Journal Articles

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 3 of 3
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของบุคลากรห้องสมุดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา
    กรัณฑ์รัตน์ ประเสริฐธนากุล (2023)
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของบุคลากรห้องสมุดเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจากที่บ้าน ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อการทำงานจากที่บ้าน บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ในการกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย และใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ตเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรห้องสมุดเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 286 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามสถาบันการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปว่า บุคลากรห้องสมุดเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.49) เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Method of Multiple Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานจากที่บ้านในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของบุคลากรห้องสมุดเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา มีทั้งหมด 3 ด้าน คือ ปัจจัย ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์การใช้งาน ปัจจัยด้านความเข้ากันได้และความง่ายในการใช้งาน และปัจจัยด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถอธิบายประสิทธิภาพการทำงานจากที่บ้านในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของบุคลากรห้องสมุดเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพ การศึกษาได้ร้อยละ 79.3 (R 2 = 0.79)
  • Thumbnail Image
    Item
    ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    กรัณฑ์รัตน์ ประเสริฐธนากุล (2020)
    การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยจำแนกตามตัวแปรประเภทบุคลากร สถานภาพทางราชการ วุฒิการศึกษา ประเภทของงาน และประสบการณ์ในการทำงาน รวมทั้งศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางที่จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา ตลอดจนศึกษาอันดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยใช้ทฤษฎีของเฮอร์ซเบอร์กในการกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย และใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ตเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา จำนวน 58 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+(Statistical Package for the Social Sciences/Personal Computer Plus) ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยมีความพึงพอใจสูงสุดในด้านความสำเร็จ และมีความพึงพอใจต่ำสุดในด้านนโยบายและการบริหาร เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรประเภทบุคลากร สถานภาพทางราชการ วุฒิการศึกษา ประเภทของงาน และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร และมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานต่อปัจจัยต่าง ๆ ทั้ง 10 ปัจจัย เรียงตามอันดับความสำคัญ ดังนี้ 1) ความสำเร็จ 2) ความรับผิดชอบ 3) ลักษณะงาน 4) ความก้าวหน้า 5) การบังคับบัญชา 6) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 7) การได้รับความยอมรับนับถือ 8) สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 9) สิ่งตอบแทน และ 10) นโยบายและการบริหาร
  • Thumbnail Image
    Item
    การทำงานจากที่บ้าน: การทำงานวิถีใหม่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
    กรัณฑ์รัตน์ ประเสริฐธนากุล (2021)
    การทำงานจากที่บ้าน (Working From Home--WFH) เป็นแนวคิดการทำงานนอกสถานที่ทำงานที่สามารถทำงานที่ไหน เมื่อใดก็ได้ และมีมานานหลายศตวรรษแล้วจนถึงปัจจุบัน แต่ถูกนำมาปรับใช้ใหม่อีกครั้งเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตการทำงานเดิมกลายเป็นความปกติใหม่ (New Normal) ที่เป็นกระแสหลักของสังคมโลกปัจจุบัน บทความวิชาการนี้ นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของการทำงานจากที่บ้าน ความหมายของการทำงานจากที่บ้าน ข้อดีและข้อด้อยของการทำงานจากที่บ้าน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของการทำงานจากที่บ้านในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป