มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและควบคุมอาคารสีเขียว
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
No. of Pages/File Size
129 หน้า
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b191866
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิธวัฒน์ บัวเผื่อน (2015). มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและควบคุมอาคารสีเขียว. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6656.
Title
มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและควบคุมอาคารสีเขียว
Alternative Title(s)
Legal measures on the promotion and control of green building
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อความคิดทั่วไปเกี่ยวกับอาคารสีเขียว
ความหมายและสภาพปัญหาเกี่ยวกับอาคารสีเขียว ศึกษาแนวคิด นโยบายและมาตรการทางกฎหมาย
ในการส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารสีเขียว ศึกษาถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายใน
การส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารสีเขียว และหาบทสรุปและข้อเสนอแนะ ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่
เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาข้อกฎหมายในการส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารสีเขียว
ปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอาคารสีเขียวไว้
โดยเฉพาะ มีเพียงพระราชบัญญัติการส่งสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่มีความเกี่ยวข้องอยู่บ้างแต่กฎหมายทั้งสองฉบับยังไม่สามารถเอื้ออำนวย
ต่อการบังคับใช้เกี่ยวกับอาคารสีเขียวได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องนี้ให้
มีความชัดเจนสามารถบังคับใช้กับอาคารสีเขียวให้ชัดเจนเอื้ออำนวยต่อการบังคับใช้กฎหมายให้มี
ประสิทธิภาพ ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการควบคุมอาคารให้ควบคู่กันไปกับการ
อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี ความหมายและสภาพ
ปัญหาเกี่ยวกับอาคารสีเขียว และแนวคิด นโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและ
กำกับดูแลอาคารสีเชียว ทั้งของประเทศไทยและต่งประเทศ โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ ประเทศ
ต้หวัน และประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นต้นแบบที่สำคัญเกี่ยวกับอาคารที่เขียว นำหลักกฎหมายของประเทศ
เหล่านี้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับของประเทศไทยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาข้อกฎหมายในการส่งเสริม
และกำกับดูแลอาคารสีเขียว เมื่อศึกษาแล้วจึงได้ข้อเสนอแนะการกำหนดมาตรการทางกฎหมายใน
การแก้ไขปัญหาตังต่อไปนี้
1. ปัจจุบันในประทศไทยไม่มีกฎหมายบังคับใช้โดยเฉพาะเจาะจงทำให้ไม่สามารถบังคับใช้
กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติม
มาตรการในการควบคุมอาคารสีเขียวให้มีบทบังคับโทษที่ขัดเจนไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นมาตรการลงโทษ
ผู้กระทำการฝ้าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไป
2. เงื่อนไขของอาคารสีเขียวในประเทศทย ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ของประเทศไทยในปัจจุบันน้นไปในเรื่องความปลอดภัยมากกว่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงควรมีการ
กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ในกฎหมายเพื่อการควบคุม และ
ให้มีความสอดคล้องกับการอนุรักษ์พลังงาน ผู้เขียนเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8 ใน (1) และ (2)
3. มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาคารสีเขียว มาตรการในการส่งเสริมในประเทศ
ไทยไม่มีบทบังคับที่ชัดเจนในการลงโทษทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ
สิ่งแวดล้อม จึงควรหามาตรการจูงใจและส่งเสริมการลดการใช้พลังานในอาคารที่มีอยู่เดิมโดยการ
ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยลดการใช้พลังงานโดยการกำหนดอุปกรณ์ชั้นพื้นฐานที่ต้องมีในอาคารสีเขียวโดย
กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และควรจัดให้มีองค์กรใน
การขออนุญาตในการดำเนินการก่อสร้างโรงงานควบคุม โรงงาน อาคารควบคุม และอาคาร ซึ่งใน
ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ให้อนุญาตแยกเป็นหลายหน่วยงาน ผู้เขียนจึงเห็นควรให้รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อดูแลการอนุญาตในการ
ดำเนินการก่อสร้างโรงงานควบคุม โรงงาน อาคารควบคุม และอาคาร ซึ่งประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่
มาจากกระทรวงมหาดไทยสองคน เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานสองคน ให้มีหน้าเกี่ยวกับการควบคุม
และอนุญาตในการดำเนินการก่อสร้าง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558