การบริหารงานระดับมัธยมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

dc.contributor.advisorขัตติยา กรรณสูต, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorมนัส บ่างสมบูรณ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:05Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:05Z
dc.date.issued1967th
dc.date.issuedBE2510th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.th
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เพื่อพิจารณาเรื่องการบริหารงานของกรมวิสามัญศึกษาซึ่งรับผิดชอบโดยตรงในการบริหารงานระดับมัธยมศึกษา ผู้เขียนแบ่งการพิจารณาออกเป็นส่วน ๆ ว่ามีความสัมพันธ์หรือจำเป็นก่อให้เกิดประสิทธิภาพหรือไม่เพียงไร ในตอนแรกกล่าวถึงประวัติการศึกษาของไทยสมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนที่สองกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของกรมวิสามัญศึกษา การบริหารงานของกรมวิสามัญศึกษาด้านบริหารและด้านวิชาการ ตลอดจนอุปกรณ์การสอน วิธีการสอน หลักสูตร แบบเรียนและปัญหาต่าง ๆ จากผลของการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนได้สรุปและให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารงานดังต่อไปนี้ คือ.-th
dc.description.abstract1. ให้มีการปรับปรุงระบบงานบริหารของกรมวิสามัญศึกษา โดยให้ตั้งกองใหม่ขึ้นอีกกองหนึ่ง กองบริหารงานบุคคล และให้มีการปรับปรุงการแบ่งส่วนงานของกองต่าง ๆ ตลอดจนสำนักเลขานุการกรมth
dc.description.abstract2. ให้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับบุคคล ในด้านการบรรจุ โยกย้ายครู การพิจารณาเลื่อนชั้นเลื่อนอันดับเงินเดือน ปรับปรุงด้านสวัสดิการของครู ฯลฯ.th
dc.description.abstract3. ให้มีการวางแผนเกี่ยวกับการสร้างโครงการ การขยายอัตรากำลังครู การตั้งงบประมาณค่าใช้จ่าย และการควบคุมงานงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้th
dc.description.abstract4. การบริหารงานทางด้านวิชาการ ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการส่งเสริมปรับปรุงเกี่ยวกับการแนะแนว โดยส่งครูในระดับปริญญาตรีมารับการศึกษาวิชาแนะแนวที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรจัดขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรทั้งในด้านเนื้อหาของหนังสือเรียน เนื้อหาของหลักสูตรและเวลาเรียน ตลอดจนให้มีการปรับปรุงการวัดผลth
dc.description.abstract5. ให้มีการขยายการศึกษาออกไปตามอำเภอให้มากขึ้น และส่วนกลางก็ขยายโรงเรียนให้มากขึ้นด้วย.th
dc.description.abstract6. ให้มีการปรับปรุงการบริหารงานของโรงเรียนราษฎร์ ในด้านวุฒิครู ความมั่นคงในการทำงานของครู การเรียกเงินกินเปล่า ด้านเงินค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงพิเศษ และในด้านการเพิ่มเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนราษฎร์th
dc.description.abstract7. ควรให้มีเงินรับรองที่จะใช้จ่ายโดยอนุญาตจากเงินรายได้ของโรงเรียน หรือจัดสรรงบประมาณไว้ให้ เพื่อให้ผู้บริหารดำเนินงานได้ด้วยดีth
dc.description.abstract8. ปรับปรุงในด้านคุณภาพของโรงเรียนโดยการอบรมครู และโดยการผลิตครูให้ได้มาตรฐานth
dc.format.extent157 หน้า.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1036th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectกระทรวงศึกษาธิการth
dc.subject.lccLB 2341.5 ม15th
dc.subject.otherการศึกษาขั้นมัธยม -- ไทยth
dc.titleการบริหารงานระดับมัธยมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b11194.pdf
Size:
3.94 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections