การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาและการสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 

dc.contributor.advisorพัชนี เชยจรรยาth
dc.contributor.authorภคพล รอบคอบth
dc.date.accessioned2021-03-12T04:54:38Z
dc.date.available2021-03-12T04:54:38Z
dc.date.issued2020th
dc.date.issuedBE2563th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563th
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาและการสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาดหมู่ 12 อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย ศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดการสนทนากลุ่ม รวมถึงการสังเกตุการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ด้วยวิธีการดังกล่าวนำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ช่างทอผ้า กลุ่มผู้สูงวัยและกลุ่มผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ในชุมชน  ผลการศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาพบว่า (1)ด้านผู้ส่งสาร พบว่า การสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองใช้การบอกเล่าแบบปากต่อปากร่วมกับการสาธิตและการลงมือทำให้ดู และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ่านการแสดงพื้นบ้าน (2)ด้านเนื้อหาสาร พบว่า เนื้อหาสารเน้นการให้สังเกตุการณ์กระทำ การทำให้เห็นหรือการลงมือทำด้วยตนเอง (3)ด้านช่องทางการสื่อสาร พบว่า ช่องทางการสื่อสารเน้นไปที่การสื่อสารผ่านตัวบุคคล การสื่อสารแบบปากต่อปาก และการสื่อสารผ่านเสียงตามสายภายในชุมชน การสื่อสารผ่านไลน์แอพพลิเคชั่น และการสื่อสารผ่านการจัดการประชุมเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ (4)ด้านผู้รับสาร พบว่า ผู้รับสารในชุมชนรับสารจากครูภูมิปัญญา ปราชญ์ชุมชน ผู้นำชุมชนและการบอกต่อจากสมาชิกในชุมชน โดยร่วมกันอนุรักษ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั่งเดิมให้อยู่ภายในชุมชนและยังโน้มน้าวลูกหลานร่วมกันเรียนรู้วิถีชีวิตดั่งเดิมให้ผสมกลมกลืนกับยุคสมัย ผลการศึกษาการสืบสานการทอผ้าพื้นเมือง พบว่า ด้านการรับรู้คุณค่าและความหมายผ้าทอพื้นเมืองไทดำนั้นปราชญ์ชุมชนได้สะสมผ้าทอพื้นเมืองโบราณร่วมกับผ้าทอพื้นเมืองภายในชุมชน จนสามารถตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าไทดำเพื่อเก็บผ้าทอพื้นเมืองไว้ในชุมชน นำมาซึ่งการฟื้นฟูองค์ความรู้ที่หายไปเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และรู้คุณค่าผ้าทอพื้นเมืองซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้คนรุ่นใหม่รับช่วงต่อองค์ความรู้เพื่อสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมือง ในขณะที่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การทอผ้าพื้นเมืองช่วยให้คนในชุมชนรู้จักถึงคุณค่าของผ้าทอพื้นเมืองไทดำและเพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนหันกลับมาสนใจการทอผ้าพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ชุมชน ส่วนด้านการรู้รักษาภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนนั้นพบว่าเด็กและเยาวชนในชุมชนมีความสนใจการทอผ้าพื้นเมืองลดลงจึงโน้มนำเด็กและเยาวชนในครอบครัวมาเรียนรู้การทอผ้าผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมท้องถิ่นให้กับเยาวชนและกระตุ้นให้คนในชุมชนมาสนใจการทอผ้าพื้นเมือง ส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันเด็กให้ความสนใจที่จะสืบสานและรับช่วงต่อภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองลดน้อยลงเนื่องจากส่วนใหญ่ใช้เวลาในการเรียนภายนอกชุมชนและมองว่าผ้าทอพื้นเมืองไม่ทันสมัย ซึ่งการเรียนรู้การผลิตผ้าทอมือในชุมชนช่วยทำให้รู้จักชุมชนว่ามีเอกลักษณ์อะไรทำให้เกิดความภูมิใจชุมชนของตนเอง และมีความคิดที่จะสืบสานและรับช่วงต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่กับชุมชนต่อไปth
dc.description.abstractThis research aimed to study the communication to convey wisdom and Preserving Traditional Fabric Weaving of Ban Na Pa Nat Community Village, Moo.12, Chiang Khan District, Loei Province. The study of qualitative research methods consisted of in-depth interviews, Focus group discussion, and Non-participatory observation. The above method is used to collect primary data, which is field data collection. The key informants consisted of weavers, the elderly and adult groups, as well as including new generation in the community. The research study has found that (1) The Sender found that communication for the transfer of local weaving wisdom by using word of mouth with the demonstration and action and knowledge is transferred through folk performances. (2) The content found that the substance content emphasizes on observing actions by showing or acting on your own (3) The Communication Channel found that communication channels focus on personal communication, word of mouth communication, and communication through Public Address System in Community. Communication through line applications and Communication through conference for carrying out activities. (4) The Receiver found that recipients in the community receive messages from wisdom teachers, community sages, community leaders, and word-of-mouth community members by conserving their traditional way of life, culture, and persuading children to learn traditional way of life to integrate into the modern era. The results of the study of local weaving practice found that perceiving the value and meaning of Tai Dam weaving, the community sage has collected ancient local weaving together with local weaving within the community until the Tai Dam Museum can be built to Keep local textiles in the community, leading to the restoration of knowledge that has been lost for the new generation to learn and appreciate the value of local weaving, which is local knowledge, allowing the new generation to take over the knowledge in order to carry on the knowledge of Local weaving. While organizing learning activities for local weaving to help people in the community recognize the value of Tai Dam weaving and encourage youth and new generation people to turn their attention to local weaving that is unique to the community. The preservation of the local weaving wisdom of the community, it was found that the youth and new generation in the community had less interest in local weaving, therefore leading the children and youth in the family to learn weaving through learning activities. Community to cultivate local culture for the youth and encourage people in the community to pay attention to local weaving, while the younger generation commented that children nowadays take less interest in local weaving wisdom because most Take the time to study outside the community and see that the traditional woven fabrics are not modern. The learning of the production of woven fabric helps to know the community how it is unique, resulting in the pride of the community and the idea of continuing and inheriting local knowledge to be with the community.th
dc.format.extent156 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb210822th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5144th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectการถ่ายทอดภูมิปัญญาth
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นth
dc.subjectการทอผ้าพื้นเมืองth
dc.subject.otherการทอผ้า -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)th
dc.subject.otherผ้า -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)th
dc.subject.otherภูมิปัญญาชาวบ้านth
dc.titleการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาและการสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย th
dc.title.alternativeThe communication to convey wisdom and preserving traditional fabric weaving of Ban Na Pa Nat Community, Chiang Khan District, Loei Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b210822.pdf
Size:
5.4 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections