจำนวน 437 ครอบครัว ทุกครอบครัวได้มาจากการกระจายสุ่ม ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย และเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง.
ผลการศึกษา พบว่า.
1) ลักษณะความยากจนในปัจจุบันของครอบครัวชนบท จังหวัดสงขลา สามารถวัดได้โดยดัชนีความขาดแคลนในปัจจุบัน (ณ วันที่สัมภาษณ์) จำนวน 67 ดัชนี ซึ่งรวมกันขึ้นเป็นตัวแปร 9 ตัว คือ (1) ภาวะความขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม (2) ภาวะความขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม น้ำใช้ พลังงานและของใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพประจำวัน (3) ภาวะความขาดแคลนที่อยู่อาศัยและองค์ประกอบที่จำเป็นภายในบ้าน (4) ภาวะความขาดแคลนความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ (5) ภาวะความขาดแคลนบริการด้านสุขภาพอนามัย (6)ภาวะความขาดแคลนความมั่นคงในอาชีพและความปลอดภัยในการทำงาน (7) มีลักษณะด้อยทางสังคมวัฒนธรรม (8)ภาวะความขาดแคลนปัจจัยจำเป็นในการผลิตในปีปัจจุบัน (9) มีภาวะหนี้สินที่ก่อขึ้นจากการประกอบอาชีพในปีปัจจุบัน
ตัวแปรทั้ง 9 ตัว สามารถรวมกันได้เป็นปัจจัย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีพ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่หนึ่งถึงตัวแปรที่เจ็ด (มีน้ำหนักการอธิบายความยากจนร้อยละ 39.7) และความจำเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่เจ็ดถึงตัวแปรที่เก้า (มีน้ำหนักการอธิบายความยากจนร้อยละ 14.4) ทั้งสองปัจจัยมีน้ำหนักการอธิบายรวมกันร้อยละ 54.2.
ค่าการอธิบายร้อยละ 54.2 นี้ถือเป็นลักษณะร่วมกันของครอบครัวยากจนชนบท จังหวัดสงขลา ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 45.8 คาดว่า ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยเฉพาะของแต่ละครอบครัวหรือแต่ละพื้นที่ ซึ่งการวิจัยนี้ยังไม่สามารถเจาะเข้าถึงได้ทั้งหมด
2) พบว่า สาเหตุของความยากจน ขึ้นกับตัวแปรหลายตัว เฉพาะตัวที่พบว่าสำคัญมาก 10 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) พื้นฐานการศึกษาของผู้มีรายได้ในครอบครัว (2) รายได้สุทธิจากการประกอบอาชีพในปีที่ผ่านมา (3) ความมั่งคั่งดั้งเดิมของครอบครัว (4) อายุเฉลี่ยของผู้มีรายได้ในครอบครัว (5) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในรอบปีที่ผ่านมา (6) หนี้ตกทอดมาจากปีก่อน (7) จำนวนผู้มีรายได้ในครอบครัว (8) จำนวนพื้นที่ที่ทำกินของตัวเองใน 5 ปีที่ผ่านมา (9) จำนวนสมาชิกในครอบครัวในปีที่ผ่านมา (10) ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในปีที่ผ่านมา.
โดยตัวแปรทั้ง 10 ตัวดังกล่าว ร่วมกันอธิบายความยากจนได้ร้อยละ 33.9 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 66.1 นั้น ยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใดแน่ ซึ่งน่าจะได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้กันต่อไปอีก
ข้อเสนอแนะ
ลักษณะทางองค์ประกอบ (Ingredient) ของความยากจนที่ค้นพบนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยตรงต่อการวินิจฉัยปัญหา ตลอดจนการระบุและนับจำนวนครอบครัวยากจนในชนบท นอกจากนั้น การค้นพบปัจจัยสาเหตุของความยากจน จะเกิดประโยชน์ต่อการจัดลำดับความสำคัญของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศอีกด้วย.
ฉะนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอว่า.
1) ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณานำองค์ความรู้นี้ไปใช้ เพื่อวินิจฉัย ระบุและนับจำนวนครอบครัวยากจนออกมาให้ได้และขึ้นบัญชีครอบครัวยากจนเหล่านี้ไว้ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาต่อไป.
2) ให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทอย่างจริงจัง โดยในระยะสั้นให้มุ่งแก้ไขเพื่อบรรเทาอาการความขาดแคลนสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพเฉพาะหน้าไปพลางก่อน ส่วนระยะยาวให้มุ่งแก้ไขที่สาเหตุของความยากจน อันเป็นการแก้ไขโดยมุ่งถอนรากถอนโคนของรากเหง้าแห่งความยากจนให้หมดสิ้นไป.
ส่วนในด้านวิชาการ เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ยังเป็นเพียงขั้นเริ่มต้น จึงยังคงสามารถอธิบายลักษณะความยากจนได้เพียงร้อยละ 54.2 และอธิบายสาเหตุของความยากจนได้เพียงร้อยละ 33.9 ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอว่าควรจะได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ต่อไปอีกอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลควรให้การสนับสนุนทางการเงินด้วย.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.