ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์

dc.contributor.advisorประพนธ์ สหพัฒนาth
dc.contributor.authorฉัตรกุล พงษ์ธรรมth
dc.date.accessioned2016-04-11T07:30:49Z
dc.date.available2016-04-11T07:30:49Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกระทำผิดเกี่ยวกับ ทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกระทำ ผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกระทำผิดเกี่ยวกับ ทรัพย์ระหว่างกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และกลุ่มประชาชนทั่วไป และ 3) เพื่อนำ ผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการป้ องกันและแก้ไขพฤติกรรมการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 803 คน ได้แก่ ผู้ต้องขังที่กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์) ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษธนบุรี และทัณฑสถานหญิงกลาง จำนวน 415 คน และประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร 9 เขต จำนวน 388 คน โดยการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งเป็ นการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มผู้ต้องขังที่ กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์) และ การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณของกลุ่มประชาชนทั่วไป และ 2. การวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ต้องขังที่กระทำผิดเกี่ยวกับ ทรัพย์ (ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์) ในเรือนจำพิเศษธนบุรี และในทัณฑสถาน หญิงกลาง จำนวน 11 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) และการ วิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression) โดยผลการศึกษาได้ปรากฏดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณของกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ พบว่า ปัจจัยที่ มีความสามารถในการอธิบายพฤติกรรมความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์) ได้ดีที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ การคบหาสมาคมที่แตกต่าง ค่านิยมในความสำเร็จ โอกาสในการประสบความสำเร็จ และการเลียนแบบ ตามลำดับ (4) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณของกลุ่มประชาชนทั่วไป พบว่า ปัจจัยที่มีความสามารถใน การอธิบายพฤติกรรมความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์) ได้ ดีที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ โอกาสในการประสบความสำเร็จ การคบหาสมาคมที่แตกต่าง และการ ให้คำนิยามต่อการกระทำผิด ตามลำดับ และผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ต้องขังที่กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ มีลักษณะครอบครัว ที่แตกแยก มีฐานะทางครอบครัวระดับปานกลางถึงต่ำ มีการคบหาสมาคมกับบุคคลที่มีพฤติกรรม เบี่ยงเบนหรือพฤติกรรมผิดกฎหมาย อีกทั้งมีการยอมรับในพฤติกรรมการกระทำผิด แต่อย่างไรก็ ตามก่อนได้โทษจำคุก ผู้ต้องขังก็ไม่เคยมีการกระทำผิดร้ายแรงมาก่อน นอกจากนี้ยัง พบว่า ผู้ต้องขังโดยส่วนใหญ่มีการเลียนแบบพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากกลุ่มเพื่อนมากที่สุด และมีค่านิยมใน ความสำเร็จหรือให้คุณค่ากับสิ่งที่พึงปรารถนาคล้ายคลึงกัน เช่น การศึกษา วัตถุสิ่งของ เงินทอง เป็นต้น รวมถึงก่อนได้รับโทษจำคุกมีความหลงใหลในทรัพย์สินเงินทองมาก โดยเชื่อว่าเงินคือ พระเจ้า และผู้ต้องขังมีโอกาสในการประสบความสำเร็จในชีวิตตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงสูง ในส่วน ของการลงโทษทางอาญา พบว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่เชื่อว่ากฎหมายมีความรุนแรง และเมื่อมีการกระ ผิดขึ้นจะได้รับการลงโทษอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้กลับมีความคิดเห็นว่ากฎหมายยังขาดความแน่นอน ในการลงโทษ กล่าวคือ มีการจับตัวผู้กระทำผิดที่ไม่ใช่ผู้ที่กระทำผิดแท้จริง หรือมีการเลือกปฏิบัติ จึงทำให้กฎหมายขาดความน่าเชื่อถือ และไม่สามารถป้ องกันอาชญากรรมได้อย่างแท้จริง และจากผลการวิจัยเชิงปริมาณ สามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการแก้ไขและป้ องกัน พฤติกรรมการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์) คือ สถาบันครอบครัวควรให้สำคัญในการขัดเกลาทางสังคม ทั้งการปลูกฝังความคิด ให้การเลี้ยงดูอย่าง เต็มความสามารถ สถาบันการศึกษาควรให้การปลูกฝังแนวคิดที่ถูกต้องและดีงาม สถาบันทาง การเมืองการปกครองควรให้โอกาสทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมให้ผู้ที่จะกระทำผิด หรือประกอบอาชญากรรมมีโอกาสในการกระทำผิดน้อยที่สุด และการให้รางวัลหรือยกย่องเมื่อ บุคคลมีการกระทำผิดที่ถูกต้อง ดีงาม เป็นไปตามบรรทัดฐานหรือกฎหมายของสังคม รวมถึงมีการ ให้โทษ เมื่อบุคคลละเมิดบรรทัดฐานหรือกฎหมายของสังคมอย่างรวดเร็วและเฉียบขาดth
dc.format.extent187 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb181853th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2979th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherความผิดเกี่ยวกับทรัพย์th
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์th
dc.title.alternativeThe factors affecting criminal behavior against propertyth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b181853.pdf
Size:
1.28 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections