ดุลยภาพของประโยชน์สาธารณะกับสิทธิของเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัล

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorอรรธพล หมานสนิทth
dc.date.accessioned2022-11-15T04:55:24Z
dc.date.available2022-11-15T04:55:24Z
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractในปัจจุบันกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ถูกบังคับใช้เพื่อคุ้มครองงานสร้างสรรค์ที่อยู่ในบริบทดิจิทัล ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไข ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้เพิ่มเติมส่วนที่ให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้นสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโลยีดิจิทัล  อย่างไรก็ตามการแก้ไขดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหา ส่งผลทำให้ประโยชน์สาธารณะถูกกระทบจากการที่ผู้ใช้งานสร้างสรรค์ไม่สามารถเข้าถึงหรือใช้งานสร้างสรรค์ได้แม้ผู้ใช้ได้ปฏิบัติตามข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์แล้วก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดปัญหาในการใช้งานโดยธรรม (Fair Use) ที่เป็นหลักการสำคัญในการสร้างดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองงานสร้างสรรค์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และประโยชน์สาธารณะ อันจะทำให้ประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนาซึ่งอยู่ในฐานะผู้ใช้งานสร้างสรรค์ (Content User’s Countries) นั้นเสียโอกาสจากการที่งานสร้างสรรค์นั้นถูกปิดกั้นการเข้าถึง และใช้งานสร้างสรรค์จากประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วซึ่งอยู่ในฐานะของผู้เป็นเจ้าของงานสร้างสรรค์ (Content Provider’s Countries) การศึกษาในเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบและอภิปรายประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้นของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลระหว่างการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วกับประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนา ในประเด็นการใช้มาตรการป้องกันทางเทคโนโลยี และบริหารข้อมูลลิขสิทธิ์ และผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อวิเคราะห์ดุลยภาพแห่งประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลระหว่างกฎหมายของประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วกับประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนา และเสนอแนวทางอันเป็นประโยชน์ในการกำหนดขอบเขตและหลักเกณฑ์การคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลของประเทศไทยโดยการใช้มาตรการทางกฎหมายและไม่ใช่กฎหมาย จากการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบพบว่ามาตรการป้องกันทางเทคโนโลยีกับการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลที่เป็นอุปสรรคต่อหลักการใช้งานโดยธรรม (Fair Use Doctrine) ทำให้สาธารณชนกลับถูกสกัดกั้นจากเทคโนโลยีควบคุมการเข้าถึง (Access Control) โดยไม่คำนึงว่าการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้ใช้นั้นอาจอยู่ภายใต้ขอบเขตการใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว การศึกษา รวมถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ในงานที่ไม่ปรากฎชื่อผู้สร้างสรรค์ (Orphan Work) และผลกระทบของมาตรการป้องกันทางเทคโนโลยีต่องานสร้าวงสรรค์ที่ตกเป็นสมบัติสาธารณะ (Public Domain) นอกจากนี้ประเด็นปัญหาที่จะนำมาพิจารณาคือ การไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ แม้จะได้สำเนางานอันมีลิขสิทธิ์มาโดยถูกต้องและชอบธรรมเนื่องจากบทบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลบริหารสิทธิ (Right Management Information: RMI) ซึ่งกระทบการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ส่วนตน (Private Use) ตลอดจนเรื่องแนวทางบังคับใช้หลักการสิ้นสิทธิ (Exhaustion of Rights) ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้กับงานอันมีลิขสิทธิ์ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลได้ ผู้เขียนจึงเห็นควรเสนอแนวทางการแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลบริหารสิทธิควรเพิ่มเติมข้อยกเว้นการละเมิดข้อมูลบริหารสิทธิในกรณีที่เป็นการลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรและเป็นการใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว นอกจากนี้ในส่วนของมาตรการทางเทคโนโลยีนั้น ผู้เขียนเห็นควรเสนอแนะแนวทางการแก้ไขโดยกำหนดให้มีข้อยกเว้นความรับผิดหากเป็นการหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีที่การกระทําโดยอาจารย์หรือผู้สอนที่เป็นปัจเจกชน ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร รวมถึงกำหนดข้อยกเว้นเพื่อประโยชน์ของคนพิการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือ ควรมีคู่มือการกำหนดนิยามอันแสดงถึงลักษณะของมาตรการป้องกันทางเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพอันสมควรได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายมิให้ถูกหลบเลี่ยง ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย และเป็นการรักษาดุลยภาพของประโยชน์สาธารณะกับสิทธิของผู้ทรงสิทธิในยุคดิจิทัลth
dc.description.abstractCurrently, copyright laws has been enforced to protect creative works in the digital context according to the Copyright Act B.E. 2537 and amended. The amended law provides copyright protection according the context of digital technology development. Nevertheless, due to the mentioned amended regulation, the public interest is impacted by the inability of access or use such works although users apply to the exception of copyright infringement. Especially, Fair Use Doctrine which is able to create equilibrium between public Interest and copyright holder in digital era is also significantly affected. Therefore, the countries with developing economies (Content User’s Countries) lost opportunity in accessing and copying works created by the countries with developed economies (Content User’s Countries) The objective of this study is to comparatively analyze and discuss legal issues concerning the importance and impact of copyright protection in the digital age. The comparative analysis of copyright protection was made between the countries with developing economies and the countries with developed economies on the issue of Technological Protection Measures (TPMs), Rights Management Information (RMI). The impact on the public interest is also presented to analyze the equilibrium of benefits in enforcing copyright laws in the digital era between the laws of the countries with developing economies and developing economies the countries. The research also offers useful guidelines for determining the scope and criteria for protecting copyrighted works in the digital era of Thailand by using legal and non-legal measures. From a comparative analysis, it found that Technological Protection Measures prohibit the exploitation of copyrighted works in the digital era and hinder the Fair Use Doctrine, resulting in the public being deprived of access control technology regardless that the exploitation of the user's copyrighted work may be within the scope of use for personal, educational purposes. This consequence also includes the accessibility and utilization of orphan work, and the impact of Technological Protection Measures on public domain creations. In addition, the issues to be taken into account are the inability to change the information that identifies the author although a copy of the copyrighted work is obtained properly and legally due to the Protection of Rights Management Information provisions. This affects the use of copyrighted works for personal gain (Private Use), as well as the enforcement of the principle Exhaustion of Rights which cannot be applied to copyrighted works in digital form. The author therefore recommends a solution by requiring that in the case of the law in relation to the rights management information, the exceptions of breaches should be applied in cases where information is lawfully altered for non-profit purposes and for personal gain. Moreover, in terms of Technological Protection Measures, the author recommend remedial action by requiring exemptions of liability if it circumvents technological measures taken by individual teachers or instructors that are not intended for profit. In addition, the exceptions of breach for the benefit of people with disabilities should be defined more clearly. Importantly, there should be a manual for defining the characteristics of effective Technological Protection Measures that deserve legal protection from circumvention. This is for clarity in legal enforcement and to maintain equilibrium of public interest with rights of copyright holders in the digital age.th
dc.format.extent295 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb214308th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6086th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectงานสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลth
dc.subjectมาตรการทางเทคโนโลยีth
dc.subjectประโยชน์สาธารณะth
dc.subjectดุลยภาพแห่งสิทธิ์th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherลิขสิทธิ์ -- ไทยth
dc.titleดุลยภาพของประโยชน์สาธารณะกับสิทธิของเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลth
dc.title.alternativeEquilibrium between public interest and copyright holder in digital erath
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b214308.pdf
Size:
2.59 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description: