การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคม ศึกษาเชิงเปรียบเทียบสหภาพยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Publisher
Issued Date
2016
Issued Date (B.E.)
2559
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
443 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b193179
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ชมพูนุท สถิตย์เสมากุล (2016). การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคม ศึกษาเชิงเปรียบเทียบสหภาพยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5484.
Title
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคม ศึกษาเชิงเปรียบเทียบสหภาพยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Alternative Title(s)
Registration of community trademark : the comparison study of the European Union and the Asean Economic Community
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคมของสหภาพยุโรป
โดยนำมาใช้เป็นแม่แบบเพื่อนำมาปรับใช้กับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มีระบบการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับและมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มของ
ประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและสหภาพยุโรปนั้น ล้วนมุ่งรวมตัวกันเพื่อส่งเสริมพัฒนา
เศรษฐกิจ ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพิ่มความมั่งคงในภูมิภาค ดุษฎีนิพนธ์นี้ยังได้ศึกษา
เปรียบเทียบระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพิธีสารมาดริดด้วย เพื่อเสนอแนะแนวทาง
ในการพัฒนากฎหมายเครื่องหมายการค้า อันนำไปสู่การมีระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป
เครื่องหมายการค้ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อทั้งเจ้าของเครื่องหมายการค้าและประเทศ
ต้นกำเนิดเครื่องหมายการค้านั้น จึงพึงต้องจดทะเบียนเพื่อขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า
ของตนให้ได้รับสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้านั้นแต่เพียงผู้เดียว เพื่อรักษาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์
ของเจ้าของเครื่องหมายการค้า อีกทั้งยังป้องกันการละเมิดเครื่องหมายการค้า
เนื่องจากแต่ละประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีกฎหมายเครื่องหมายการค้า
ที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดปัญหา อาทิ หลักเกณฑ์การพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแตกต่างกัน
เครื่องหมายการค้าดียวกันอาจได้รับความคุ้มครองในประเทศหนึ่ง แต่ไม่ได้รับความคุ้มครองอีกประเทศ
ก่อให้เกิดการละเมิดเครื่องหมายการค้าและทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันทางการค้า การขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าในแต่ละประเทศสมาชิกต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน ตลอดจนการที่ต้องต่ออายุเครื่องหมายการค้าใน
แต่ละประเทศ ซึ่งมีวันหมดอายุไม่พร้อมกัน มีภาษาที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดความยุ่งยากจนละเลยหรือ
หลงลืมที่จะดำเนินการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นต้น ซึ่งสหภาพยุโรปได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ
ของปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคม เพื่อแก้ไขปัญหา
ความแตกต่างของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ดังนั้น การรวมตัว
เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปเพื่อสร้างขีดความสามารถ
ทางเศรษฐกิจ จึงดำเนินการตามแผนปฎิบัติการตามพันธกรณีในแผนพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน (ASEAN Economic Community (AEC) Blueprint) ให้เข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด
(Madrid Protocol) เพื่ออำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ
อันนำไปสู่ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันทางการค้า แม้ว่าระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพิธีสารมาดริดจะมีความคล้ายคลึงกับระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคมของสหภาพยุโรป (Community Trade Mark) โดยมีลักษณะเป็นการจดทะเบียนเพียงครั้งเดียว ที่เดียว ภาษาเดียว แต่ได้รับความคุ้มครองหลายประเทศ
ในคราวเดียว อย่างไรก็ดี ยังพบว่ามีความแตกต่างกันประการ อาทิ การจดทะเบียนตามพิธีสารมาดริด
จำเป็นที่เครื่องหมายการค้านั้น ต้องได้รับการจดทะเบียนในประเทศต้นกำเนิดเสียก่อน ซึ่งการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าประชาคมของสหภาพยุโรปไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว เป็นต้นนอกจากนี้ระบบการจด
ทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคมของสหภาพยุโรปยังมีข้อดีแตกต่างจากระบบการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าตามพิธีสารมาดริด ทั้งสองระบบจึงไม่เป็นระบบการจดทะเบียนที่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งหาก
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งตามพิธีสารมาดริดควบคู่กับ
ระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็จะยิ่งเสริมให้เครื่องหมายการค้า
ได้รับความคุ้มครองอย่างครอบคลุมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
วิทยานิพนธ์นิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้ศึกษาอุปสรรคปัญหาของการมีระบบการจดทะเบียนเครื่องหมาย
การค้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเสนอแนะแนวทางที่ทำให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีระบบ
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคมระบบเดียวที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับที่มีมาตรฐานเดียวกัน
แม้ระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต
อันใกล้เนื่องด้วยยังมีความแตกต่างกันทั้งเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม วัฒนธรรม ระดับการพัฒนาประเทศ
แต่หากทุกประเทศมีความตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าร่วมกัน
และหาแนวทางการทำงานร่วมกัน ระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
จึงสามารถเกิดขึ้นได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559