ต้นทุนการทำธุรกรรมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมใน AEC

dc.contributor.advisorปริยดา สุขเจริญสินth
dc.contributor.authorชวิน ชูสกุลth
dc.date.accessioned2019-10-30T09:35:07Z
dc.date.available2019-10-30T09:35:07Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractงานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการทาธุรกรรมของอุตสาหกรรมกองทุนรวม ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (AEC) โดยได้แบ่งการศึกษา ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การศึกษาปัจจัยกำหนดค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมใน AEC และ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าธรรมเนียมกับผลการดำเนินงานและการลงทุนของกองทุน รวมใน AEC เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวมของไทยเพื่อให้ พร้อมรับมือกับการเปิดเสรีซื้อขายกองทุนรวมth
dc.description.abstractงานศึกษาในส่วนแรก มุ่งหาปัจจัยกาหนดค่าธรรมเนียมการจัดการและอัตราส่วน ค่าใช้จ่าย เพื่อหาระดับการประหยัดจากขนาดและจากขอบเขตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมของ แต่ละประเทศใน AEC ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่ง ทาการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2552 – 2556 โดยใช้ข้อมูลประเภทภาคตัดขวาง (Cross-Section Data) และพาแนล (Panel Data) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติและประมาณสมการถดถอย (Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผลการดาเนินงานส่งผลกระทบด้านบวกต่อ ค่าธรรมเนียม โดยกองทุนรวมประเทศมาเลเซียมีระดับการประหยัดจากขนาดและจากขอบเขต มากที่สุด ในขณะที่กองทุนรวมประเทศไทยมีระดับความประหยัดจากขนาดและจากขอบเขต น้อยที่สุดth
dc.description.abstractงานศึกษาในส่วนที่สอง มุ่งหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการดาเนินงานและทรัพย์สิน สุทธิรวมของกองทุนรวม ซึ่งมาตรวัดผลการดาเนินงานของกองทุนที่เลือกใช้แบ่งเป็น ผลตอบแทนก่อนปรับความเสี่ยง และผลตอบแทนหลังปรับความเสี่ยง โดยงานศึกษานี้เลือกใช้ Sharpe Ratio, Sortino Ratio และ Information Ratio ผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มขึ้นของ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมการจัดการส่งผลให้กองทุนรวมมีผลการดำเนินงานที่ดี และ ยังพบว่ากองทุนที่อยู่ภายใต้ บลจ. ขนาดใหญ่จะมีผลการดำเนินงานที่ด้อยกว่ากองทุนที่อยู่ ภายใต้ บลจ. ขนาดเล็ก และกองทุนรวมประเทศไทยที่บริหารโดย บลจ. ที่อยู่ในเครือธนาคาร พาณิชย์ไม่ได้มีผลการดา เนินงานดีกว่ากองทุนที่ไม่ได้อยู่ในเครือ นอกจากนี้เมื่อทำ การศึกษาth
dc.description.abstractปัจจัยกำหนดทรัพย์สินสุทธิรวมของกองทุน พบว่ามีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของ ค่าธรรมเนียมในการลงทุนกองทุนรวมไทยที่ต่า และมีค่าความยืดหยุ่น ที่น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ใน AEC ในกองทุนรวมตราสารหนี้และผสม ซึ่งแสดงได้ว่ากองทุนรวมประเทศไทยยังสามารถ ปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมได้th
dc.description.abstractผลการศึกษาทั้งสองส่วนทาให้ทราบว่ากองทุนรวมประเทศไทยควรพัฒนาให้มีความ ประหยัดจากขนาดและจากขอบเขตมากขึ้น นอกจากนี้ กองทุนรวมไทยยังสามารถเพิ่ม ค่าธรรมเนียมของบางประเภทกองทุนได้ หากกองทุนนั้นมีผลการดำเนินงานที่ดี ดังนั้นการเพิ่ม ค่าธรรมเนียมนอกจากจะทาให้กองทุนรวมได้รายรับรวมที่มากขึ้นจากความยืดหยุ่นของนัก ลงทุนที่ต่า แล้ว ยังอาจส่งผลให้กองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับกองทุนรวม ประเทศอื่นๆ ใน AEC กองทุนรวมประเทศไทยได้เปรียบในส่วนนี้th
dc.format.extent222 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb191061th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4658th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherกองทุนรวมth
dc.subject.otherอุตสาหกรรม -- อาเซียนth
dc.titleต้นทุนการทำธุรกรรมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมใน AECth
dc.title.alternativeThe transaction costs of mutual fund industry in AECth
dc.typetext--thesis--master thesis
mods.genreThesis
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาการเศรษฐกิจth
thesis.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์ธุรกิจth
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b191061.pdf
Size:
2.75 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections